ภาพจาก www.thailandoutdoor.com
ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ
จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ
“ปลาไหลหูดำ โอว หี่ เหมา ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น
แต่บางคนบอกความลับว่า พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น
นักกินรุ่นเก๋าว่าเป็นปลาเดียวกับปลาไหล อุนาหงิ ของญี่ปุ่น ย่างราดซีอิ๊ว โชยุผสมเหล้ามิรินกับกระดูกป่นของตัวมันเป็นเกรวี่--โอ๊ยฉี่--แปลว่าอร่อยเป็นบ้า !
ชินแสสัปดนห่อใบผักกาดดองเค็ม--เกี้ยมฉ่าย ตุ๋นตำรับจีนเชื่อกันว่าบำรุงกำลังขย่มบนเตียงนอนหมวยครวญคราง
นักเลงปากกว้างในร้านลาบหลู้ยืนยันว่าปลานี้สกุลเดียวกับ สะแงะ ของแม่น้ำปายแม่ฮ่องสอน เวลานี้เป็นปลาเขียม (หายาก) ปานกันกับเขียดแลวหรือกบยักษ์”
ภาพจากหมูหินดอทคอม
ข้อมูลในวิกีพีเดียให้ไว้ว่า ปลาสะแงะมีรูปร่างคล้ายปลาไหล อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bengalensis มีความยาว 1-
ความพิเศษของปลาสะแงะอีกอย่างหนึ่งคือ มีเสียงร้องเหมือนเด็กทารกในเวลากลางคืน ใครเคยได้ยินบ้างเนี่ย ที่แม่ฮ่องสอน ชาวปากญอเรียกปลาสะแงะว่า “หย่าที”
ครั้งหนึ่งบนโต๊ะอาหารของคุณชายคึกฤทธิ์ มีเมนูปลาไหลหูดำ หรือปลาสะแงะตัวนี้อยู่ด้วย คุณ’รงบันทึกไว้ว่า
“บันทึกอย่างน่าโดนถีบว่าเคยเห็นท่านก้างติดคอในวันนั้นที่ผ่านมา
พนักงานรับใช้ถึงผู้จัดการภัตตาคารตกใจวิ่งกันพล่าน บ้างออกปากขอโทษ บ้างละล่ำละลักบอกให้กลืนก้อนขนมปัง บางคนว่ากลืนกล้วยหอมชะงัดกว่า
คุณชายไม่กลืนอะไรทั้งนั้นนอกจากค็อนญัค และเอื้อมมือลูกคออย่างสงบ
ใบหน้าคลายยิ้มแต่ปากพูดอย่างราบรื่น
“อันการกินปลาพลาดพลั้งก้างก็ติดคอบ้างเป็นธรรมดา ไม่เจ็บปวดอะไรนักหนาแต่รำคาญบ้างเท่านั้น เออ--กินกันตามสบายอย่าทำตาละห้อยเป็นห่วงบ้าบออะไรกันกับข้าวออกเต็มโต๊ะ"
บ่ายวันนั้นกลับสำนักงานบนอาคาร 6 ถนนราชดำเนิน ท่านเขียนบทความเกี่ยวกับบางปัญหาโจมตีรัฐบาลอย่างแสบสันต์
ก้างติดคอชิ้นนั้นพลอยเจ็บแปลบไปถึงคนในทำเนียบ”
ก้างติดคือยังสะเทือนถึงปานนี้ ไม่กินไม่ได้แล้ว ปลาสะแงะ
ไป...ไปปายกัน