Skip to main content

 

หลายคนถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ช่วยสอนหน่อยได้ไหม ความที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องการถ่ายภาพมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้เช่นกัน คำตอบที่บอกไปส่วนใหญ่จะบอกแบบโยนกล้องให้แล้วไปหาเอา

\\/--break--\>

กำปั้นทุบกล้อง...ข้อแรกคือถ่ายรูปมือต้องนิ่งที่สุด

 

ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของคนรักการถ่ายภาพ เพราะกล้องดิจิตอลที่เราใช้กันอยู่นี้ นอกจากทำให้ประหยัดสตางค์ซื้อฟิล์ม ประหยัดเวลา ถ่ายปุ๊บเห็นปั๊บ ไม่ต้องรอให้ฟิล์มหมดแล้วล้างรูปอัดรูปจึงจะเห็นภาพผลงานที่เราถ่าย กล้องดิจิตอลเห็นภาพได้ทันที ภาพไม่ดีลบทิ้ง ทำให้เราถ่ายได้จำนวนมากเท่าที่ต้องการ

 

แต่ถ่ายยังไงให้ดี ... กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ที่คนใช้กันเป็นกล้องคอมแพค หรือกล้องตัวเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ กล้องเหล่านี้จะมีระบบอัตโนมัติ และยังสามารถเล่นแบบธรรมดา ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงได้ หากยังชอบแบบ manual อยู่ ข้อดีของกล้องแบบนี้คือตัวเล็ก พกพาง่าย แต่ข้อเสียสำหรับเราคือมีน้ำหนักเบาเกินไป เวลาถ่ายเราไม่อาจวางกล้องในอุ้งมือแล้วแนบตาไปที่กล้องเหมือนกล้องรุ่นเก่า กล้องแบบนี้ต้องมองผ่านจอของกล้อง ซึ่งน้ำหนักที่เบานี้ทำให้กล้องไหวง่าย เมื่อกล้องไหว ก็ทำให้ภาพเบลอได้ง่าย จะแบกขาตั้งกล้องไปทุกที่ก็ไม่ไหว ยิ่งถ่ายในที่แสงน้อยๆ ยิ่งแล้วใหญ่ แต่ก็มีวิธีแก้ไขอยู่เหมือนกัน

 

รูปที่ยกมานี้ ถ่ายตอนเช้าตรู่ในป่าดิบชื้นบนดอยอินทนนท์ แสงน้อยมาก ทำตัวให้นิ่งยังไง มือและร่างกายเราไม่ใช่ก้อนหิน ยังไงก็ไหว เราแก้ไขด้วยการเปิด ISO ให้สูงขึ้น กล้องทุกตัวจะมีค่า ISO ให้เลือกตั้งแต่ 80 ไปจนถึง 1600 ของเราไปถึงถึง 3200

 

ค่า ISO คือค่าความสามารถในการรับแสงของฟิล์ม สมัยก่อนใช้กล้องฟิล์มจะมีฟิล์มให้เลือกหลายแบบ เช่น ฟิล์ม 100, 200, 400 เวลากลางวันแสงเยอะ ๆ เราใช้ฟิล์ม 100 แต่เวลามืด หรือกลางคืนเราใช้ฟิล์ม 400 เพื่อรับแสงได้มากขึ้น กล้องดิจิตอลก็ปรับโหมดนี้มาไว้ในระบบเช่นกัน แสงปกติเราตั้งค่า ISO ที่ 100 แต่ถ้าแสงน้อยๆ เราปรับตัวเลขให้มากขึ้น เพื่อให้กล้องรับแสงได้มากขึ้น ซึ่งตรงนี้จะสัมพันธ์กับความไวชัตเตอร์ ถ้าแสงมากชัตเตอร์เปิดและปิดอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้แสงเข้ามามากเกินไปจนทำให้ภาพขาวเว่อร์ ความเร็วชัตเตอร์เร็วนี้ก็ทำให้โอกาสที่จะจับภาพขณะมือสั่นไหวก็น้อย แต่ถ้าแสงน้อย ชัตเตอร์ก็จะเปิดเพื่อรับแสงในการจับภาพ และปิดลงมาช้าลง เพื่อให้แสงเข้ามามากพอสำหรับภาพ ตรงความช้านี่แหละถ้ามือสั่นภาพก็จะไหวเบลอ

 

การตั้งค่า ISO ให้สูงแบบนี้ เป็นการแก้ปัญหาของการถ่ายภาพในที่แสงน้อย และไม่มีขาตั้งกล้อง ถ้าถ่ายภาพวิวแบบนี้ แล้วมีขาตั้งกล้อง เราก็จะตั้งค่า ISO ให้ต่ำลงมาเหลือ 100 ก็จะได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าได้

 

ดีกว่ายังไง....ค่า ISO สูง ถ่ายออกมาก็จะเสียความละเอียดของภาพไปเยอะ ภาษาช่างภาพเรียกว่า noise เยอะ เราจะเห็นภาพมีเม็ดเล็ก ๆ อย่างชัดเจน แต่ถ้าค่า ISO ต่ำ ภาพจะละเอียดจนมองไม่เห็น noise

 

มีวิธีเล่นกับกล้องอีกเยอะ ไว้เราคุยกันไปเรื่อย ๆ ก็แล้วกันเน้อ...

 

 

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
  วันนี้ตั้งใจขับรถขึ้นไปที่ขุนช่างเคี่ยน เพื่อไปดูพญาเสือโคร่งประจำปีนี้ ตื่นหกโมงเช้า ฟ้ายังมืด อากาศหนาว ออกจากบ้านหกโมงครึ่ง แต่กว่าจะไปถึงแดดก็เริ่มแรงแล้ว รูปนี้ถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิว ก่อนถึงโค้งขุนกันต์ ดอยสุเทพ เห็นเส้นขอบฟ้าไกล ๆ ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง จึงเก็บฟ้าและเมืองได้ทั้งเมือง เชียงใหม่ยังมีมุมสวยอยู่
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาออกเดินทางอีกแล้ว ช่วงนี้ดอกพญาเสือโคร่งกำลังจะบาน ต้องตามข่าวกันทุกวันว่าบานถึงไหนแล้ว เพราะจะบานเพียง 7 วันเท่านั้น ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ตื่นสายไปนิด ไปถึงแปดโมงกว่า ๆ รู้สึกว่าแดดแรงไป ปีนี้คงต้องออกจากบ้านหกโมงเช้า     แดดแรงไปนิดนึงจริง ๆ แต่เก้าอี้ที่ไร้คนนั่ง คงไม่หนาวเหน็บเหมือนอากาศตอนนี้     ข้อดีของแดดจ้า ๆ ก็ทำให้ฟ้าเป็นสีฟ้า ดอกไม้สีชมพูเต็มต้น ตัดกับฟ้าสีฟ้าโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของช่างภาพ คือต้องวิ่งตามแสง โดยเฉพาะแสงเช้า     ดอกบ๊วย ขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ภาพนี้ใช้เลนส์ซูม ดึงเข้ามาใกล้…
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปห้องพักและอาหารให้กับเรือนคำอิน บ้านไม้สักทองทั้งหลัง มีห้องพักขนาดหรูหราเพียง 3 ห้อง และเป็นร้านอาหาร (อาหารพื้นเมืองรสชาติแบบคนเมืองแพร่) ปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี พี่นิดเจ้าของบ้านจึงลดราคาห้องพักลงมาแบบครึ่ง ๆ ภาพที่ยกมานี้เป็นห้อง living room ของหนึ่งในห้องนอนของบ้าน ราคาคืนละ 2500 บาท พร้อมอาหารเช้าไม่ได้โฆษณานะ แต่เผื่อใครหาที่พักในเชียงใหม่ ราคานี้ก็พอ ๆ กับโรงแรมในไนท์บาซ่า แต่สบายกว่ากันเยอะเลย ห้องสูธแพงกว่านี้พันนึง มีจากุชชี่ และห้องซาวน่าในตัวด้วยค่ะขอบอก เข้าไปหาข้อมูลในกูเกิ้ลได้ค่ะ
โอ ไม้จัตวา
  คราวที่แล้วเล่าเรื่องรีทัชสายไฟออกจากภาพ คราวนี้ลองมาเล่นที่ใบหน้า ลบรอยตีนกากันบ้างดีกว่า ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางก็สวยได้  
โอ ไม้จัตวา
สัปดาห์นี้ขอแนะนำวิธีรีทัชรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากโรคจิตของอิฉันเองที่ทนเห็นสายไฟรกรุงรังไม่ได้ ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือในภาพ มีใครเป็นแบบนี้มั่งไหมเนี่ย เห็นไม้แขวนเสื้อกองรวมกันยุ่ง ๆ หรือสายโทรศัพท์ สายไฟ สายอะไรก็ตาม พันกันยุ่ง ๆ แล้วจะรู้สึกใจคุกรุ่นขึ้นมาเหมือนมีคนยั่วโมโห ทนไม่ได้ต้องนั่งคลาย ๆ ๆ ๆ
โอ ไม้จัตวา
โดยส่วนตัวแล้วเราโตมากับห้องมืด ตอนเด็ก ๆ ข้างบ้านเป็นร้านถ่ายรูป ฝึกล้างอัดรูปในห้องมืดที่โรงเรียน เข้ามหาลัยก็เข้าชมรมโฟโต้ ก็ได้เล่นห้องมืดต่ออีกนิดหน่อย เมื่อไม่นานมานี้ไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อน บ้านที่อยู่ในรั้วเดียวกันก็ยังเป็นห้องมืดให้นักศึกษาเช่าทำงานล้างอัดรูป ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับห้องมืด และภาพขาวดำ (ว่าไปก็น่าทำห้องมืดไว้เล่นเองเหมือนกันนะ)  
โอ ไม้จัตวา
ภาพนี้ถ่ายด้วยความโลภ ฟ้าก็อยากได้ ก้อนเมฆก็อยากได้ ใช้เลนส์ไวด์หรือเลนส์สำหรับถ่ายภาพให้ได้มุมกว้างถ่าย เวลาขณะนั้นประมาณเที่ยง ฟ้าสีฟ้า เมฆเต็มฟ้า แดดจัดมาก ถ้าวัดแสงที่ก้อนเมฆ ข้างล่างจะมืด ถ้าวัดแสงที่ข้างล่างก้อนเมฆจะจ้ารายละเอียดหายไปเลย  
โอ ไม้จัตวา
คราวนี้ไม่ค่อยกล้าทุบกล้องเท่าไรนัก เพราะใช้ Nikon D70 ถ่ายอาหาร โดยใช้เลนส์ Macro (อ่านว่า มาโคร) คือเลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุในระยะประชิดระดับ 1 เซ็นได้ พวกงาน close up ทั้งหลายมักใช้เลนส์ หรือโหมดมาโครนี้ในกล้องดิจิตอล ที่มีวิธีดูง่าย ๆ คือ ปุ่มที่เป็นเครื่องหมายรูปดอกไม้ในตัวกล้อง นั่นคือปุ่มมาโคร สำหรับถ่ายดอกไม้ใกล้ ๆ ถ่ายมด ถ่ายขี้จิ้งจก หรือถ่ายอาหารอย่างวันนี้เป็นต้น
โอ ไม้จัตวา
  คราวนี้ยกแมวที่มีสีสันตัดกันอยู่ในตัวมาให้ดู แมวที่มีสีขาว และดำ อยู่ใกล้กันแบบนี้ เวลาถ่ายภาพจะต้องระวังการวัดแสง เพราะถ้าวัดแสงที่สีดำ ส่วนที่เป็นขาวก็จะจ้าจนความละเอียดหายไป ควรวัดแสงตรงสีที่เป็นกลาง ๆ เช่นสีน้ำตาลเป็นต้น ก็จะได้ภาพที่มีสีและแสงพอดี
โอ ไม้จัตวา
ติดพันจากแมวคราวที่แล้ว ตอนทำรูปก็พบว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยากนักในการปรับภาพในโปรแกรมโฟโต้ช็อปเอามาแนะนำกัน ภาพที่เราถ่ายนั้นบางครั้งองค์ประกอบของภาพก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เราสามารถใช้คำสั่ง crop ในโฟโต้ช็อปได้ หรือคลิ้กที่เครื่องหมายที่เราทำลูกศรสีแดงชี้ไว้ แล้วลากที่ภาพ สร้างกรอบภาพขึ้นมาใหม่ จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดูภาพเต็มคือทั้งหมด เมื่อเราลาก crop ส่วนที่เป็นแถบสีดำรอบ ๆ ภาพ กรอบเล็กจะหายไปเมื่อเราดับเบิ้ลคลิ้ก
โอ ไม้จัตวา
“ถ่ายภาพเด็กกับสัตว์ให้โฟกัสที่ตา” ออกจากห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพที่โรงเรียนเมื่อสมัยอยู่ม.3 แล้วก็ไม่เคยเข้าห้องเรียนถ่ายรูปที่ไหนอีกเลย เคยเข้าไปเล่นเองบ้างก๊อกแก๊กในห้องอัดของชมรมถ่ายภาพในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้มีโอกาสหมกตัวอยู่ที่สวนทูนอิน บ้านพักของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นบางช่วง และมีโอกาสเดินถ่ายรูปดอกไม้ยามเช้าในสวนทูนอิน ประโยคที่ยกมาข้างบนนั้นคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ พูดขึ้นมา (จะเรียกว่าสอนก็น่าจะได้) เมื่อชี้ให้ดูภาพแมวที่เขาถ่ายและใส่กรอบติดไว้ที่ผนังบ้าน    
โอ ไม้จัตวา
  แสงแดดมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพอย่างยิ่ง เพราะเป็นแสงจากธรรมชาติ ทำให้ภาพมีมิติ มีเงา แต่ก็ต้องเลือกเวลาเช่นกัน อย่างที่บอกในชื่อเรื่องว่า แสงแรกและแสงสุดท้าย แสงแรกนั้นคือ แสงแดดยามเช้าจนถึงสาย ๆ น่าจะประมาณ 8.30 น. และแสงสุดท้ายของวัน คือประมาณ 4-5 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่พอดีที่สุดในการถ่ายภาพ