Skip to main content

เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว มีหนังฝรั่งเรื่องหนึ่ง  เข้าใจว่าในช่วงเวลานั้นมีคนกล่าวขวัญถึงหนังเรื่องนี้กันพอสมควร  ด้วยมันเป็นหนังที่คาดการณ์ความเป็นไปในช่วงล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด นั่นก็คือ 2001A Space Odyssey 

เนื้อหาของหนังคงไม่ได้เอามาเล่า ณ ที่นี้  แต่ในภาคแรกของหนังเรื่องนี้นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง นั่นก็คือ  เรื่องราวเริ่มขึ้นในโลกมนุษย์ ช่วงเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา  ลิงฝูงหนึ่ง ซึ่งตัวหนังเล่าว่า ลิงพันธุ์นี้เองที่กำลังจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ช่วงเวลานั้น ลิงฝูงนี้ก็เริ่มมีปัญหากับลิงพันธ์อื่น  เค้าลางแห่งความขัดแย้ง ปรากฏชัดเจน จนในที่สุดก็เกิดการต่อสู้  จากการใช้เขี้ยวเล็บในการต่อสู้ ลิงฝูงนี้ก็เริ่มคิดเป็น และสิ่งแอรกที่มันคิดได้ก็คือ จับไม้มาเป็นอาวุธในการต่อสู้  นั่นหมายความว่า สิ่งที่อยู่ลึกลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจมนุษย์นั้น มันคือการทำลาย ฆ่า หรือเอาชนะ  อย่างนั้นหรือเปล่า  แล้วหนังก็ตัดไปในปี ค.ศ. 2001

ตั้งแต่เริ่มจำความได้  ดูเหมือนชีวิตเราถูกสอนให้แข่งขัน  มันดำรงอยู่ตลอดเวลา พ่อ แม่ มักพอใจที่เรา พูดได้ก่อนเด็กคนอื่น  ในรุ่นเดียวกัน หรือเราเดินได้ก่อนคนอื่นๆ ในเด็กรุ่นเดียวกัน  หรือจะดีใจเป็นพิเศษ หากว่าเราสามารถสร้างปรากฏการณ์เหล่านี้ก่อนเด็กที่โตกว่า  แต่หากว่า เราพูดหรือ เดินได้ทีหลังเด็กรุ่นเดียวกัน หรือร้ายหน่อยก็หลังเด็กรุ่นน้อง  พ่อ แม่ก็สามารถหาเหตุผลมาอ้าง เพื่อปลอบใจตัวเอง  และพยายามสร้างความรู้สึกที่ไม่ให้ด้อยไปกว่าเขา  หรือไม่ก็หาจัดด้อยของเด็กคนอื่นๆ นั้น  อย่างนั้นหรือเปล่า

โตมาอีกนิด  หากเราสามารถอ่าน หรือเขียน หรือรู้จักหนังสือ ได้ดีกว่าเด็กอื่นๆ ก็  นั่นก็จะเป็นเรื่องให้ได้กล่าวขานดั่งว่านั่นเป็นเรื่องราวอันมหัศจรรย์  เรื่องนี้ดำรงอยู่นาน ตราบใดที่เรายังอยู่ในโรงเรียน  และกว่าจะถึงวันนั้น ไม่ใช่เพียงพ่อ แม่ แต่ครูก็เข้ามามีส่วนอย่างยิ่งในการปลูกฝังการแข่งขันในสามัญสำนึกของเรา  นับวัน นับนานก็ยิ่งติดแน่นมากขึ้น  จนในที่สุด แรงขับเคลื่อนสำคัญของการเข้าสู่สนามการแข่งขันทั้งหมดก็คือ ตัวเราเอง

สังคม ผู้คน โลกทั้งหมดเป็นอย่างนี้  และยิ่งนับวันมันเข้มข้นขึ้นเรื่อย  แข่งเรียน แข่งเก่ง แข่งสวย แข่งหล่อ แข่งใหญ่ แข่งเล็ก แข่งสารพัดแข่ง  แล้วก็ประกาศกันอย่างไม่ได้ใครครวญครุ่นคิดว่า นั่นมันส่งผลอย่างไรต่อคนที่ ไม่ชนะ  ทั้งหมดนี้ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มันคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ลึกลงไปในจิตใต้สำนึก หรือพูดภาชาวบ้านว่ามันเป็นสันดานร่วมของมนุษย์  ในแง่นี้เอง อิสรภาพของมนุษย์จะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ ในภาวะวิสัยเช่นนี้  นั่นก็ทำให้นึกถึงคำพูดหนึ่งของครูคิตติง แห่งชมรมกวีไร้ชีพว่า “มนุษย์เสรีได้เพียงในฝัน และจะเป็นเช่นนั้นนิรันดร์สมัย”

ทำอย่างไรกันดี  ว่าก็ว่า มีผู้คนมากมายที่คัดค้าน ปฏิเสธการแข่งขัน แม้สังคมจะบอกว่า การแข่งขันก็เป็นไปเพื่อการพัฒนา  แต่เราจะทำให้เกิดการพัฒนาโดยไม่แข่งขันได้หรือเปล่า  และเมื่อเราสามารถเห็นคนอื่นดีกว่า เก่งกว่า อะไรๆ มากกว่าเรา ด้วยความชื่นชมยินดี นั่นคงดีไม่น้อย และนั่นก็คือหลัก มุทิตา นั่นเอง  หรือเรามองคนที่ด้อยกว่าเราอย่างเข้าใจ ให้โอกาส นั่นก็คงเป็นธรรมในหัวข้อ เมตตานั่นเอง  

เราจะแสวงหาโลกแห่งอุดมคติอย่างมีความหวังได้หรือไม่  เพราะวันนี้เมื่อเราสำรวจตัวเองลึกลงไปเรายังพบว่า  เมื่อเราเป็นฝ่ายปฏิเสธการแข่งขันอยู่นั้น เราก็อยากเป็นผู้ที่ไม่แข่งขันมากที่สุดในโลก อย่างนั้นหรือเปล่า...มั้ง....

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
นอกจากนอกหน้าต่างที่วิ่งผ่านไปตามถนนหนทาง ผ่านทิวทัศน์มากมาย ผ่านแผ่นดิน สายน้ำ ที่คนเดินทางได้เฝ้ามอง สิ่งหนึ่งที่คนเดินทางต้องผ่านพบเสมอ และบางครั้งบางคราว มันก็ยังกลายเป็นที่พักแรมจำเป็นก็ยังมี และที่ๆ เราจะต้องนั่งจับเจ่าอยู่เสมอก็คือ ชานชาลา เรื่องเล่ามากมายหลายเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากนักเดินทางก็มักมีเรื่องของชานชาลาอยู่ด้วยเสมอ
นาโก๊ะลี
เรามีโลกจริงเอาไว้....เพื่อให้เราได้ตระหนักรู้ถึงการมีชีวิต ให้เราได้เรียนรู้ถึงปรากฏการณ์ เงื่อนไขต่างๆ มีภาระหลากหลายว่าตั้งแต่เรื่องการทำมาหากิน การดูแลครอบครัว และผู้คนรอบข้างแวดล้อม และส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนว่า เมื่อเราอยู่ในโลกนี้นั้น เรามักมีทุกข์มาก ยุคสมัยได้นำพาเราทั้งหลายดำเนินชีวิตมาถึงวาระที่ ความเป็นเมืองกับชนบทแทบไม่เหลือเส้นแบ่งอีกต่อไปแล้ว ต่างกันหน่อยตรงที่ว่า ชนบทยังไม่มีรถติดมากนัก แต่ก็เริ่มเห็นบ้างแล้ว ชนบทยังมีทุ่งนา แม่น้ำลำคลองยังใสสะอาด แต่เมื่อดูที่ระบบการดำเนินชีวิต เราแทบไม่เห็นความต่างนั้นแล้ว ว่าก็ ชาวนาซื้ออาหารถุงไปนา เพราะเร่งรีบ เป็นอย่างนั้น…
นาโก๊ะลี
เราต่างเติบโตมาอยู่ร่วมยุคสมัย พบเห็นโลกเป็นไปเสมอเหมือน อาจหลงลืมบางเรื่องลางเลือน แต่บางสิ่งเรากลบเกลื่อนความทรงจำ
นาโก๊ะลี
อ้ายไพทูรย์ พรหมวิจิตร เคยบอกว่า นี่เป็นที่นาผืนสุดท้ายของเชียงใหม่ ว่าก็คือมันเป็นที่นาผืนสุดท้ายที่อยู่ใกล้เมืองมากที่สุด นั่นคือบริเวณบ้านทุ่งเกวียน บ้านสันป่าสัก ตำบลหนองจ๊อม วันนั้นมันก็เป็นทุ่งนาที่มีคลองน้ำไหลผ่าน ชาวบ้านชาวนาหาปลาจากคลองซึ่งมีอยู่มากมาย ตกค่ำฝูงนกกระยางบินตัดฟ้ามาเป็นกลุ่ม แปลขบวนเป็นเส้นเป็นสาย เมื่อล่วงเข้าสู่เวลาค่ำ เสียงทุ่งนา เสียงรัตติกาลของทุ่งนา นั่นก็คือแมลงกลางคืนดังท่วมทุ่ง รอบๆ บริเวณผืนนานี้อาจมีบ้านจัดสรรอยู่บ้าง หลายคนที่มาอยู่ในแถบนี้ที่ย้ายมาจากในเมืองบอกว่าที่นี่น่าอยู่ มันเงียบสงบด้วย และก็ไม่ลำบากกับการเข้าเมือง…
นาโก๊ะลี
เฝ้ามองบางพื้นที่ ความจริงคือหลายพื้นที่ ที่พบ หรือความจริงอีกอย่างมันอาจจะเป็นทุกพื้นที่ ทุกสถานที่เหล่านี้มีผู้คนอาศัยอยู่ ดำรงชีวิต ประกอบกิจการงาน และมีหลายผู้คนวนเวียนเข้ามา ทั้งมาร่วมอยู่อาศัย ประกอบการงาน หรือกระทั่งเพียงผ่านมาเยี่ยมเยือน เช่นนั้นแล้ว ในสถานที่นั้นๆ มันจึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้อยู่อาศัยอยู่เสมอ นั่นมันไม่ได้คงที่ ในฐานะอาคันตุกะ วาระหนึ่งเราพบคนหนึ่ง แต่เมื่อต่างวาระ เราก็พบคนที่ต่างไป และนั่นยังหมายความว่า อาคันตุกะผู้มาเยือนก็ต่างออกไป วาระหนึ่งเราอาจจะพบคนผู้หนึ่งเมื่อเราเดินทางมาพบกัน หากแต่ในอีกวาระหนึ่ง เราก็พบคนอีกผู้หนึ่งนั่นเอง…
นาโก๊ะลี
ค่ำวันที่อากาศบนภูเขาหนาวจับใจ เราซ้อนมอเตอร์ไซค์มุ่งขึ้นดอย หมู่บ้านที่เราเคยไปเยือนหลายครั้งเมื่อหลายปีก่อน ว่าไปก็น่าจะเลยห้าปีมาแล้ว ด้วยความที่รู้สึกอยู่ว่า เวลาผ่านมานานขนาดนี้ หลายอย่างก็คงเปลี่ยนไปมากแล้ว ว่าก็คือ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง บ้านเรือนผู้คนแถบถิ่นเชิงเขาเปลี่ยนไปมาก มีคฤหาสน์หลังใหญ่โต ช่างเถิด นั่นไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับการเดินทางของเรานัก เข้าเขตภูเขาอากาศเริ่มเย็นยะเยือกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดเราก็ล่วงลึกเข้าไปในภูเขา ถนนฝุ่นที่เราเคยพบเห็นสัมผัสคุ้นเคยในอดีตกลับมาอีกครั้ง จนถึงหมู่บ้าน บรรยากาศในทรงจำก็เริ่มโผล่ปรากฏ
นาโก๊ะลี
  คงไม่มีใครได้ดั่งใจเรา เพราะวิถีของเขาก็แตกต่างผู้คนก็ล้วนเดินบนหนทาง ที่ถากถางสร้างมาด้วยตัวเอง
นาโก๊ะลี
ภาพเบื้องหน้า....นาข้าวเป็นสีทอง ทั้งรวงข้าว ต้นข้าวล้วนเป็นสีทอง นอกจากภาพนั้น ทุ่งก็เจอกลิ่นหอมของข้าวใหม่ลอยมาจางๆ ต้นข้าวบางส่วนยังยืนต้น บางส่วนก็ล้มลงไป ทั้งที่เพราะต้นงามสูงเกินไปจึงล้ม บ้างล้มเพราะพายุฝนปลายฤดูความทรงจำแรกที่โผล่ปรากฏ เรื่องเล่าของคณะคนเมืองที่ไปเดินป่าศึกษาวิถีชีวิตคนปกาเกอะญอบนดอยสูงของเทือกเขาเมืองเชียงใหม่ ระหว่างที่เดินไป ชายหนุ่มคนหนึ่งมองไปที่เชิงเขาเบื้องหน้า แล้วก็อุทานว่า "โอ้โห...ทุ่งหญ้าสวยมากเลย" เจ้าบ้าน และผู้ที่พอรู้จักทุ่งนั้นกล่าวออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า "นั่นไม่ใช่ทั่งหญ้า แต่มันคือทุ่งข้าว" ทันใดนั้นชายหนุ่มคนดังกล่าวก็ถลาวิ่งไปเบื้องหน้าเต็มกำลัง…
นาโก๊ะลี
ทิวแถวของผู้คนที่เดินทางจาริกแสวงบุญ กลางเปลวแดดที่แผดเผา ก่อนที่ลมหนาวจะมาถึง กระบวนผู้คนที่เดินทางนี้ ได้ย่ำเดินเพื่อนำเสนอข่าวคราวความป่วยไข้ของสายน้ำ และผืนแผ่นดิน ด้วยก้าวย่างแห่งการภาวนา วาระนี้เอง ในฐานะผู้ร่วมทางคราวนี้ ที่เราได้เดินเท้าเป็นทางไกลกว่าแปดสิบกิโล ลัดเลาะ และพักอยู่ตามหมู่บ้านในแถบลุ่มน้ำที่เราต่างปรารถนาฟื้นคืนชีวิตให้สายน้ำนั้น เสียงกลองนำขบวนดังอยู่ตลอดระหว่างการเดินทาง ไม่หรอก....ไม่ใช่เสียงกลองที่ตีตามจังหวะการก้าวเดิน ซ้าย ขวา ซ้าย หากแต่เป็นเสียงกลองที่ตีเพื่อเตือนเราให้อยู่กับการรับรู้ถึงการก้าวเดินของเรา.......... ชีวิตผู้คนพานพบ ประสบ สำเร็จ…
นาโก๊ะลี
หลายครั้งในการสนทนาถึงนิยายกำลังภายใน มีหลายเรื่องในใจผู้คนที่กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันตามความชอบของตน นั่นเป็นธรรมดาอย่างยิ่ง อุ้ยเสี่ยวป้อ อาจไม่ได้ฮือฮามากนัก(มั้ง)ในการสนทนาของผู้คน แต่ในการวิจารณ์หลายหนที่พบในหนังสือของเซียนนิยายจีนทั้งหลาย ต่างก็ยกย่องเรื่องอุ้ยเสี่ยวป้ออยู่ไม่น้อย ในประเด็นที่ว่าด้วยมิตร หลายคนไม่ชอบอุ้ยเสี่ยวป้อ เพราะกะล่อน เจ้าชู้ แต่คุณธรรมของอุ้ยเสี่ยวป้อที่สำคัญก็คือ เขามีความรักต่อทุกคน เบื้องแรกเขากราบประมุขพรรคฟ้าดิน (ใช่ชื่อพรรคนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจครับ) เป็นอาจารย์ เขาก็มีความภักดีอย่างยิ่งต่ออาจารย์ เมื่อเข้าวังกลายเป็นพระสหายของฮ่องเต้ชิง…
นาโก๊ะลี
“ไม่มีหนทางไปสู่สันติ หากแต่ว่าสันตินั่นแหละคือหนทาง” นี่เป็นคำกล่าวของ เอ เจ มัสเต นั่นหมายความว่า ตราบที่มนุษย์ยังตามหา แสวงหา ค้นหาสันติ พวกเขาทั้งหลายจะไม่มีทางได้พบมัน นั่นเพราะว่าปลายทางแห่งสันตินั้นอาจจะไม่ได้มีอยู่ หากแต่ว่า ทางเดินบางทางต่างหากคือสันติ เช่นนั้นแล้วน่าสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าผู้คนทั้งหลายผู้แสวงหาสันตินั้น พวกเขาเดินอยู่บนทางสายไหน พวกเขาเดินอยู่บนทางที่ชื่อสันติหรือไม่ แต่กระนั้น ที่สุดแล้ว ทางแห่งสันติมันไม่ได้เป็นรูปธรรม แต่ทางเส้นนั้นทอดยาวอยู่อย่างไม่มีจุดสิ้นสุดอยู่ในใจ อยู่ในจิตสำนึกของเราเอง มันทอดยาวขนานไปกับทางแห่งความเคียดแค้น ชิงชัง ว่ากันมาว่า…
นาโก๊ะลี
เคยได้ยินเรื่องเล่าหนึ่งว่า มหาเศรษฐีคนหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่โตในประเทศแห่งหนึ่ง เขาพูดกับใครต่อใคร (ซึ่งแน่นอนว่าคำพูดของเขามีอิทธิพลต่อคนทั้งประเทศ ด้วยว่าผู้คนต่างก็อยากรวยอย่างเขานั่นเอง) ว่า ในชีวิตของเขา สามารถให้อภัยคนได้สามครั้ง ว่าก็คือ ในงานของเขา ลูกน้องของเขา เมื่อทำผิดครั้งแรก เขาอภัย ทำผิดครั้งที่สอง เขายังอภัย ทำผิดครั้งที่สาม เขาให้อภัย และเป็นโอกาสสุดท้าย แต่เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอีก ก็จะถูกไล่ออก ครั้งหนึ่ง มีคนผู้แสวงหาถามผู้เฒ่าชนบทคนหนึ่ง ว่าเราจะให้อภัยคนได้สักกี่ครั้ง หากว่ามีคนๆ หนึ่งทำผิดต่อเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำตอบของผู้เฒ่าคือ “ไม่มีที่สิ้นสุด…