Skip to main content

1.

ฤดูหนาว...
เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกชื่นชอบฤดูกาลนี้กันเป็นพิเศษ
บางคนชื่นชอบเพราะชีวิตได้สัมผัสกับไอหนาว หมอกขาว ตะวันอุ่น...
หลายคนอาจหลงรักดอกไม้ที่พากันแข่งชูช่อเบ่งบานล้อลมหนาวกันดื่นดาษ
บางคนอาจชื่นชอบ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการถวิลหาความหลัง
ที่ครั้งหนึ่งนั้นมีหัวใจที่เคยระรื่นชื่นสุข
บางคนอาจชื่นชอบเพราะความสะอาดสดของอากาศของฤดูหนาว

ทว่าเมื่อหันไปมองคนอีกกลุ่มหนึ่งบนดอยสูง ในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล...
ฤดูหนาวกลับกลายเป็นความทารุณ โหดร้ายมากพอๆ กับความตายกันเลยทีเดียว
ใช่, ความหนาว
ทำให้หลายชีวิตต้องเผชิญกับความเป็นความตายมานับไม่ถ้วนแล้วหละ

นึกไปถึงร่างอันบอบบาง เนื้อตัวสั่นเทาของพ่อเฒ่าแม่เฒ่า
ที่นั่งงอเข่าอยู่ข้างเตาไฟในเพิงกระท่อมไม้ไผ่โย้เย้ใกล้ผุพัง

คิดถึงเธอ เด็กๆ บนดอยภู ที่เนื้อตัวผ่ายผอมมอมแมม สวมเสื้อเก่าบางและฉีกขาด
นั่งล้อมวงผิงไฟอยู่ข้างกองไฟที่ใกล้จะมอดดับในคืนหนาวเหน็บ

หรือว่าความหนาว
คือสิ่งที่โลกได้บรรจุเอาไว้ในหลักสูตรแห่งการต่อสู้
และเรียนรู้ ชะตากรรม
ว่าชีวิตเอย...จงผจญ อดทน
และฝ่าฟันเพื่ออยู่รอดให้ถึงวันพรุ่ง...

2.

1

2

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมกลับจาก อ.ฝาง
มาพร้อมกับภาพถ่ายและความต้องการของชีวิตคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง
ทางการไทยและคนไทย เรียกพวกเขาว่า “ปะหล่อง”
ในขณะที่พวกเขาเรียกตัวเองว่า “ดาระอั้ง”
พวกเขาคือเผ่าพันธุ์พื้นเมืองที่ไม่ชอบความรุนแรง
ต้องระเหเร่ร่อนหนีตายจากสงครามความขัดแย้งในเขตพม่า
กระทั่งพาครอบครัวหอบลูกหนีถอยร่นข้ามมายังฝั่งไทย
ทุกวันนี้ เขาได้มาขออาศัยสร้างกระท่อมไม้ไผ่อยู่บนเนินเขา
ในเขต อ.ฝาง ไม่ไกลนักจากรอยตะเข็บชายแดน

3

4

แหละนี่คือถ้อยคำขอความเมตตาส่งผ่านมา...

“บนดอยเล็กๆ ทางไปหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
มีชาวปะหล่อง (ดาระอั้ง) ซึ่งอพยพมาบ้าง ตั้งถิ่นฐานแถบนี้มาแต่เดิมบ้าง
อยู่กันเป็นชุมชนเล็กๆ อาศัยการรับจ้างและปลูกข้าวไร่ ทำมาหากินไปตามประสา
หนาวปีนี้อุณหภูมิต่ำ และลดลงรวดเร็วจนน่ากลัว วันสองวันที่ผ่านมา
เช้าๆ บนดอยแห่งนี้อุณหภูมิราว 6-8 องศา
เด็กๆ และผู้หญิง รวมทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ เจ็บป่วยกันมาก
หากใครมีผ้าห่มเก่า หรือผ้าห่มสภาพที่พอใช้งานได้ กับเสื้อกันหนาว
เสื้อวอร์ม กางเกงวอร์ม หมวกไหมพรม ถุงมือ ถุงเท้า ฯลฯ ทุกขนาด...
สามารถส่งไปร่วมทำบุญได้ที่ี่
มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ตู้ ปณ.53 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
หรือติดต่อ คุณน้อย อาภาวดี งามขำ 0867575156
โปรดอภัย ที่บางเวลาสัญญาณไม่ค่อยดี
(เจ้าหน้าที่มูลนิธิจะรวบรวมแล้วนำไปให้กับพี่น้องปะหล่องเหล่านั้นเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้...
และขอความกรุณางดบริจาคเป็นเงิน
เพราะเป็นการเพิ่มภาระในการจัดซื้อจัดหาแก่คนทำงานมูลนิธิเล็กๆ แห่งนั้น)”



3.

“อ้าย...ช่วยขอบริจาคเสื้อกันหนาว ผ้าห่มให้หน่อย...”
เสียงของน้องสาวอีกคนหนึ่งแว่วมาทางโทรศัพท์ไร้สาย
เธอเป็นคนเชียงดาวแต่ขึ้นไปเป็นครูดอยอยู่บนดอยสูงแถบ อ.อมก๋อม จ.เชียงใหม่
บอกว่าบนดอยตอนนี้หนาวมากๆ
"เอ็นดูละอ่อน บ่มีผ้าห่ม เสื้อกันหนาวกันเลย..." น้ำเสียงเธอวิงวอน

ล่าสุด, ผมนัดพบเธอข้างล่าง เธอเอารูปถ่ายบรรยากาศของเด็กๆ ชนเผ่าปว่าเก่อญอ หรือกะเหรี่ยงโปว์ รวมทั้งภาพศูนย์การเรียนฯ (น่าจะเป็นเพิงพัก หรือโรงนามากกว่า) มาให้ ก่อนบอกย้ำว่า อยากได้ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว อุปกรณ์สำหรับเด็กนักเรียน รวมทั้งทุนที่จะนำไปจัดในกิจกรรมวันเด็กดอย ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 มกรา 51 นี้...

5

6

เธอบอกเล่าให้ฟังว่า..ที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยลอก ตั้งอยู่ภายในชุมชนบ้านห้วยลอก ซึ่งเป็นชุมชนชาวปว่าเก่อญอ อยู่กัน 64 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 316 คน หมู่ที่ 18 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ อำเภอที่ว่ากันว่าทุรกันดารห่างไกลที่สุดของ จ.เชียงใหม่

ระยะทางอยู่ห่างจากตัวอำเภออมก๋อยถึง 50 กิโลเมตร บนถนนลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ ขรุขระและสูงชัน หน้าแล้งต้องใช้เวลาเดินทางลงไปตัวอำเภอกว่า 3 ชั่วโมง

ส่วนหน้าฝนไม่ต้องพูดถึง หมู่บ้านแทบถูกตัดขาดจากโลกถายนอก ถนนปิด รถยนต์เข้าออกไม่ได้ ต้องอาศัยมอเตอร์ไซค์วิบาก ซึ่งต้องต้องใช้เวลาปีนป่ายขึ้นไปเป็นวันเลยทีเดียว

แน่นอน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงใช้การเดินเท้า เมื่อจำเป็นต้องลงมาติดต่อกับเมืองข้างล่าง

7

8

และเมื่อถึงยามหน้าหนาวครั้งใด...ทุกคนก็อยู่กับความหนาวเหน็บ เนื่องจากบนดอยสูง อากาศเย็นมาก ผู้คนจะคลายหนาวด้วยกองไฟ บางหลังคาเรือนก็ไม่มีผ้าห่มที่จะเพียงพอต่อสมาชิกในบ้าน จะซื้อก็ไม่เงินซื้อ เพราะชาวบ้านที่นั่นยากจน เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำในการทำการเกษตร ต้องทำไร่ได้เฉพาะในหน้าฝนเท่านั้น

ผมฟังเธอเล่าแล้วก็อดคิดไปต่างๆ นานา ไม่ได้...
คิดไปถึงเมื่อครั้งที่ผมเคยเป็นครูดอย แล้วมานั่งมองน้องสาวคนนี้
ผ่านไปเป็นสิบปี เหตุการณ์บนดอยก็ยังเหมือนเดิม...
และยังมองเห็นความแปลกแยก ความเหลื่อมล้ำที่ซ่อนซุกอยู่ในดงดอยอยู่เช่นเดิม เมื่อหันมามอง เปรียบเทียบกับหลายๆ ชีวิตในเมืองใหญ่

น่าสนใจ น่าเห็นใจและสงสารเธอ...
เมื่อรู้ว่าเธอ ครูผู้หญิงคนเดียว แต่ต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตัวเองเพียงลำพัง
สอนหนังสือดูแลเด็กในหมู่บ้านทั้งหมดถึง 82 คน
(ซึ่งเมื่อนึกถึงตอนที่ตัวเองเคยสอนในช่วงนั้น ผมรับผิดชอบเด็กทั้งหมด 50กว่าคน นั่นก็ถือว่าเยอะมากแล้ว)

"เด็กบางคนไม่มีเสื้อกันหนาว ไม่มีรองเท้าใส่เลยนะอ้าย..." เธอเล่าให้ฟังในวันนั้น

9

10

11

12


4.

มาถึงตรงนี้...ผมรับปากว่า จะช่วยเป็นธุระประชาสัมพันธ์เชิญชวนมิ่งมิตรผู้มีจิตเมตตา ช่วยบริจาคผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หมวกไหมพรม...รวมทั้งทุนสำหรับเด็กดอยและพี่น้องชนเผ่าปะหล่อง ซึ่งทุกท่านสามารถส่งเป็นพัสดุทางไปรษณีย์ เพื่อง่ายต่อการรับ

ได้ที่

องอาจ เดชา
เลขที่ 159/34 ถนนเจ็ดยอด ซอย 7
ต.ช้างเผือก อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
50300

หรือจะส่งไปให้พี่น้องชนเผ่าปะหล่อง (ดาระอั้ง) โดยตรงที่
มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์
ตู้ ปณ.53 อ.ฝาง
จ.เชียงใหม่ 50110

และเมื่อรวบรวมได้มากพอแล้ว ก็จะได้นำขนส่งไปยังพื้นที่ต่อไปครับ

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
        ผมมองเห็นพลังในตัวผู้ชายคนนี้ ตั้งแต่เขาเปิดประตูลงจากรถ หลังจากเรายืนทักทายกัน เขาเอื้อมไปหยิบกล้องถ่ายรูปขนาดกะทัดรัดที่วางบนเบาะหน้ารถ มากดเก็บภาพหลายมุมรอบๆ สวนและบ้านปีกไม้ ในขณะที่ผมกำลังถือไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดใบสักแห้งหล่นกองเต็มลานดินรอบโคนต้น ผมหอบใส่ตะกร้าไม้ไผ่ยัดๆ ไปเทไว้หลังบ้าน ตั้งใจไว้ว่าเมื่อเก็บเศษใบไม้ใบหญ้าได้มากพอ จะทำปุ๋ยหมักเก็บไว้ พอหันไปมองเขาอีกที ผมเห็นเขาจัดแจงลงมือทำในสิ่งที่รักและชอบเรียบร้อยแล้ว เขานั่งหลบมุมอยู่ระหว่างโรงรถกับต้นตะขบที่แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา ข้างกายเขามีอุปกรณ์เขียนรูป กระดาษ กระดาน จาน สีน้ำ พู่กัน น้ำ…
ภู เชียงดาว
    เมื่อเอ่ยชื่อ...คนมากมายต่างรู้จักเขา… จริงสิ, ใครต่อใครบอกไว้ว่า เขากลายเป็นตัวแทนของคนหนุ่มสาว ของความรัก ความหวัง และความฝันของใครหลายคน กระทั่งมีคนให้สมญานามแด่เขา ‘เจ้าชายโรแมนติก’
ภู เชียงดาว
  กี่ครั้งที่เราทุกข์ กี่ครั้งที่เราล้ม กี่ครั้งที่เราจม อยู่ในท้องทะเลน้ำตา…
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ : www.oknation.net/blog/fontree/2008/08/20/     อีกคืนค่ำ,ผมถวิลหาคำปลอบโยนของอา “เป็นไงบ้าง อยู่ได้ไหม...ชีวิต” นั่นคือถ้อยคำของอาเคยไถ่ถาม น้ำเสียงยังกังวานหากอุ่นอ่อนโยน อาเหมือนดอกไม้กลางป่าอวลกลิ่นหอม อาคงรับรู้ว่างานข่าว งานเขียน มันยากหนักเพียงใด “ที่ถามเพราะอาเคยผ่านจุดนั้นมาก่อน...” ผมได้แต่พยักหน้าบอกไป “อยู่ได้ครับอา...” ในขณะหัวใจผมตื้นตันในถ้อยคำห่วงใยนั้น
ภู เชียงดาว
ใกล้สิ้นปีทีไร เชื่อว่าหลายคนคงแอบบ่นกับตัวเองอยู่เงียบๆ ลำพัง “ชีวิตเราเดินทางมาไกลจังเลย” “ทำไมมันถึงหนักหนาสาหัสอย่างนี้” “แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป...” “สิ่งไหนเล่าที่เราต้องการ...” “แล้วอะไรคือความสุขที่แท้จริง...”
ภู เชียงดาว
เหน็บหนาวใช่ไหมหัวใจเจ้า             โศกเศร้าใช่ไหมหัวใจหวัง ยามสายลมเลาะภูรับรู้-ดัง               แว่วฟังเหมือนดั่งเพลงร้าวราน ใครบางคนสับสน บ่นถึงเจ้า   ไยวิถีจึงเหน็บหนาวแตกร้าวฉาน ไม่มีแล้วหรือ...จิตวิญญาณ                                        …
ภู เชียงดาว
        ที่มาภาพ : โอ ไม้จัตวา http://blogazine.prachatai.com/user/omaijattava/post/2171
ภู เชียงดาว
ยามหมอกขาวห่มคลุมดอย และลมหนาวพัดมาเยือนเมืองเหนือคราใด ทำให้ผมอดครุ่นคำนึงถึงวิถีเก่าๆ เมื่อครั้งเที่ยวท่องไปตามภูเขา ทุ่งไร่ สายน้ำ และชุมชนของพี่น้องชนเผ่านั้นไม่ได้ แน่ละ ในเส้นทางที่ย่ำไปนั้น มักเจอทั้งเรื่องราวมากมายให้เรียนรู้ พานพบ และหยุดทบทวนดูภาพผ่านในบางสิ่ง และละทิ้งภาพผ่านในบางอย่าง แต่โดยรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทุกข์สุข สดชื่นรื่นรมย์ หรือปวดปร่าในห้วงลึก เราไม่อาจเกลี่ยทิ้งไปได้ เพราะนั่นล้วนคือวิถีแห่งความจริงทั้งสิ้น...