Skip to main content


 

ชื่อภาพ      อรุณไรที่ไร่ผาแดง
สถานที่ บ้านแม่ป๋าม ต.ปิงโค้ง  อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
เทคนิค        สีน้ำบนกระดาษ
ขนาด          ๒๔+๓๒ ซ.ม.
ภาพโดย    พิบูลศักดิ์  ละครพล 
 

 
 

 
 

 
  

ในบรรดาสัตว์ๆทั้งหลายในบ้านปีกไม้หุบผาแดง ผมต้องยกให้ ‘ข้าวก่ำ’ มันเป็นพระเอกของเรื่องเลยละ
เพราะแต่ละคนที่มาเยือนจะต้องเจอกับความซน ความซื่อ ความดื้อและความฉลาดของมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

แน่ละ มันชอบเล่นบทปล้ำแบบแรงๆ ด้วยความตัวใหญ่ล่ำของมัน หลายต่อหลายครั้งจึงถูกมันหยอกเย้าจนหน้าหงาย บ้างถูกมันงับท่อนแขนเล่น มันสนุกแต่เราเจ็บ หรือไม่จะเห็นมันชอบงับ หรือ อมหัวเจ้าเหมียวแมวลายเพื่อนต่างพันธุ์โชว์ให้เราดู เหมือนจะบอกทุกคนว่า- -เพราะรักดอกถึงหยอกงับ 

วันก่อน ผมเห็นข้าวก่ำแอบคาบกระดูกไปซ่อนไว้ในโพรงดินหน้าบ้าน มันใช้เท้าหน้าตะกุยดิน ขุดหลุม แล้วคาบกระดูกลงไป ใช้ปากดุนดินกลบไปมาสองสามที ก่อนมันจะลุกยืนหันซ้ายแลขวา เหมือนว่านี่คือขุมทรัพย์อันล้ำค่า คือหลุมความลับที่ไม่ต้องการให้ใครรู้เห็น ก่อนจะวิ่งมาป้วนเปี้ยน หยอกล้อเจ้าปีโป้ หมาน้อยอีกตัวหนึ่งดังเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ครั้นพอได้จังหวะทีเผลอ มันกลับงับกระดูกไปจากปากปีโป้ไปแทะอย่างหน้าตาเฉย 

ผมยืนอยู่หน้าระเบียงเงียบๆ และเห็นความฉลาดแกมโกงของเจ้าข้าวก่ำ ซึ่งมักมีให้เห็นอยู่เนืองๆ และทำให้ผมอดหัวเราะไม่ได้ 

ถ้าคุณอยากรู้กิตติศัพท์ของเจ้าข้าวก่ำ  ลองอ่านงานที่พี่ปอน ‘พิบูลศักดิ์ ละครพล’ เขียนถึงในบางบทบางตอนดูสิ, 
 

 ...หมาแสนรู้ชื่อข้าวก่ำ เดินอาด ๆ ผ่านหัวข้าพเจ้าขึ้นไปปลุกเจ้าของบ้าน “ภู-ภู..”สาบาน, ข้าพเจ้าได้ยินสุนัขขานชื่อเจ้าของ พร้อมเคาะประตูห้องนอน  เมื่อวานเย็นก็ทีแล้ว มันช่วยเจ้าของคาบหัวปลีมาจากหุบไร่ วางไว้หน้าหม้อแกงเดือดปุด และเอ่ยเอื้อน “น่าอร่อย ๆ”

ข้าพเจ้าเย้าเจ้าของบ้านว่า  ถ้าหมาพูดได้มากกว่าจินตนาการ ชีวิตนายคงไม่ต้องกินแกงส้มหัวปลีใส่ปลากระป๋อง “ครับเจ้านาย สิ่งเดียวที่ผมทำไม่ได้คือการเป็นนักเขียน” เหมือนเจ้าข้าวก่ำจะรู้ว่าถูกนินทา มันจ้องหน้าข้าพเจ้าและพูด

พระเจ้า มันยกขาหน้าพาดราวระเบียงเบิ่งชมอรุณไรเลียนแบบเจ้าของ ข้าพเจ้าอดขำไม่ได้ ว่าที่ผู้จัดการสุนัขมนุษย์อุ่นเครื่องโชว์ทีวี เขาลงไปนอนบนเก้าอี้ไม้ สุนัขกระโดดขึ้นไปนอนหนุนตักออเซาะ เรียกเสียงหัวเราะจากข้าพเจ้า

บ้านปีกไม้ใต้ผาแดงมีสุนัขสองแมวหนึ่ง  หมาน้อยหน้ายุ่งสีกะปินั้นชื่อปีโป้ เป็นพันธุ์ปนเประหว่างชิสุกับพุดเดิ้ล ต่างจากเจ้าข้าวก่ำ ขนสีดำตัวน้องๆหมี  มีเชื้อผู้ดีอังกฤษนอกคอกลาบาดอร์และโกลเด้นท์ ส่วนเจ้าแมวพื้นเมืองชื่อเหมียว เชี่ยว-แสนรู้และกลมเกลียวกันดีหน้าขนสองตัว ยกเว้นกับนังปุกกี้ คู่สวาทของเจ้าข้าวก่ำ ถ้ามันข้ามมาให้ท่าข้าวก่ำเมื่อไหร่ นังเหมียวเป็นได้ขู่ฟ่อและฝากรอยเล็บไว้เป็นที่หมั่นไส้ออกบ่อย

น่าจะเป็นเหตุเข้าพระเข้านางนี้กระมัง เจ้าหมาปีโป้ตัวกะเปี๊ยกมีนิสัยพิลึก ชอบขึ้นขย่มนังเหมียว ราวกับว่ามันเป็นหมาหน้าตาเฉย

ข้าพเจ้ารู้สึกถึงความมีชีวิต-ชีวา ของบ้านน้อยเชิงดอยผาแดงฯลฯ  

(พิบูลศักดิ์  ละครพล ‘ผาแดง แสงดาว และข้าวก่ำ’
คอลัมน์ผ่านตามาตรึงใจ, กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ 24 ม.ค.2553)

 

ทุกเช้า ขณะผมเดินอ่อยข้าวให้ไก่บนลานดินหน้าบ้าน ไก่พันธุ์ไข่สีขาวตัวอวบอ้วนจะวิ่งมาก้มจิกกินอาหารอย่างสบายใจ เจ้าข้าวก่ำชอบเดินเข้าไปใกล้ฝูงไก่ ใช้จมูกฟุดฟิดๆ ดมๆ เหมือนจะหอมแก้มไก่เบาๆ ทำให้ผมรู้สึกได้เลยว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อมันเติบโตมาในสถานที่เดียวกัน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมในแห่งหนเดียวกัน มันจะผูกพัน รักกัน และไม่ทำร้ายกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งแตกต่างกับคนเรา... 

ข้าวก่ำ ผมเลี้ยงมันมาตั้งแต่มันเท่าตัวตุ่น เผลอผ่านไปเพียงขวบปีมันโตเท่าหมีดีๆ นั่นเอง แต่มันไม่เคยดุร้าย ทำร้ายใคร แต่มีบ้างที่หมาในหมู่บ้านชอบข่มและขู่มัน เวลาเดินลงดอยไปตามถนนในชุมชน เมื่อหมารุมทำร้ายมัน มันหันมาสู้ ขู่กรรโชกด้วยน้ำเสียงคำราม จนหมาบ้านต้องผงะถอยไม่เป็นขบวนเหมือนกัน 

เวลาผมไม่อยู่บ้าน เมื่อกลับมาทีไร มักได้ยินชาวบ้านเล่าขานถึงมันออกบ่อย...
“มันไปกำราบหมาเจ้าถิ่นละแวกสนามกีฬาหมู่บ้านจนอยู่หมัดแล้ว”

และหลายครั้ง  ที่มันยืนเอาขาหน้าเกาะขอบกระบะรถผม เมื่อขับเคลื่อนผ่านไปในชุมชน มันชอบเห่ายั่วล้อหมาชาวบ้านให้โกรธและวิ่งไล่ตามเห่ากันดังลั่นหัวซอยท้ายซอย เสียงเห่าของมันนั้นเหมือนจะบอกว่า แน่จริงก็วิ่งไล่สิโว้ย...หรือไม่คงบอกว่า เห่าอยู่บนรถ สบายกว่า ไม่ต้องเจ็บตัว ประมาณนั้น 

ผมชอบภาพข้าวก่ำ นั่งมองเขาเขียนรูปสีน้ำอยู่เงียบๆ  ใต้ร่มเงาไม้
และผมชอบภาพขณะเขากำลังเตรียมตัวออกเดินทางกลับในวันนั้น...

ข้าวก่ำเดินมาส่งถึงหน้าประตูรถ  นั่งมองเขาเงียบๆ ด้วยดวงตาละห้อยเหมือนอาลัยและบอกว่า...
“แล้วมาใหม่นะ”

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ผมกลับมานั่งในบ้านปีกไม้ในหุบผาแดง นิ่งมองภาพเก่าๆ ของพ้อเลป่า สลับกับภาพครั้งสุดท้ายของเขาก่อนจะละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา
ภู เชียงดาว
เดาะ บื่อ แหว่ ควา สี่ จื้อ เนอ มู้ โข่ ลอ ปก้อ เฉาะ ถ่อ เจอพี่น้องประสานนิ้วมือฟ้าถล่มช่วยกันค้ำไว้ โถ่ ศรี ซี้ เล้อ แหม่จอ ป่า ซี้ ด่า แคนกยูงตายเพราะขนหางขุนนางตายเพราะเชื่อคนยุยง
ภู เชียงดาว
  ที่มาภาพ : www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=308.105เมื่อเราพูดถึงเรื่อง การพัฒนาและความเจริญ ที่คนส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปทางนั้นอย่างไม่ลืมหูลืมตา และมันกำลังรุกคืบคลานเข้ามาในวิถีบนบ้านป่าบ้านดอยอย่างต่อเนื่อง
ภู เชียงดาว
ผมหยิบงานที่ผมเขียนถึง ‘พ้อเลป่า' ปราชญ์ปกากะญอขึ้นมาอ่านอีกครั้ง หลังทราบข่าวจาก ‘หญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง' ว่า ‘พ้อเลป่า' เสียชีวิตอย่างสงบแล้วเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา... ก่อนที่ผมและเพื่อนกำลังออกเดินทางไปบนทางสายเก่า สายนั้น...
ภู เชียงดาว
                          (๑) หอมกลิ่นภูเขาล่องลอยโชยมาในห้วงยามเย็นฉันยืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้านปล่อยให้สายแดดสีทองส่องสาดกายมองไปเบื้องล่าง- -ท้องทุ่งแห่งชีวิตยังเคลื่อนไหวไปมา ไม่หยุดนิ่งในความหม่นมัว ในความบดเบลอฉันมองเห็นภาพซ้อนแจ่มชัด แล้วเลือนราง
ภู เชียงดาว
ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตในเมืองนั้นคงเหน็ดหน่ายและเหนื่อยหนักจากการงาน ชีวิตหลายชีวิตอาจถูกทับถมด้วยภาระหน้าที่อันหนักอึ้ง ยังไม่นับนานาปัญหาที่เข้ารุมสุมแน่นหนาอีกหลายชั้น จนดูเหมือนว่าชั่วชีวิตนี้คงยากจะสลัดให้หลุดพ้นไปได้ ที่ผมพูดเช่นนี้เพราะครั้งหนึ่งตัวผมเองเคยเอาชีวิตไปวางไว้อยู่ในเมืองนานหลายปี แน่นอน ใครหลายคนในสังคมเมืองจึงชอบเอา ‘การเดินทาง' เป็นหนทางเดียวที่จะหลุดพ้นออกจากกงล้อแห่งการงานนั้นได้ และมักเอาช่วงสิ้นปีหรือวันปีใหม่ เป็นวันแห่งการปลดปล่อย ในขณะที่ตัวผมนั้น กลับไม่ได้เดินทางไปไหนเลย ยังมีชีวิตแบบวันต่อวัน อยู่กับปัจจุบันขณะ ในหุบเขาผาแดงแห่งนี้
ภู เชียงดาว
ผมไม่รู้ว่าในช่วงชีวิตหนึ่งของคนเรา จะมีสักกี่คนสามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้กี่ครั้งกี่หนกันแน่นอน ความฝันใครบางคนอาจเกลื่อนกล่น ความฝันใครหลายคนอาจหล่นหาย ใครหลายใครอาจมองว่าความฝันคือความเพ้อฝัน ไกลจากความจริง แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายๆ คน ไม่เคยละทิ้งความฝันพยายามฟูมฟักความฝัน กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู แม้บ่อยครั้งอาจอาจเหนื่อยหนัก เหน็ดหน่าย กว่าจะทำให้ความฝันนั้นกลายเป็นจริงได้...เหมือนชายคนนี้...ที่ทำให้ฝันหนึ่งนั้นกลายเป็น ความงาม และความจริง... ผมมีโอกาสเดินทางไปเยือน เวียงแหง อำเภอเล็กๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ติดกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งผมเคยบันทึกไว้ว่า เป็นดินแดนหุบเขาที่มีชีวิต…
ภู เชียงดาว
ผมรู้แล้วว่า วิถีคนสวนกับคนเขียนกวีนั้นไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ต้องฝึก ทดลอง เรียนรู้ ลงมือทำ ทุกวัน ทุกวัน และแน่นอนว่า เมื่อลงมือทำแล้ว เราจำเป็นต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เติมความรักความเอาใจใส่ลงไปอย่างต่อเนื่อง (ถ้าไม่อย่างนั้น พันธ์พืชที่เราหว่านลงไปอาจเฉาเหี่ยวแห้งไป หรือไม่ผืนดินอันอุดมก็อาจแข็งด้านดินดานไปหมด) หลังจากนั้น เรายังต้องอดทนและรอคอยให้มันออกดอกออกผล กระทั่งเราสามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิตที่งอกเงยในบั้นปลายได้ ทุกวันนี้ ผมยังถือว่าตนเองเป็นเพียงคนสวนมือใหม่ และเป็นคนฝึกเขียนบทกวีอยู่เสมอ ทุกวัน หลังจากพักงานสวน ผมจะลงมือเขียนบทกวี โดยเฉพาะในยามนี้…