Skip to main content


ภาพจาก www.thailandoutdoor.com

ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ

จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ

“ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น

แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น

นักกินรุ่นเก๋าว่าเป็นปลาเดียวกับปลาไหล  อุนาหงิ  ของญี่ปุ่น  ย่างราดซีอิ๊ว  โชยุผสมเหล้ามิรินกับกระดูกป่นของตัวมันเป็นเกรวี่--โอ๊ยฉี่--แปลว่าอร่อยเป็นบ้า !

ชินแสสัปดนห่อใบผักกาดดองเค็ม--เกี้ยมฉ่าย  ตุ๋นตำรับจีนเชื่อกันว่าบำรุงกำลังขย่มบนเตียงนอนหมวยครวญคราง

นักเลงปากกว้างในร้านลาบหลู้ยืนยันว่าปลานี้สกุลเดียวกับ  สะแงะ  ของแม่น้ำปายแม่ฮ่องสอน  เวลานี้เป็นปลาเขียม (หายาก)  ปานกันกับเขียดแลวหรือกบยักษ์ 


ภาพจากหมูหินดอทคอม 

ข้อมูลในวิกีพีเดียให้ไว้ว่า ปลาสะแงะมีรูปร่างคล้ายปลาไหล อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bengalensis มีความยาว 1-1.5 เมตร พบมากในแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสาขาในจังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฮ่า แม่น้ำปายนั่นเอง ที่ฮือฮาครั้งหนึ่งคือมีผู้จักปลาสะแงะได้ที่คลองบางกะปิ เมื่อปี 2468 – 84 ปีล่วงมาแล้ว ปลาตัวที่พบนี้ยาว 65 ซ.ม. ทำให้คนเชื่อว่าเป็นปลาไหลไฟฟ้า บางคนคิดว่าเป็นพญานาค บางคนว่าคือมังกร
ความพิเศษของปลาสะแงะอีกอย่างหนึ่งคือ มีเสียงร้องเหมือนเด็กทารกในเวลากลางคืน ใครเคยได้ยินบ้างเนี่ย ที่แม่ฮ่องสอน ชาวปากญอเรียกปลาสะแงะว่า “หย่าที”

ครั้งหนึ่งบนโต๊ะอาหารของคุณชายคึกฤทธิ์ มีเมนูปลาไหลหูดำ หรือปลาสะแงะตัวนี้อยู่ด้วย คุณ’รงบันทึกไว้ว่า

บันทึกอย่างน่าโดนถีบว่าเคยเห็นท่านก้างติดคอในวันนั้นที่ผ่านมา
พนักงานรับใช้ถึงผู้จัดการภัตตาคารตกใจวิ่งกันพล่าน  บ้างออกปากขอโทษ  บ้างละล่ำละลักบอกให้กลืนก้อนขนมปัง  บางคนว่ากลืนกล้วยหอมชะงัดกว่า
คุณชายไม่กลืนอะไรทั้งนั้นนอกจากค็อนญัค  และเอื้อมมือลูกคออย่างสงบ
ใบหน้าคลายยิ้มแต่ปากพูดอย่างราบรื่น
“อันการกินปลาพลาดพลั้งก้างก็ติดคอบ้างเป็นธรรมดา  ไม่เจ็บปวดอะไรนักหนาแต่รำคาญบ้างเท่านั้น  เออ--กินกันตามสบายอย่าทำตาละห้อยเป็นห่วงบ้าบออะไรกันกับข้าวออกเต็มโต๊ะ"
บ่ายวันนั้นกลับสำนักงานบนอาคาร  6  ถนนราชดำเนิน  ท่านเขียนบทความเกี่ยวกับบางปัญหาโจมตีรัฐบาลอย่างแสบสันต์
ก้างติดคอชิ้นนั้นพลอยเจ็บแปลบไปถึงคนในทำเนียบ 

ก้างติดคือยังสะเทือนถึงปานนี้ ไม่กินไม่ได้แล้ว ปลาสะแงะ
ไป...ไปปายกัน

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
  วันนี้ตั้งใจขับรถขึ้นไปที่ขุนช่างเคี่ยน เพื่อไปดูพญาเสือโคร่งประจำปีนี้ ตื่นหกโมงเช้า ฟ้ายังมืด อากาศหนาว ออกจากบ้านหกโมงครึ่ง แต่กว่าจะไปถึงแดดก็เริ่มแรงแล้ว รูปนี้ถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิว ก่อนถึงโค้งขุนกันต์ ดอยสุเทพ เห็นเส้นขอบฟ้าไกล ๆ ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง จึงเก็บฟ้าและเมืองได้ทั้งเมือง เชียงใหม่ยังมีมุมสวยอยู่
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาออกเดินทางอีกแล้ว ช่วงนี้ดอกพญาเสือโคร่งกำลังจะบาน ต้องตามข่าวกันทุกวันว่าบานถึงไหนแล้ว เพราะจะบานเพียง 7 วันเท่านั้น ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ตื่นสายไปนิด ไปถึงแปดโมงกว่า ๆ รู้สึกว่าแดดแรงไป ปีนี้คงต้องออกจากบ้านหกโมงเช้า     แดดแรงไปนิดนึงจริง ๆ แต่เก้าอี้ที่ไร้คนนั่ง คงไม่หนาวเหน็บเหมือนอากาศตอนนี้     ข้อดีของแดดจ้า ๆ ก็ทำให้ฟ้าเป็นสีฟ้า ดอกไม้สีชมพูเต็มต้น ตัดกับฟ้าสีฟ้าโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของช่างภาพ คือต้องวิ่งตามแสง โดยเฉพาะแสงเช้า     ดอกบ๊วย ขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ภาพนี้ใช้เลนส์ซูม ดึงเข้ามาใกล้…
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปห้องพักและอาหารให้กับเรือนคำอิน บ้านไม้สักทองทั้งหลัง มีห้องพักขนาดหรูหราเพียง 3 ห้อง และเป็นร้านอาหาร (อาหารพื้นเมืองรสชาติแบบคนเมืองแพร่) ปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี พี่นิดเจ้าของบ้านจึงลดราคาห้องพักลงมาแบบครึ่ง ๆ ภาพที่ยกมานี้เป็นห้อง living room ของหนึ่งในห้องนอนของบ้าน ราคาคืนละ 2500 บาท พร้อมอาหารเช้าไม่ได้โฆษณานะ แต่เผื่อใครหาที่พักในเชียงใหม่ ราคานี้ก็พอ ๆ กับโรงแรมในไนท์บาซ่า แต่สบายกว่ากันเยอะเลย ห้องสูธแพงกว่านี้พันนึง มีจากุชชี่ และห้องซาวน่าในตัวด้วยค่ะขอบอก เข้าไปหาข้อมูลในกูเกิ้ลได้ค่ะ
โอ ไม้จัตวา
  คราวที่แล้วเล่าเรื่องรีทัชสายไฟออกจากภาพ คราวนี้ลองมาเล่นที่ใบหน้า ลบรอยตีนกากันบ้างดีกว่า ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางก็สวยได้  
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้ขอแนะนำวิธีรีทัชรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากโรคจิตของอิฉันเองที่ทนเห็นสายไฟรกรุงรังไม่ได้ ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือในภาพ มีใครเป็นแบบนี้มั่งไหมเนี่ย เห็นไม้แขวนเสื้อกองรวมกันยุ่ง ๆ หรือสายโทรศัพท์ สายไฟ สายอะไรก็ตาม พันกันยุ่ง ๆ แล้วจะรู้สึกใจคุกรุ่นขึ้นมาเหมือนมีคนยั่วโมโห ทนไม่ได้ต้องนั่งคลาย ๆ ๆ ๆ
โอ ไม้จัตวา
โดยส่วนตัวแล้วเราโตมากับห้องมืด ตอนเด็ก ๆ ข้างบ้านเป็นร้านถ่ายรูป ฝึกล้างอัดรูปในห้องมืดที่โรงเรียน เข้ามหาลัยก็เข้าชมรมโฟโต้ ก็ได้เล่นห้องมืดต่ออีกนิดหน่อย เมื่อไม่นานมานี้ไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อน บ้านที่อยู่ในรั้วเดียวกันก็ยังเป็นห้องมืดให้นักศึกษาเช่าทำงานล้างอัดรูป ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับห้องมืด และภาพขาวดำ (ว่าไปก็น่าทำห้องมืดไว้เล่นเองเหมือนกันนะ)  
โอ ไม้จัตวา
ภาพนี้ถ่ายด้วยความโลภ ฟ้าก็อยากได้ ก้อนเมฆก็อยากได้ ใช้เลนส์ไวด์หรือเลนส์สำหรับถ่ายภาพให้ได้มุมกว้างถ่าย เวลาขณะนั้นประมาณเที่ยง ฟ้าสีฟ้า เมฆเต็มฟ้า แดดจัดมาก ถ้าวัดแสงที่ก้อนเมฆ ข้างล่างจะมืด ถ้าวัดแสงที่ข้างล่างก้อนเมฆจะจ้ารายละเอียดหายไปเลย  
โอ ไม้จัตวา
คราวนี้ไม่ค่อยกล้าทุบกล้องเท่าไรนัก เพราะใช้ Nikon D70 ถ่ายอาหาร โดยใช้เลนส์ Macro (อ่านว่า มาโคร) คือเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุในระยะประชิดระดับ 1 เซ็นได้ พวกงาน close up ทั้งหลายมักใช้เลนส์ หรือโหมดมาโครนี้ในกล้องดิจิตอล ที่มีวิธีดูง่าย ๆ คือ ปุ่มที่เป็นเครื่องหมายรูปดอกไม้ในตัวกล้อง นั่นคือปุ่มมาโคร สำหรับถ่ายดอกไม้ใกล้ ๆ ถ่ายมด ถ่ายขี้จิ้งจก หรือถ่ายอาหารอย่างวันนี้เป็นต้น
โอ ไม้จัตวา
  คราวนี้ยกแมวที่มีสีสันตัดกันอยู่ในตัวมาให้ดู แมวที่มีสีขาว และดำ อยู่ใกล้กันแบบนี้ เวลาถ่ายภาพจะต้องระวังการวัดแสง เพราะถ้าวัดแสงที่สีดำ ส่วนที่เป็นขาวก็จะจ้าจนความละเอียดหายไป ควรวัดแสงตรงสีที่เป็นกลาง ๆ เช่นสีน้ำตาลเป็นต้น ก็จะได้ภาพที่มีสีและแสงพอดี
โอ ไม้จัตวา
ติดพันจากแมวคราวที่แล้ว ตอนทำรูปก็พบว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยากนักในการปรับภาพในโปรแกรมโฟโต้ช็อปเอามาแนะนำกัน ภาพที่เราถ่ายนั้นบางครั้งองค์ประกอบของภาพก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เราสามารถใช้คำสั่ง crop ในโฟโต้ช็อปได้ หรือคลิ้กที่เครื่องหมายที่เราทำลูกศรสีแดงชี้ไว้ แล้วลากที่ภาพ สร้างกรอบภาพขึ้นมาใหม่ จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดูภาพเต็มคือทั้งหมด เมื่อเราลาก crop ส่วนที่เป็นแถบสีดำรอบ ๆ ภาพ กรอบเล็กจะหายไปเมื่อเราดับเบิ้ลคลิ้ก
โอ ไม้จัตวา
“ถ่ายภาพเด็กกับสัตว์ให้โฟกัสที่ตา” ออกจากห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพที่โรงเรียนเมื่อสมัยอยู่ม.3 แล้วก็ไม่เคยเข้าห้องเรียนถ่ายรูปที่ไหนอีกเลย เคยเข้าไปเล่นเองบ้างก๊อกแก๊กในห้องอัดของชมรมถ่ายภาพในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้มีโอกาสหมกตัวอยู่ที่สวนทูนอิน บ้านพักของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นบางช่วง และมีโอกาสเดินถ่ายรูปดอกไม้ยามเช้าในสวนทูนอิน ประโยคที่ยกมาข้างบนนั้นคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พูดขึ้นมา (จะเรียกว่าสอนก็น่าจะได้) เมื่อชี้ให้ดูภาพแมวที่เขาถ่ายและใส่กรอบติดไว้ที่ผนังบ้าน    
โอ ไม้จัตวา
  แสงแดดมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพอย่างยิ่ง เพราะเป็นแสงจากธรรมชาติ ทำให้ภาพมีมิติ มีเงา แต่ก็ต้องเลือกเวลาเช่นกัน อย่างที่บอกในชื่อเรื่องว่า แสงแรกและแสงสุดท้าย แสงแรกนั้นคือ แสงแดดยามเช้าจนถึงสาย ๆ น่าจะประมาณ 8.30 น. และแสงสุดท้ายของวัน คือประมาณ 4-5 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่พอดีที่สุดในการถ่ายภาพ