Skip to main content

เรื่องราวของเด็กคนที่หนึ่ง
ครูสั่งให้เด็กทำงานฝีมือ เป็นงานพวกเย็บปักถักร้อย  เด็กหญิงคนนี้ก็เย็บตุ๊กตา ด้วยฝีมือที่ปรานีต ด้วยความตั้งใจอย่างที่สุด  และเธอก็ได้ตุ๊กตาที่สวยสมใจ  และเป็นความภาคภูมิใจที่เธอทำมันขึ้นมาด้วยตัวเอง   และเมื่อถึงเวลาส่งงาน ครูก็กล่าวหาว่าเธอให้แม่ทำให้  และคาดคั้นให้เธอยอมรับว่า งานนี้แม่เธอทำให้ เธอไม่ได้ทำด้วยตัวเอง  เด็กหญิงยืนยันว่าเธอทำมันเองด้วยความตั้งใจ  แต่ครูก็ไม่เชื่อ  แล้วก็ยังคาดคั้นให้เธอยอมรับให้ได้อยู่นั่นเอง ทั้งขู่ว่า ถ้าไม่ยอมรับ จะเรียกผู้ปกครองมาพบ  ไม่ว่าเด็กหญิงจะพูดอย่างไร ครูก็ไม่มีทางเชื่อ  ในที่สุดครูก็เชิญผู้ปกครองมาพบ  แต่กระนั้น  ไม่ว่าอย่างไร ครูก็ยังเชื่ออยู่นั่นเองว่า งานชิ้นนี้หาใช่ฝีมือเด็กผู้หญิงอายุสิบขวบไม่  แต่หลายวันต่อมา เมื่อมีงานแสดงผลงานของเด็ก ครูก็ยังมาขอตุ๊กตาตัวที่แกไม่เชื่อว่านี่เป็นผลงานของเด็กอายุสิบขวบ ไปแสดงร่วมกับงานชิ้นอื่นๆ  โดยมิได้ละอายใจ

เรื่องราวของเด็กคนที่สอง
ที่วัดป่าอันเป็นที่สงัดวิเวกที่มีผู้คนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นที่น่าสรรเสริญ น่ายินดี  คราวหนึ่งด้วยความที่ในวัด มีคนรุ่นใหม่ นักกิจกรรมมาอยู่ร่วมกันมากหน้าหลายตา จึงมีการคิดกันว่าน่าทำจุลสารเล็กๆ ของวัด เพื่อแบ่งปันเรื่องราว ประสบการณ์ แจกจ่ายแกญาติธรรมที่มาที่วัด หรือให้กับคนทั่วไป  จุลสารเล็มน้อยก็เชื้อเชิญให้ผู้คนในวัดทั้งพระทั้งฆราวาส รวมถึงสามเณร ที่มีอยู่รูปเดียวในวัด เณรน้อยอายุสิบสองขวบ  เมื่อทุกคนส่งงานเขียน  พระที่ทำหน้าที่บรรณาธิการก็มาพูดกับเณรน้อยว่า งานของเณรไม่เอาลงนะ เพราะเณรไปลอกเขามา  ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร พระก็หาเชื่อไม่  ด้วยเขาเชื่ออย่างสนิทใจว่า เด็กอายุสิบสองที่ไหนจะมีปัญญาเขียนงานได้ขนาดนี้

ภาพยนตร์คลาสสิกเรื่องหนึ่งของฮอลลีวูด Dead Poet Society ครูคิตติงอธิบายความตอนหนึ่งให้อาจารย์ใหญ่ฟังว่า ทำไมถึงพาเด็กออกไปเดินที่สนาม ว่า เพื่อให้เด็กได้เห็นอันตรายของการทำอะไรตามกัน  เพื่อให้เขาได้เป็นตัวของตัวเอง มีความคิดความอ่านเป็นของตัวเอง   อาจารย์ใหญ่พูดสวนออกมาว่า เด็กอายุสิบเจ็ดเนี่ยนะ...

บ่อยครั้งที่คนก็จำไม่ได้เสียแล้วว่าตัวเองเคยเป็นเด็ก.......  
เรื่องเล่าที่หนึ่ง เหตุที่ครูไม่เชื่อ นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อวัยเด็ก หรือกระทั่งโตขึ้น เขาไม่เคยทำอะไรได้เช่นนั้น  เขาก็จึงคิดว่าไม่มีใครในหล้าที่จะทำได้เช่นกัน  เรื่องเล่าที่สอง พระบรรณาธิการ ก็เป็นนักเขียนที่ไม่ประสบผลสำเร็จนักหรือเปล่า ท่านจึงไม่เชื่อว่าเด็กอายุสิบสองจะทำได้  ด้วยเมื่อท่านอายุสิบสอง หรือโตว่านั้น ท่านยังทำไม่ได้เลย  ดูเหมือนครูจากเรื่องเล่าที่หนึ่ง และบรรณาธิการในเรื่องเล่าที่สอง ก็ไม่ได้เชื่อสิ่งที่ตัวเองจะทำ ครูไม่เชื่อเด็ก พระก็ไม่เชื่อเด็ก เขาสอนเด็กได้อย่างไรกัน

ในโลกปัจจุบัน ดูเหมือนมีคนมากมายที่ไม่ได้เชื่อสิ่งที่ตัวเองทำ  หลายครั้งผู้คนพูดถึงสิ่งที่ตัวเองทำ คล้ายเชื่อมัน  แต่แล้ววันหนึ่งหลายคนก็แสดงออกให้เห็นว่า สิ่งที่เขาทำ สิ่งที่เขาพูดในระยะเวลาหนึ่งนั้นก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า การหาเลี้ยงชีพเท่านั้นเอง    คำพูดที่งดงามคำหนึ่งจากหนึ่งเรื่องสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด  “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด”  เพียงแค่นี้มนุษย์ก็คงได้ซื้อสัตว์ต่อจิตวิญญาณของตัวเอง......

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
เมื่อยังเด็ก เราไม่รู้ว่าเมื่อบ้านเราฝนตกนั้น บางแผ่นดินที่ไกลออกไป ฝนไม่ตก เรารู้เพียงแต่ว่าฝนตก กับฝนไม่ตก เวลาต่อมา พอรู้ความมากขึ้น เราเริ่มเห็นม่านฝนที่พุ่งตรงมาหาเรา แล้วก็กลายเป็นฝนตก แต่นั่นก็ไม่ทำให้เรารู้ว่า บางแห่งบนแผ่นดินที่ไกลออกไป ฝนไม่ตก โตขึ้นมาอีกนิด เมื่อบ้านเราฝนตก เราก็เริ่มได้ยินมาว่า มีบางแห่ง ฝนไม่ตก เราจึงเริ่มจินตนาการ ถึงรอยต่อระหว่างที่ๆ มีฝน กับที่ๆ ไม่มีฝน เราคิดว่าตรงรอยต่อนั้นมันจะเหมือนเรารดน้ำต้นไม้ เมื่อเราเทน้ำแรงๆ มันก็เป็นสายน้ำเทลงไป ตรงที่มีน้ำก็คล้ายสายฝน และมันก็ตัดไปเฉยๆ กับที่ๆ ไม่มีฝนนั้น
นาโก๊ะลี
มองดูชีวิต...ใช่สินะ  ในสังคมเมืองใหญ่ที่เราได้เข้าไปข้องเกี่ยวอยู่เนืองๆ   ผู้คนทั้งหลายในกาลเวลาสมัยปัจจุบัน ไม่มากก็น้อยล้วนแต่ต้องเกี่ยวข้องกับเมืองใหญ่กันทั้งนั้น  ระหว่างเมืองกับชนบทแยกกันไม่ได้เสียแล้ว...  ภาระหน้างานก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปหมด  สังคม การศึกษาต่างสอนให้เราเห็นแก่ตัว ว่าก็คือสอนให้เราแข่งขัน สอนว่าเราต้องขึ้นมาเป็นที่หนึ่ง สอนว่าเราต้องประสบผลสำเร็จในการงาน อันแปลว่าตำแหน่งที่สูงขึ้น และเงินเดือนเยอะๆ และเยอะขึ้นเรื่อยๆ บ้านหลังโตๆ และรถยนต์คันใหญ่  นี่คือเป้าหมายของผู้คนทั้งหมาย เกิดมาบนวิถีอันนี้ เรียนรู้เติบโต…
นาโก๊ะลี
  หน้าตึกหลังไม่ใหญ่โตนักในมหานคร ในบริเวณพื้นที่ก็ไม่กว้างใหญ่เท่าใดนัก มีต้นไม้อยู่ก็ไม่สักกี่ต้น ในจำนวนนั้นก็มีกล้วยอยู่กอหนึ่ง ที่กล้วยกำลังแก่พอจะเอามาบ่มได้แล้ว แล้วก็มีต้นเต่ารั้งอยู่กอหนึ่ง ช่วงนี้จึงเป็นที่สำราญของกระรอกน้อยสองตัว หรืออาจจะมากกว่าหรือเปล่า อันนี้เราไม่แน่ใจ อันที่จริงเราพบกระรอกสองตัวนี้หลายครั้งที่มาเยือนตึกนี้ ทุกเช้าเราจะพบเขาออกมาวิ่งเล่นตามกิ่งไม้ ช่วงไหนที่มีกล้วยที่ใกล้สุกอย่างนี้ ก็ดูเหมือนเขาทั้งสองจะสำราญเป็นพิเศษ ส่งเสียงร้องเจี๊ยวจ๊าวกัน แล้วก็วิ่งเลยกันจากต้นนั้นออกต้นนี้
นาโก๊ะลี
ในที่นอนบนรถไฟ....ขณะที่เรื่องราวรอบๆ ตัวค่อยๆ เงียบลงเรื่อยๆ มีเจ้าหน้าที่บางคนที่ยังเดินผ่านไปมาอยู่บ้างเท่านั้น บางครั้งแว่วเสียงกรนเบาๆ มาจากแห่งใดแห่งหนึ่งในตู้โดยสารนี้ แต่คล้ายเราเองก็มิได้ใส่ใจนัก ปล่อยให้ความคิดความฝัน จินตนาการล่องลอยออกไป คิดถึงเรื่องราวและเหตุการณ์หลายอย่าง คิดถึงภาระที่จะต้องจัดการเมื่อเราเดินทางถึงปลายทาง คิดถึงผู้คนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น ความจริงเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในการสนทนาที่จะมีในสองสามวันข้างหน้า แต่เหมือนก็รับรู้ได้ลางๆ ว่ามันน่าจะมีประเด็นอะไรบ้างที่จะได้เป็นหนทางแห่งการเรียนรู้ สำหรับพวกเราในการสนทนานั้น....…
นาโก๊ะลี
ความเป็นคนที่ไม่มีต้นทุนมากนัก ทั้งทางสถานภาพ และสถานะทางเศรษฐกิจ ทำให้เราทำอะไรๆ อย่างไม่คิดมากนัก  ว่าก็คือไม่ค่อยมีเวลา หรือโอกาสในการใคร่ครวญ  ยามที่มีอะไรให้ทำ เราก็เพียงแต่ทำๆ ไป ยิ่งถ้าเรื่องนั้นๆ เป็นเรื่องที่เราชอบด้วยแล้ว นั่นก็ไม่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจเลย  ดั่งเรื่องรายของเราเมื่อสิบห้าปีก่อน  มีคนเล่าเรื่องโรงเรียนในหมู่บ้านปกาเกอะญอ จังหวัดตากให้ฟัง องค์ประกอบของเรื่องคือ ป่า นั่นแน่ๆ เพราะปกาเกอะญอ อยู่ป่า  แล้วก็คนปกาเกอะญอ หรือที่ก่อนนั้นเรารู้จักพวกเขาในนาม กะเหรี่ยง แล้วองค์ประกอบที่ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจก็คือโรงเรียน …
นาโก๊ะลี
เมื่อเราเด็กๆ เราจำได้อยู่ว่า ในหมู่บ้านของเรา เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ด้วยสายตาของเด็ก เราจะรู้สึกว่าทุกสิ่งรอบตัวนั้นใหญ่โต เส้นทางแต่ละทางมันก็ยาวไกล กระนั้นเราก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับความไกลและใหญ่โตนั้นเสมอ เป็นต้นว่า เดินไปโรงเรียน เดินไปลำห้วยท้ายหมู่บ้าน หรือเดินไปไร่ไปนา สิ่งสำคัญที่อยากจะเล่าเอาไว้ก็คือ ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะไปไหน เราก็เดินไป ไม่ใช่เฉพาะเราเด็กๆ เท่านั้น ผู้ใหญ่เอง หรือคนเฒ่าคนแก่ก็เดิน ไปไร่ไปนาก็เดิน ขึ้นเขาหาหน่อไม้ก็เดิน ไปตลาดเท่านั้นถึงจะนั่งรถไป หรือกระทั่งบางครั้งก็ยังได้เคยซ้อนท้ายจักรยานคนเฒ่าไปตลาด นั่นคือช่วงเวลาที่ชีวิตเราง่ายเหลือหลาย อยากไปไหนเราก็ไปทันทีทันใด…
นาโก๊ะลี
ครั้งหนึ่งเราเคยได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียกร้องสันติ นั่นก็คือการต่อต้านสงคราม ความรู้สึกคราวนั้น จำได้ว่า เรารู้สึก และพูดไปว่า โลกขอเรามีคนเก่งและความเก่งกล้าสามารถมากมายนักแล้ว โลกของเรามีคนดีและความดีงามมากมายนักแล้ว แต่สิ่งที่โลกเรายังขาดอยู่มาก นั่นก็คือ ความรัก ใช่....ถึงวันนี้เราก็ยังรู้สึกเช่นนั้น แต่สิ่งที่เห็นจนวันนี้เราก็ยังพบว่า โลกก็ยังส่งเสริมความดีและความเก่ง แต่โลกกลับไม่ได้ส่งเสริมความรัก
นาโก๊ะลี
  กลับมามองท้องทุ่งกับฟ้ากว้าง             พักจากการเดินทางระหว่างสมัยกลับมาจากแผ่นดินของเมืองไกล         กลับมามองความเป็นไป-ฤดูกาลธรรมชาติแตกต่าง-มิแตกต่าง              ยามแสงแรกส่องฟ้าสางโลกสถานในชีวิตมีหม่นเศร้ามีเบิกบาน                เป็นอยู่นับกาลนานตลอดมามองดูคนในฐานะของธรรมชาติ          …
นาโก๊ะลี
หนทางทอดยาวเหยียด ยาวเพียงไหน หากเอาถนนทั้งหมดมาต่อกันเป็นเส้นเดียว ถนนนั้นจะยาวไปถึงดาวดวงใด ก็ในเมื่อ ทุกแผ่นดินในโลก มนุษว์สามารถเดินไปถึงสุดแท้แต่สภาพสภาวะของตน ด้วยความจริงข้อนี้หรือเปล่า ที่มันทำให้ผู้คนทั้งหลายต่างแสวงหาเสรีภาพ พร้อมกับที่เราเปรียบเปรยต่างๆ นานา เพื่อบ่งบอกถึงอิสรภาพ เสรีภาพ หรือว่าแท้จริงแล้ว ถนนหนทางทุกสายต่างหากที่เป็นผลพวงของความปรารถนามนุษย์
นาโก๊ะลี
ฟังมาว่า  มีผู้คนมากมายที่ห่วงใยต่อวิถีของโลก วิถีของสังคม   พวกเขาทั้งหลายต่างก็กล่าวคบอกกล่าวถึงการดูแลเยียวยา รักษา ฟื้นฟู โลกและสังคม  ด้วยวิธีการ ด้วยความเชื่อแบบของตน  นั่นคงเป็นเรื่องดีวามไม่น้อยถ้าหากว่า วิธีการทั้งหมดนั้นมันสามารถนำพาสังคม นำพาโลกและชีวิต ก้าวเข้าไปสู่มิติ วิธีแห่งการเยียวยา ฟื้นฟู  แต่กระไรเล่า คำถามง่ายๆ ที่ผลุดโผล่ขึ้นมาระหว่างมิติของยุคสมัยและกาลเวลาก็คือว่า  ผู้คนในแต่ละยุคสมัยก็ทำเช่นนี้เสมอมา  บอกเล่ากล่าวความถึงหนทางที่ดีงามของโลก  แต่ทำไม โลกกลับยิ่งเลวร้ายลง สังคมก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน.....
นาโก๊ะลี
ความเป็นเด็กบ้านนอกด้วยก็เป็นได้  และความจริงก็มักเป็นอย่างนั้นเสมอ  คือ...เรื่องมีอยู่ว่า เวลาที่เราต้องขึ้นรถโดยสารสาธารณะระหว่างเมืองหนึ่งสู่เมืองหนึ่ง  ก่อนโน้นคราวที่เรายังเด็ก รถรายังไม่ได้มีมากนักในสังคมชนบท  ว่าก็เมื่อก่อนชาวบ้านยังไม่รู้วิธีกูเงิน หรือหาเงินทีละเยอะๆ นั่นเอง   ดังนั้นเวลาเดินทาง ผู้คนจำนวนมากจึงต้องอาศัยรถโดยสารเป็นสำคัญ  ทีนี้เรื่องมันก็มีต่อไปว่า  เด็กรถ กระเปารถ มันจะดุมากๆ มันไม่รู้จะดุไปทำไม  แล้วชาวบ้านก็ไม่กล้าว่าอะไรมัน ด้วยท่าทางวางท่าแบบอันธพาลของมัน(เราจะเรียกคนแบบนี้ว่าอันธพาล ไม่ใช่นักเลง…
นาโก๊ะลี
ว่ากันโดยทั่วไป หรือเปล่า..มั้ง...เราต่างก็พยายามสร้างความชัดเจน ทั้งจากตัวเอง และจากผู้คน บางเรื่องราวในชีวิต เรื้องเล่าที่เราะยายามจะบอกกล่าว บางคราวที่เรารู้สึกว่าเรื่องราวนั้นยาก และซับซ้อน เราก็ใช้เวลานานในการอธิบาย ยิ่งเมื่ออธิบายไปแล้วผู้คนท่าทางงง เราก็ยิ่งพยายามหาทางอธิบาย แล้วที่สุดทั้งผู้เล่า และผู้ฟังต่างก็พบว่า การอธิบายเสียยืดยาวนั้นเหนื่อยเปล่า ด้วยไม่เกิดผลใดใดเลย ต่อการทำความเข้าใจ ว่าไปแล้ว เนื้อหาที่เราต้องการจะบอกกล่าว มันก็ไม่ได้ยากเกินไปหรือเปล่า เพียงแต่การรับรู้ หรือการเข้าไปทำอะไรกับเรื่องราวนั้นๆที่อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ซับซ้อนนั่นเองต่างหาก…