เพื่อนคนหนึ่งเคยเชื้อเชิญให้พวกเราได้มีเวลาสำรวจบาดแผลของชีวิต เบื้องแรกหลายคนคิดว่าให้สำรวจบาดแผลของจิตใจ ความเจ็บปวดที่ต้องเผชิญในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่เพื่อนคนนั้นยืนยันว่า ให้สำรวจบาดแผลทางร่างกายจริงๆ นั่นก็อาจหมายความว่า ให้เราได้กลับมาสำรวจ และเรียนรู้บาดแผล เพราะนั่นมันอาจเป็นความทรงจำอันดี เพราะบาดแผลแต่ละครั้ง มันคือการเรียนรู้ มันเป็นประสบการณ์ของชีวิต แผลคือการจารึกเรื่องราว เพราะทั้งหมดนั้นวันหนึ่งมันจะกลายเป็นทรงจำที่อาจประทับใจ
ใช่แต่บาดแผลเท่านั้นกระมัง การเผชิญเรื่องราวอันตื่นเต้น ความเจ็บปวดร้าวในแต่ละครั้ง ณ ขณะนั้นมันอาจเป็นภาวะที่เลวร้ายยิ่งนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว เรื่องราวทั้งหมดมันก็จะกลายเป็นเรื่องเล่าอันน่าประทับใจ เจ้าตัวอาจนำมาเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า และมันก็จะกลายเป็นประสบการณ์อันน่าเรียนรู้ อันไม่รู้จบ
ช่วงเวลาเช่นนี้มันจึงเป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย ว่าก็คือช่วงแห่งความทุกข์ยาก เจ็บปวด อันไม่ว่าจะในระดับใด ทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ หรือกระทั่งโลกใบนี้นั่นเอง ในภาวะเช่นนี้ บางคราวเราก็รอ รอให้มันผ่านไป และมันเป็นไปไม่ได้หรอกกระมังที่มันจะไม่ผ่านไป เพราะไม่ว่าอะไรมันก็จะผ่านไป ไม่ว่าบางสิ่งเราอยากจะยึดมันไว้แค่ไหน มันก็จะไม่สามารถดำรงอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ดีงามหรือเลวร้าย
บาดแผลที่สำคัญส่วนหนึ่งนั้นก็คงเป็นบาดแผลของวัยเยาว์ วัยที่สามารถเข้าไปคลุก ขลุกกับอะไรก็ได้โดยปราศจากความหวาดหวั่นใดใด ความซุกซน อาจเป็นตัวแทนของความอยากรู้อยากเห็น ความตื่นตาตื่นใจ และนั่นเองก็คือสาเหตุของบาดแผลมากมาย เมื่อฟังเรื่องคราวเป็นเด็กของหลายๆ คน มักมีการบาดเจ็บ ที่มาของบาดแผลคล้ายๆ กัน เช่น แผลเป็นที่เข่า อันเกิดจากการหกล้มครั้งแล้วครั้งเล่า หรือการตกจากที่สูง มีดบาด หัวแตก บางอย่างมันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคของความตื่นตาตื่นใจเลย ตรงกันข้าม ในวัยเด็กเราได้เข้าไปผจญกับภัยอันตรายเล็กๆ น้อยๆ เสมอ อย่างไม่หวาดหวั่น และในความตื่นตาตื่นใจนั่นเองที่เป็นสื่อกลางในการทำความรู้จักกับโลก
ผู้คนมากมายตามหาวัยเยาว์ของตัวเอง ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ผู้คนมักมีความสุขเสมอเวลาที่พูดถึงวัยเยาว์ของตัวเอง แต่ก็มีน้อยคนนักที่จะค้นพบหัวใจของวัยเยาว์นั้นในตัวเอง ยิ่งก็โดยเฉพาะเมื่อเราอายุสูงวัยมากขึ้น หลายครั้งที่เราจะพบว่า เราไม่ค่อยตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่นัก เวลาที่พานพบเรื่องราวที่น่าสนุกสนาน เราไม่ตื่นเต้นเวลาเห็นอะไรใหม่ๆ และนั่นก็อาจหมายความว่าสื่อที่จะนำเราไปทำความรู้จักกับโลกนั้นมันหดหายไปนั่นเอง
เช่นนั้นแล้ว.... การกลับไปสำรวจบาดแผลของชีวิต ก็อาจเพื่อการนำเราไปสู่บาดแผลใหม่ๆ ซึ่งมันหมายถึงความกล้า ที่จะเรียนรู้ อย่างนั้นหรือเปล่า...มั้ง
ใช่แต่บาดแผลเท่านั้นกระมัง การเผชิญเรื่องราวอันตื่นเต้น ความเจ็บปวดร้าวในแต่ละครั้ง ณ ขณะนั้นมันอาจเป็นภาวะที่เลวร้ายยิ่งนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว เรื่องราวทั้งหมดมันก็จะกลายเป็นเรื่องเล่าอันน่าประทับใจ เจ้าตัวอาจนำมาเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า และมันก็จะกลายเป็นประสบการณ์อันน่าเรียนรู้ อันไม่รู้จบ
ช่วงเวลาเช่นนี้มันจึงเป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย ว่าก็คือช่วงแห่งความทุกข์ยาก เจ็บปวด อันไม่ว่าจะในระดับใด ทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ หรือกระทั่งโลกใบนี้นั่นเอง ในภาวะเช่นนี้ บางคราวเราก็รอ รอให้มันผ่านไป และมันเป็นไปไม่ได้หรอกกระมังที่มันจะไม่ผ่านไป เพราะไม่ว่าอะไรมันก็จะผ่านไป ไม่ว่าบางสิ่งเราอยากจะยึดมันไว้แค่ไหน มันก็จะไม่สามารถดำรงอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ดีงามหรือเลวร้าย
บาดแผลที่สำคัญส่วนหนึ่งนั้นก็คงเป็นบาดแผลของวัยเยาว์ วัยที่สามารถเข้าไปคลุก ขลุกกับอะไรก็ได้โดยปราศจากความหวาดหวั่นใดใด ความซุกซน อาจเป็นตัวแทนของความอยากรู้อยากเห็น ความตื่นตาตื่นใจ และนั่นเองก็คือสาเหตุของบาดแผลมากมาย เมื่อฟังเรื่องคราวเป็นเด็กของหลายๆ คน มักมีการบาดเจ็บ ที่มาของบาดแผลคล้ายๆ กัน เช่น แผลเป็นที่เข่า อันเกิดจากการหกล้มครั้งแล้วครั้งเล่า หรือการตกจากที่สูง มีดบาด หัวแตก บางอย่างมันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคของความตื่นตาตื่นใจเลย ตรงกันข้าม ในวัยเด็กเราได้เข้าไปผจญกับภัยอันตรายเล็กๆ น้อยๆ เสมอ อย่างไม่หวาดหวั่น และในความตื่นตาตื่นใจนั่นเองที่เป็นสื่อกลางในการทำความรู้จักกับโลก
ผู้คนมากมายตามหาวัยเยาว์ของตัวเอง ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ผู้คนมักมีความสุขเสมอเวลาที่พูดถึงวัยเยาว์ของตัวเอง แต่ก็มีน้อยคนนักที่จะค้นพบหัวใจของวัยเยาว์นั้นในตัวเอง ยิ่งก็โดยเฉพาะเมื่อเราอายุสูงวัยมากขึ้น หลายครั้งที่เราจะพบว่า เราไม่ค่อยตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่นัก เวลาที่พานพบเรื่องราวที่น่าสนุกสนาน เราไม่ตื่นเต้นเวลาเห็นอะไรใหม่ๆ และนั่นก็อาจหมายความว่าสื่อที่จะนำเราไปทำความรู้จักกับโลกนั้นมันหดหายไปนั่นเอง
เช่นนั้นแล้ว.... การกลับไปสำรวจบาดแผลของชีวิต ก็อาจเพื่อการนำเราไปสู่บาดแผลใหม่ๆ ซึ่งมันหมายถึงความกล้า ที่จะเรียนรู้ อย่างนั้นหรือเปล่า...มั้ง
บล็อกของ นาโก๊ะลี
นาโก๊ะลี
หลายปีมาแล้ว เมื่อเรายังอาศัยอยู่บนดอยในหมู่บ้านปกาเกอะญอ ในฐานะคนอาสาไปสอนหนังสือ ด้วยว่าโรงเรียนในหมู่บ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นเป็นหมู่บ้านเดียวที่มีโรงเรียนในละแวกนั้น จึงมีเด็กในหมู่บ้านอื่นๆ มาเรียนหนังสือและอยู่ประจำที่โรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนของเราจึงมีสภาพเป็นโรงเรียนประจำอยู่ส่วนหนึ่ง ดังนั้นพวกเราจึงต้องช่วยดูแลเด็กที่อยู่ประจำด้วย ยิ่งยามเจ็บป่วยด้วยแล้ว ว่าก็ในแถบถิ่นชายแดนตะวันตกซึ่งมีโรคยอดฮิตคือมาลาเรีย ครั้งหนึ่งเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นเด็กเล็กอายุเพียงหกขวบ เป็นจังหวะประจวบเหมาะที่เราได้เป็นคนเฝ้าอยู่โรงพยาบาล ต้องนอนเฝ้ากันอยู่หลายวัน คราวนั้นเองที่เราพบว่า…
นาโก๊ะลี
ดูจะเป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราเป็นคนบนภูเขา เราจึงคุ้นเคยและมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมเพื่ออยู่บนภูเขา ว่าก็คือ เรารู้ว่าเราจะอยู่อย่างไร ทำมาหากินอย่างไร หาอาหาร หาน้ำ ได้ที่ไหน หรือกระทั่งเวลาหลงทางเราจะพัก หรือหลับที่ไหนในเวลาค่ำคืน หรือแม้กระทั่งว่าในการหลงทางนั้นเราจะหาทางออกอย่างไร นี่ก็ว่ากันในแง่ของป่าที่เราไม่คุ้นเคย
นาโก๊ะลี
ใครครวญถึงชีวิตคนสักคนหนึ่ง กับภาระที่ถูกตอกตรึงกับยุคสมัยกับความซับซ้อนของสังคมที่เป็นไป กับคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ไม่อาจค้นพบยังมีคนอยู่กี่คนบนโลกมนุษย์ ที่สายธารชีวิตสิ้นสุดก่อนถึงจุดจบมีความฝันก็ตามฝันยังไม่ครบ ก็มีเหตุให้สยบต่อโชคชะตาคล้ายไม่น้อยนักที่เป็นอย่างนี้ …
นาโก๊ะลี
สนทนากับมิตรชาวมหานครคนหนึ่ง ถึงเรื่องราวของเมืองบางกอก อันสืบเนื่องจากเรื่องเล่าเรื่องราวในอดีตกาลนั้น ว่ากันต่อมาว่า บางกอกเป็นเมืองที่สวยมาก ผืนแผ่นดินลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเต็มไปด้วยห้วยน้ำลำคลอง ทุ่งนาเรือกสวน ว่าไปถึงการเดินทางสัญจรของประชาชนที่ใช้คลองใช้เรือเป็นด้านหลัก ในช่วงเวลานั้นบ้านเรือนราษฎรหันหน้าเข้าหาคลอง นี่คงเป็นภาพในอดีตที่มีการบอกเล่ากล่าวขานกันมานาน
นาโก๊ะลี
หลายโอกาสจนดูเป็นเรื่องธรรมดา หรือเป็นเรื่องที่ควรเป็น นั่นก็คือ บุคคลผู้ประกอบอาชีพใด ก็ย่อมเชี่ยวชาญในการงานหรืออาชีพนั้น ช่างยนต์รู้เรื่องเครื่องยนต์ทุกซอกทุกมุมทุกเรื่องราวของเครื่องยนต์นั้น กวีก็รู้ความหมาย องฟ้า แดด ลม ชาวประมงก็รู้เรื่องร่องน้ำ รู้เรื่องเส้นทางของปลา นั่นก็ว่ากันไป กระนั้นหลายครั้งที่เราพบเห็นบุคคลผู้ประกอบอาชีพ และเชี่ยวชาญในอาชีพของตน แต่หลายหนพวกเขากล่าวประกาศว่าจะเลิกทำมันเสียที เพราะเขาไม่ได้ชอบมันเสียเลย
นาโก๊ะลี
เมื่อก่อน เวลาที่นึกถึง หรือได้ยินคำว่าชุมชน เราก็มักนึกถึงหมู่บ้านในชนบท ต่อมาเมื่อโตขึ้น ได้เดินทางสู่เมืองหลวงก็ได้ยินคำว่าชุมชนแออัด คราวนั้นเราก็คงรับรู้ถึงชุมชนสองแบบนี้ ว่าก็ชุมชนในชนบท และชุมชนในเมือง บางสิ่งของสองชุมชนก็เหมือนกัน บางอย่างก็ต่างกันออกไป สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ผู้คนส่วนใหญ่ยากจน สิ่งที่ต่างกัน ก็คงเป็นการทำมาหากิน ความเป็นอยู่ บ้านเรือน ต่างกัน และคงมีหลายสิ่งกว่านี้ที่ต่างกัน แต่ว่าก็ว่า ในความยากจนในชุมชนชนบทนั้น มีการพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูล แน่นอนว่ามันมีความเกลียดชัง…
นาโก๊ะลี
เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างก็แจ้งข่าวว่า ปีนี้มีภัยแล้งเกิดไปทั่วหลายหย่อมย่านในเมืองไทย ว่าก็โดยเฉพาะแผ่นดินอิสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็บอกข่าวกล่าวความว่า ปีนี้ภัยแล้งหนักหนา.... รือว่าความจริงก็เป็นเช่นนั้น แต่ความจริงอีกเช่นกัน ความจริงอีกอันหนึ่งก็คือ ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์มาแล้ว.... บ้านเราฝนตก ที่ประหลาดใจก็คือ มันไม่ได้ตกแบบฝนหลงฤดู แบบสาดซัดลงมาแล้วก็หายไป แต่บรรยากาศมันเหมือนกับการเริ่มต้นฤดูฝน ด้วยมันมีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ครืนครั่น แล้วฝนก็ตกลงมาต่อเนื่องหลายวัน และถึงแม้มันจะหายไปหลายวัน แต่ไม่นานก็กลับมาอีก แล้วบรรยากาศก็ยังเป็นบรรยากาศของฤดูฝน…
นาโก๊ะลี
เรือลำโตล่องลำอยู่ในทะเลกว้าง ขณะที่ฟ้าเริ่มมืดลงช้าๆ วันที่ฟ้าปลอดมรสุม ในความพลุกพล่านของคนบนเรือใหญ่ ใช่อยู่ว่า ผู้คนต่างก็เดินทางของตัวเอง แต่ ณ ขณะนี้ เราต่างอยู่บนเรือลำเดียวกัน ไม่นานนักหรอก เพียงเมื่อเรือเทียบท่า เราก็ออกจากเรือลำเดียวกันนี้ สู่ทางของตัวเองอีกครั้ง คนภูเขาอย่างเราไม่ได้คุ้ยเคยนักกับเรื่องราวของทะเล แต่ก็เหมือนกับทุกครั้ง แม้ในท่ามกลางผู้คน เมื่อใจเรารวมกับทะเล มันก็ยังเกิดคลื่นความเหงาอยู่ นั่นคงเป็นทุกครั้งคราวไปกระมัง เมื่อยามมาเยือนทะเล แต่....นั่นก็งดงามไม่น้อยหรอก เมื่อเหงาเราจึงได้เฝ้ามอง คลื่นความคิดเคลื่อนตามแรงกระเพื่อมของพายุอารมณ์ ทำให้เราพบว่าที่สุดแล้ว…
นาโก๊ะลี
ตาตื่นก็ตื่นตา ณ เวลาของเช้าใหม่กลิ่นฝนยังกรุ่นไอ กับลมพัดยังพลิ้วโชยก่อนแดดจะแรงส่อง ก่อนสัตว์ผองจะหิวโหยก่อนฝนหยาดเม็ดโปรย เห็นผีเสื้อออกโบยบิน
นาโก๊ะลี
เด็กผู้หญิงตัวน้อยคนหนึ่งบอกว่า "โตขึ้นหนูจะเป็นนักเลง" บางคนอาจจะฟังแล้ว เฉยๆ เพราะว่านั่นก็เป็นหนึ่งในจินตนาการธรรมดาของเด็ก บางคนอาจจะรู้สึกตกใจ ว่า ทำไมความคิดเธอรุนแรงอย่างนี้ บางคนก็อาจจะมีความคิดแตกต่างกันไปต่อถ้อยคำสั้นๆ นั้น หรือกระทั้งบางคนอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรกับมันเลย หรือบางคนรก็ได้ได้ฟังมันนัก หรือเปล่า....มั้ง นั่นก็คงไม่ได้จะบอกว่าเราดีกว่าคนอื่น เมื่อเราจะบอกว่า เรารู้สึกบางอย่างกับถ้อยคำนี้ คำพูดคำนี้ของเธอทำให้เรามานั่งทบทวน เรื่องราวมากมายในชีวิตของผู้คน และนั่นทำให้เราได้พยายามทำความเข้าใจกับคำว่า "นักเลง"
นาโก๊ะลี
มีคนเคยบอกว่า เมื่อเราใช้คนอื่นทำงาน หรือกระทั้งการทำงานร่วมกัน ถ้าเขาไม่ทำได้ดีกว่าเรา เขาก็ทำได้แย่กว่าเรา ว่ากันมาว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่า เขาและเราจะทำได้เท่ากัน ดูเหมือนว่า แต่ไหนแต่ไรมา สภาพสภาวะของมนุษย์ก็เป็นมาเช่นนี้เสมอ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ ในการอบรมครั้งหนึ่งว่า มนุษย์เรา มันมีแค่ไหนมันก็ได้แค่นั้น แรกที่ได้ฟัง เราก็แย้งในใจทันทีว่า จะกล่าวหาเช่นนั้นได้อย่างไร เพราะส่วนหนึ่งที่เราได้ยินมาก็คือ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ นั่นหมายถึงความถึงพร้อมสำหรับการบรรลุธรรม นี่ว่าในแง่ความเชื่อทางพุทธศาสนา เพราะเราได้ยินมาเสมอว่าสิ่งมีชีวิตเดียวที่พร้อมสำหรับการบรรลุธรรมก็คือมนุษย์…
นาโก๊ะลี
ถนนหนทางพาดวางวกวน ยาวเหยียดดั่งว่าจะประมาณการณ์ไม่ได้ว่า มันยาวไกลไปถึงดาวดวงไหน หากว่าระหว่างรอยต่อของหนทางทั้งหลายนั้นคือจุดบรรจบพบกันของผู้คน บางการประสบ มีสภาพสภาวะเป็นเพียงทางแยก แต่มีบางเส้นทางในบางคราวที่ทอดยาวคู่กันไป บางจังหวะก็แยกออก บางจังหวะก็แนบชิด นั่นก็ว่าไปตามสภาวะของผืนดิน ภูเขาแม่น้ำ และในการเคียงข้างไปของหนทางนั้นจะสั้นยาวอย่างไร ก็คงเป็นไปด้วยเงื่อนไขที่ต่างกัน แต่ที่สุดแล้ว ผู้คนก็คงต้องเลือกทางของตัวเองเสมอ ไม่ว่าทางนั้นจะเป็นทางที่เขาผู้นั้นเลือกเอง หรือทางที่ถูกเลือกไว้ หรือกระทั่งทางที่ถูกโชคชะตาบังคับเลือก จะพึงใจหรือไม่พึงใจ มันก็ต้องเป็นไปอย่างนั้นอยู่ดี