Skip to main content

สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม. มาให้ข้อมูลเลย ภาพรวมที่ได้คือ 


ประการแรก ทหารไม่ให้รถดับเพลิงเข้าพื้นที่โดยไม่รับรองความปลอดภัยของนักดับเพลิง 

ประการที่สองคือ กรณีการเผาอาคารต่างๆ มีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวของบุคคลจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีการดำเนินการสืบสวนอย่างจริงจังของรัฐบาลในขณะนั้น 

ประการที่สาม อนุกรรมการชุดที่ 4 นั้นได้เคยซักถาม รปภ. ห้าง ความเบื้องต้น (ยังไม่ได้สอบทวน) ก็คือ กรณีเผาอาคารห้างสรรพสินค้านั้น ทาง รปภ. ยืนยันว่าคนที่เผาหน้าไม่คุ้น เพราะปกติแล้ว รปภ. ห้างจะรู้จักและประสานงานกับการ์ดเสื้อแดง แต่วันนั้นถูกยิงข่มจากข้างใน และมีกลุ่มมาเผาข้างนอก เวลานั้นเสื้อแดงส่วนใหญ่ถูกสลายออกไปแล้วหลังจากแกนนำมอบตัว มีเสื้อแดงบางส่วนมาป่วนทุบกระจกและ "อาจ" พยายามเผา แต่สถานการณ์ร้ายแรงขึ้นเมื่อมีการใช้อาวุธยิงคนในอาคาร ท้ายสุด รปภ. ต้องประสานให้ตำรวจมารับตัว รปภ.และเจ้าหน้าที่ของห้างออกไป และในที่สุดไฟลุกลามไหม้จนหมดสิ้นเพราะมีการตัดน้ำ ตัดไฟ ซึ่งทำให้ "อาคารอัจฉริยะ" ไม่สามารถดับไฟในห้างได้ ขณะที่ทหารเข้ามาขอคืนพื้นที่ และตรึงกำลังได้แล้ว นี่เป็นเหตุการณ์ก่อนจะมีกรณี 6 ศพวัดปทุมฯ

ประการที่สี่ การเผาอาคารจำนวนหนึ่งอาจควบคุมเพลิงได้ หากให้ชุดผจญเพลิงเข้าพื้นที่ 
คำถามก็คือในวันที่รัฐบาลใช้กำลังทหารกว่า 50,000 นาย เหตุใดจึงไม่สามารถคุ้มกันทีมดับเพลิงได้

ประการที่ห้า ในฐานะอนุกรรมการที่ดูแลเรื่องเผากรุงเทพ 34 จุด การทำงานของอนุกรรมการเป็นไปอย่างล่าช้า จนต้องยุติบทบาทและรีบสรุปงาน เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณ ผมไม่ทราบว่า "รายงานสุดท้ายของ คอป. " ใช้ข้อมูลจากอนุกรรมการที่ผมทำงานอยู่กี่มากน้อย 

ประการที่หก เมื่อสิ้นหวังจะค้นหาความจริงในภาคราชการ ผมและเพื่อนพี่น้องกลุ่มมรสุมชายขอบ ทำงานชุด ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเดือนพฤษภาคมฯ ได้แถลงที่มูลนิธิ 14 ตุลาคม เมื่อ พ.ศ. 2554 เพื่อแสดงความจริงใจในการค้นหาความจริง
ต้องย้ำด้วยว่า ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้ใช้เอกสารหรือข้อมูลของ คอป. แม้แต่ชิ้นเดียว!

ประการที่เจ็ด เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่สามารถทำงานให้คืบหน้าต่อไปได้ ขณะที่อนุกรรมการของ คอป. ไม่มีท่าทีจะเดินหน้าต่อ ผมหันมาเขียนรายงานข้อเท็จจริงร่วมกับกลุ่มสันติประชาธรรมและ ศปช. จนเป็นที่มาของ รายงานความจริงเพื่อความยุติธรรมฯ โดยมีรายงานตีพิมพ์ http://www.pic2010.org/category/report/ และเว็บไซต์
(ในเวลาต่อมา อาจารย์คณิต มีหนังสือมาขอบคุณที่ทำงานในฐานะอนุกรรมการของ คอป. เท่ากับว่างานของผม "หมดอายุ" โดยปริยาย)

ผมหวังว่าเพื่อนพี่น้องผู้มีใจเป็นธรรมจะลองทบทวนดูว่าเราควรจะด่วนประณามใครต่อใครโดยไม่ค้นหาความจริงหรือไม่ 

ที่สำคัญ ผมค้านการตรา พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเหมาเข่งสุดซอยครับ

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง