<p><strong>ลักษ์ไท รักษ์มอญ</strong><br /><br />โดยภูมิศาสตร์รัฐชาติและหลักนิติศาสตร์ ระบุว่าฉันเป็นพลเมืองไทย<br />แม้ว่าฉันจะมีประวัติศาสตร์ มีบรรพชนอพยพมาจากเมืองมอญ (ประเทศพม่า) เมื่อหลายร้อยปีก่อน<br />ไม่เพียงสำนึกภายในเท่านั้นที่บ่งบอก<br />ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมในวิถีชีวิตของฉันยังเป็นมอญ<br />ฉันเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ และคนอย่างฉันมีอยู่มากมาย<br />ฉันมีรูปลักษณ์เป็นไทย แต่จิตใจยังซึมซับรากเหง้า ต้องการสืบสานมรดกบรรพชน<br />ไม่ต่างจากเพื่อนคนไทยเชื้อสายอื่นๆ<br />(ประเทศที่รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยแห่งนี้ ไม่น่าจะมีคนไทยแท้ ที่ไม่มีเชื้อชาติอื่นใดปะปน)<br />ซึ่งต่าง แต่...ไม่แตกต่าง<br />และฉัน มีเรื่องเล่ามากมายมาฝากทุกคน</p><p>&nbsp;</p><p><strong>ผู้เขียน</strong></p><p><strong>องค์ บรรจุน</strong><br />ประธานชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ (ชาวไทยเชื้อสายมอญจังหวัดสมุทรสาคร) <br />บรรณาธิการวารสารเสียงรามัญ<br />นักวิจัยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล<br />นักออกแบบผลิตภัณฑ์ <br />นักเขียนอิสระ </p><p><strong>สุกัญญา เบาเนิด</strong><br />เลขาธิการชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ (ชาวไทยเชื้อสายมอญจังหวัดสมุทรสาคร) <br />คอลัมนิสต์วารสารเสียงรามัญ<br />นักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ศึกษาวิจัยเรื่องพิธีกรรมศพของวัฒนธรรมทุ่งกุลาและโบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้) <br />นักมานุษยวิทยา (วิทยานิพนธ์เรื่อง &quot;การสร้างอัตลักษณ์ของคนมอญย้ายถิ่น: ศึกษากรณีแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร) </p><strong>ภาสกร อินทุมาร</strong><br />เพื่อนชาวไทยเชื้อสายมอญ (ชาวไทยเชื้อสายจีน + ยวน จังหวัดสุพรรณบุรี) &nbsp;<br />คอลัมนิสต์วารสารเสียงรามัญ<br />นักการละคร<br />และนักเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม<br /><br /><br /><strong><p>ขนิษฐา คันธะวิชัย<br />เพื่อนชาวไทยเชื้อสายมอญ (เป็นคนไทยธรรมดาๆ ที่เลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรือ1 กันทั้งบ้าน มีแม่เป็นคนเมี่ยน พ่อเป็นคนเมือง)คอลัมนิสต์วารสารเสียงรามัญ<br />ร่ำเรียนมาทางมานุษยวิทยา ต่อด้วยพัฒนามนุษย์และสังคม ปัจจุบันกำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางวิชาการด้านชาติพันธุ์และด้านการพัฒนาในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง</p></strong>

บล็อกของ ong

กระต๊าด กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบมอญ

26 May, 2009 - 11:56 -- ong

 

องค์ บรรจุน

 

คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบ

บ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก

คนไทยแท้บ้านหนองขาว

27 April, 2009 - 00:00 -- ong


องค์ บรรจุน

หลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า



"ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."

ธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ

11 April, 2009 - 00:00 -- ong

 

องค์ บรรจุน

ธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น

ถุงผ้าทำให้โลกร้อน

27 March, 2009 - 13:16 -- ong


ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม

คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่

ข้าวไม่มียาง

12 March, 2009 - 00:00 -- ong


องค์ บรรจุน


หลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า

"ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)
"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)
"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)
"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)

แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า
"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)

มอญร้องไห้ ทำไม?

20 February, 2009 - 00:00 -- ong

องค์ บรรจุน

"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?

ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใด

มอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ เพราะเคยสัมผัสคลุกคลีมาก่อนเมื่อตอนยังมีลมหายใจ โดยผู้ร้องจะร้องเป็นภาษามอญ และต้องใช้ปฏิภาณกวี คิดคำรำพันคล้องจองให้สัมผัสลงตามทำนองดั้งเดิม เนื้อหาที่ร้องนั้นจึงไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตายเป็นใคร เคยประกอบคุณงามความดีอะไรเอาไว้บ้าง รูปแบบมอญร้องไห้ของแท้นั้นเรียบง่าย แต่กินใจ ได้เนื้อความเฉพาะผู้ตายเป็นรายๆ ไป ต่างจากมอญร้องไห้ของกรมศิลป์ที่ประยุกต์เสียใหม่ รูปแบบหรูหราอลังการ สะเทือนอารมณ์รุนแรง (ออกแนวผู้ดีเสียของรักอยู่สักหน่อย) ทว่าติดกับดัก "มาตรฐาน" จะฟังกี่งานๆ เนื้อหาก็เหมือนกันเป๊ะ

มอญแย่งศพ

8 February, 2009 - 00:00 -- ong

องค์ บรรจุน

สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน แนบเนียนเสียจนคนมอญรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งอาจหลงลืมไปแล้ว

วัฒนธรรมประเพณีมอญล้วนมีที่มาที่ไปด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่คนเก่าเมื่อก่อนไม่ได้บอกเล่าหรืออธิบายกันตรงๆ เป็นแต่ทำกุศโลบายให้ลูกหลานปฏิบัติตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี อนุชนรุ่นหลังจึงไม่เข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีของตนถ่องแท้ รู้แต่เพียงว่าเคยเห็นปู่ย่าตายายปฏิบัติสืบต่อกันมาก็ปฏิบัติสืบต่อกันไป หรือไม่ก็เห็นเป็นขบขัน เลิกล้มกันไป โดยไม่รู้ที่มา รวมทั้งมองไม่เห็นปริศนาธรรมที่ปู่ย่าตายายได้บรรจงแฝงแง่คิดเอาไว้ในพิธีกรรมเหล่านั้น หนึ่งในพิธีกรรมที่เข้าใจยากเหล่านั้น ได้แก่ พิธีแย่งศพ

แรงงานต่างด้าวทรัพยากรมนุษย์ที่ไร้ค่า ไม่น่าไว้ใจ แต่ต้องกอบโกย

15 January, 2009 - 00:00 -- ong

...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”

ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”

พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”

“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”

พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”

ฯลฯ


ข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก และที่สำคัญคือ เป็นวัตถุแรงงานไม่มีชีวิต ดังในประโยคที่ว่า “ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ” ไม่แน่ใจว่าความคิดที่แปรปรวนของคนไทยนั้นมันเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ตั้งแต่คนไทยมีบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์แบบหลวงวิจิตรวาทการหรือไม่ เพราะในแบบเรียนสมัยนั้นเขียนให้คนไทยเป็นพระเอกถูกพม่าเผาเมือง “พม่าทุกคน” จึงเป็นผู้ร้ายในสายตาคนไทยตลอดกาล ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวและเขมรนั้น ยังคงรักกันดีบ้านพี่เมืองน้อง แต่ไทยขอเป็นพี่ เราทำเป็นลืมว่าได้เคยไปเผาบ้านเผาเมืองลาวและเขมรไว้ด้วยเช่นกัน คนไทยเลือกที่จะจดจำเพียงว่า ไทยสูญเสียลาวและเขมรให้ฝรั่งเศส จริงหรือที่ว่าเราสูญเสีย แท้จริงแล้ว “เราไม่ได้มาต่างหาก”

มอญสามย่าน

30 December, 2008 - 00:00 -- ong

ขนิษฐา คันธะวิชัย

 

 

ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า

 

คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ”


ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ อาระกัน ฯลฯ คือมีความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ข้างใน เพียงแต่โดนอัตลักษณ์ความเป็นรัฐชาติพม่าทับไว้ ซึ่งทั้งหมดนี้ฉันได้ตระหนักจากการลงภาคสนามที่จังหวัดสมุทรสาคร จำได้ว่าครั้งนั้นฉันและเพื่อนไปช่วยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นทำ pilot แบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงานของเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งเวลาถามแบบสอบถามต้องใช้ล่ามภาษามอญเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้เพื่อนของฉันอีก 3 คนยังมีโอกาสไปลงภาคสนามเพื่อดูประเด็นเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติที่สมุทรสาครอีกด้วย แต่เวลานำมารายงานในห้องเรียน เพื่อนร่วมชั้นก็ยังเรียกเขาว่า “แรงงานพม่า” อยู่ดี เพื่อความสะดวกปาก

เกล้าห่มพันกายสไตล์สาวมอญ

18 November, 2008 - 00:00 -- ong

องค์ บรรจุน

 

เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น ในเพศชายอาจใช้การกระทำคำพูดโน้มน้าว ส่วนเพศหญิงนั้นหากทำประหนึ่งว่าสนใจเพศตรงข้ามแล้วก็จะถูกมองว่า "ให้ท่า" ผิดก็ตรงที่เกิดเป็นหญิง ถูกสังคมวางบทบาทไว้ให้แล้วนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ศิลปะต่างยุค ความงามในแต่ละบริบทสังคมย่อมแตกต่างกันต่างกันไป ขึ้นกับสายตาที่มองและตัดสินความงามนั้นด้วยใจ ดังศิลปะในยุคเรอเนซองซ์ มองว่าหญิงที่งามนั้นต้องอวบอั๋น มีน้ำมีนวลเหมือนนางเอกเรื่อง ไททานิค แต่มาในยุคปัจจุบันกลับมองว่าขนาดนั้นอ้วนไป นางแบบวันนี้ต้องหุ่นเพรียว เอวกิ่ว อกแบน เช่นเดียวกับสาวจีนในอดีตก็ต้องมัดเท้า ยิ่งเล็กยิ่งดี ดูจุ๋มจิ๋มน่ารัก แสดงถึงความเป็นผู้ดี ถูกใจชายหนุ่ม หากเท้าโตจะหาสามียาก ส่วนสาวชาวเมี่ยน (เย้า) ทุกคนต้องถอนขนคิ้วออกเหลือเพียงบางๆ จึงจะได้ชื่อว่างาม ไม่ต่างจากสาวเผ่ากะเหรี่ยงคอยาว (ปาดอง) หากมีรอบห่วงที่พันคอมากเท่าใดก็ยิ่งเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มมากเท่านั้น

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ ong