Skip to main content

องค์ บรรจุน


หลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า

"ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)
"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)
"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)
"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)

แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า
"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)

ความจริงสำนวน "เสียข้าวสุก" นั้นก็เจ็บหนักเอาการอยู่ เพราะหลวงพ่อมักจะเปรียบเอากับสุนัข แต่ลึกๆ แล้วผมกลับรู้สึกว่าสำนวน "ข้าวสุกไม่มียาง" นี้มันช่างกรีดลึกไปถึงขั้วหัวใจ เพราะการเนรคุณนั้นไม่ว่าคนชาติไหนภาษาไหนก็ถือสาด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็อย่างว่าแหละ ต่างคนก็ต่างมีมาตรฐานสัมผัสความหนาที่ต่างกัน เลยไม่รู้ว่าสำนวนเดียวกันนี้จะสามารถใช้ได้กับบรรดาตำรวจ และ กอ.รมน.ที่มาตะโบมกิน "ข้าวสุก" ที่ทางวัดและชาวชุมชนมอญคลองสิบสี่ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ หุงหาเอาไว้รองรับแขกที่มาจากจังหวัดใกล้ไกลจนหมดในพริบตา (๓ หม้อแขก) เสร็จแล้วกระจายกำลังเข้มงวดตรวจตราทางเข้าออก ขอตรวจบัตร จนชาวบ้านปั่นป่วนขนลุกขนพองได้หรือไม่

งานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๒ ประจำปี ๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๗-๘ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ร่วมกับสำนักงานเขตหนองจอก และชุมชนมอญคลองสิบสี่ ได้เกิดปรากฏการณ์อำนาจรัฐรังแกประชาชนขึ้นอีกครั้ง เมื่อตำรวจและ กอ.รมน.ยกกำลังพลมากันมาเกินกองร้อย ไม่ทราบว่าเขาต้องการให้ชาวบ้านกลัว หรือเขากลัวว่าชาวบ้านจะไม่กลัว และมันก็ได้ทำให้ชาวบ้านร้านตลาดต่างตื่นตระหนกกันลนลาน

  

 

วัตถุประสงค์ของคณะผู้จัดงานก็เพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศ (ราว ๓๕ จังหวัด) แต่งกายในชุดมอญตามวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ทานอาหารมอญร่วมกัน ชมการแสดงจากชุมชนมอญหลากหลายลุ่มน้ำ เลือกซื้อสินค้าพื้นบ้านมอญ และหัวใจสำคัญของการจัดงานก็คือ ร่วมกันทำบุญอุทิศกุศลแด่บรรพชนมอญผู้ล่วงลับ เสร็จแล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมัน ไม่มีใครจะลุกขึ้นมาจับหอกจับดาบไปสู้รบกับหน้าไหนทั้งสิ้น


 

ตั้งแต่เย็นวันที่ ๖ ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกอ.รมน.มาสอบถามคณะกรรมการจัดงานอย่างเอาเป็นเอาตาย ต้องการรู้รายละเอียดในการจัดงานทั้งหมด ขอจองเต้นท์พิธีที่เจ้าภาพเตรียมไว้หนึ่งเต้นท์ อ้างว่าเพื่อตั้งกองอำนวยการดูแลรักษาความปลอดภัย สถานที่ก็เลือกเอาตรงบริเวณหน้าเวที เพราะต้องการดูแลอย่างใกล้ชิด เรียกหาบอร์ดจากผู้จัดงาน ติดแผนผังทางเข้าออกวัดเพื่อตั้งด่านสะกัดตรวจตราผู้คนเข้าออก


เช้าตรู่วันที่ ๗ ฟ้ายังไม่ทันสางดี ได้ยินเสียงใครต่อใครรอบบริเวณวัดวิพากษ์วิจารณ์กันเซ็งแซ่ ด้วยมีเจ้าหน้าที่ "ในชุดดำ" เดินสำรวจตรวตรากันเต็มลานวัด ข้อตกลงที่เจ้าหน้าที่มีกับท่านเจ้าอาวาสวัดและคณะกรรมการจัดงานก่อนหน้านี้ก็คือ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลจำนวนหนึ่ง แต่จะไม่จับกุมตรวจค้นผู้ที่ไม่ได้ทำผิดกฏหมาย แต่เอาเข้าจริงกลับส่งกำลังมาร่วมสองร้อยนาย ตรวจค้นไม่เลือกหน้า จนคณะกรรมการต้องประสานกับกรรมการชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ใหม่ขอให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติจากพื้นที่ข้างเคียง (ที่มีบัตรถูกต้องและไม่ได้ข้ามเขต) เข้ามาร่วมงานด้วย ซึ่งแรงงานข้ามชาติชาวมอญที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงนั้นต้องการเพียงเข้าร่วมกิจกรรม ด้วยเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญอุทิศกุศลแด่บรรพชน ได้กินอาหาร แต่งกาย ชมการแสดง และพบปะสังสรรค์สนทนากับคนมอญด้วยกัน เป็นการเติมเต็มชีวิตแรงงานที่ไกลบ้าน แต่เมื่อทางการหวาดระแวงว่าจะเป็นการรวมตัวทำเรื่องเสียหาย ปลุกระดมกู้ชาติ อันจะทำให้เสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและพม่า จึงทำให้แรงงานข้ามชาติชาวมอญพากันหวาดกลัว นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงชาวไทยเชื้อสายมอญที่เดินทางมาร่วมงานต่างก็ถูกตรวจค้น และเมื่อมาถึงบริเวณงานแล้วเห็นเจ้าหน้าที่จำนวนมากเดินกันขวักไขว่ก็ยิ่งทำให้พวกตื่นตกใจ เนื่องจากมีเจ้าหน้าจำนวนมากเดินปะปนอยู่ในหมู่ผู้มาร่วมงาน


สิ่งที่เป็นความเดือดร้อนของเจ้าภาพชุมชนมอญคลองสิบสี่ครั้งนี้ก็คือ เจ้าหน้าที่จำนวนมากที่มาตั้งแต่เช้าตรู่ พากันเข้ามาในโรงครัวที่ชาวบ้านจัดอาหารไว้สำหรับถวายพระสงฆ์ คณะกรรมการจัดงาน และคนมอญที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด อาหารจำนวน ๓-๔ หม้อแขกจึงหมดลงอย่างรวดเร็ว (๓ มื้อ ๒ วัน) โดยที่ชาวบ้านไม่สามารถว่ากล่าวทำอะไรได้ ต้องจำก้มหน้าหุงข้าวต้มแกงกันขึ้นใหม่ และภายหลังที่เจ้าหน้าที่เหล่านี้จัดการอาหารเสร็จก็ออกไปตั้งด่านตรวจค้นชาวบ้าน "ตามหน้าที่"


คนมอญไม่เคยหวงข้าวปลาอาหาร ใครถึงเรือนชานยินดีต้อนรับ การที่เจ้านายส่งลูกน้องมาตรวจตราก็ควรส่งมาแต่เท่าที่จำเป็น ใช่ระดมกำลังกันมาดังกวาดล้างอาชญากรข้ามชาติ เงินเดือนที่กินใช้อยู่นั่นก็มาจากภาษีที่ชาวบ้านเสียให้รัฐทุกบาททุกสตางค์ และยิ่งเมื่อส่งกองกำลังมาแล้วก็ควรเบิกเบี้ยเลี้ยงให้ลูกน้องด้วย ไม่ควรปล่อยให้อดอยาก จนต้องมาปล้นเสบียงกรังชาวบ้านกินซึ่งหน้า กินกันมูมมามเกินอิ่ม ผู้มาร่วมงานคนใดเดินผ่านโต๊ะอาหารและสงสัยว่าเป็นต่างด้าวผิดกฏหมายก็เรียกขอตรวจบัตรอย่างไม่ให้เกียรติ์.....ศักดิ์ศรีของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมันอยู่ตรงไหนกัน


สำนวนที่ว่า "ข้าวไม่มียาง" นั้นยังใช้ได้อยู่หรือไม่กับคนที่ไม่รู้จักคุณคน?

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…