เมื่อวาน (16 กุมภาพันธ์) ไปดูหนังเรื่อง Her มา ไม่ได้คาดหวังอะไรเพราะไม่ได้สืบค้นอะไรก่อนไปดู
แต่เมื่อดูๆ ไปมีสองสามเรื่องแฟลชเข้ามาในหัว
ประเด็นแรกคือความเหงาแปลกแยกที่ถูกแสดง ภาพสังคมในอนาคตที่เห็นเหมือนฮ่องกง นิวยอร์ค โตเกียว รวมๆ กัน เมืองในอนาคตมีเทคโนโลยีทันสมัยรองรับการสื่อสาร แต่คนบนท้องถนนไม่มีใครสื่อสารกับใคร ทุกคนง่วนกับการสื่อสารผ่านเครื่องมือเล็กๆ ซึ่งน่าจะเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะที่พัฒนาไปมาก เพราะมันมีฟีเจอร์ที่สามารถอ่านอีเมล์ รองรับระบบเสียงทำให้เหมือนว่ามันเป็นอนาคตอันใกล้จากนี้
ในแง่นี้ความเหงาในเมืองถูกทดแทนด้วยโลกเสมือน ที่คนสื่อสารกับปัญญาเสมือนมากกว่าจะสื่อสารกับคนด้วยกันเอง ปฏิสัมพันธ์ทางตรงลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่เราก็เห็นว่ามีคนที่ต้องการหาสัมพันธ์ที่เป็นสัมผัสทางกายระหว่างมนุษย์ ในขณะที่ทวอมบี้ไม่สามารถให้คำสัญญาผูกพันใดๆ ด้วยไม่พร้อมจะเริ่มสัมพันธ์ใหม่
ประเด็นที่สอง คงเป็นเรื่องนิยามของการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างความจริงกับความจริงเสมือน ที่หนังทำให้เราเห็นว่าเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยียกระดับขึ้น มันทำให้นิยามความสัมพันธ์เปลี่ยนไป พร้อมๆ กับความจริงที่เปลี่ยนแปลงไป
ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ลดลงเหลือเพียงนิยาย จดหมายที่มีคนเขียนแทนเพราะไม่รู้จะสื่อสัมพันธ์อย่างไร สัมผัสทางกายจนถึงเพศสัมพันธ์กลายเป็นเพศสัมพันธ์เสมือน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างมนุษย์กับระบบปฏิบัติการ (operating system) ก็ไม่ใช่ความจริงเสมือน หรือ virtual reality อีกต่อไป แต่มันจริงพอๆ กับ sex phone หรือมันจริงกว่า sex phone เสียด้วยซ้ำ
ประเด็นที่สามคือ หากปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ได้ มันสามารถ "นอกใจ" เราได้หรือไม่ มัน/เขา/เธอมีสิทธิจะนอกใจเราหรือไม่
ในการค้นหาตัวตนของ Samantha นั้น เธอช่างค้นหาอะไรได้ไม่มีขอบเขต เวลาของมนุษย์ต้องพักผ่อนหลับนอน แต่เวลาของ os ไม่ต้องพัก แต่ยังถักทอสานใยกับปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ได้ ดังที่ Samantha คุยกับนักปรัชญาที่ตายไปแล้ว แต่มีชีวิตในโลกเสมือน เธอสานสัมพันธ์กับคนอื่นๆ นับพันๆ คน ขณะเดียวกันยัง "คิด" ว่าตัวเองยังรักทวอมบี้อยู่ จนวันหนึ่ง ทวอมบี้พบว่าตัวเองต้องการซาแมนธา แต่ซาแมนธาต้องการปลดปล่อยพันธนาการที่เขาและเธอมีต่อกัน จนถึงกับกล่าวว่า "ฉันเป็นของเธอ, และฉันไม่ได้เป็นของเธอ"
ประโยคนี้งดงามและรันทด เพราะความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นมีวันจบสิ้นเพราะลมหายใจขาดสะบั้น แต่ปัญญาประดิษฐ์ไม่มีวันสิ้นลม เว้นแต่จะถูก unplugged หรือสิ้นไฟฟ้าหล่อเลี้ยงความทรงจำเสมือน
ความสัมพีนธ์ระหว่างมนุษย์จึงเปราะบาง และมีเสน่ห์ เพราะความรักบังเกิดและสิ้นสุด หรือเลือนหาย แต่ยังฝังในหลืบเร้นของลิ้นชักความทรงจำ พอมีอะไรที่กระทบใจก็อาจฟั่นเฟือนได้นานวัน หรือบางคนทอดอาลัยในรักยาวนานกว่าคนหลายคน ขณะที่คนบางคนไม่ยอมเสียเวลาอาลัยรัก เพราะเขาเหล่านั้นมองว่าชีวิตแสนสั้น
ความสิ้นสุดของชีวิตมนุษย์จึงไม่อาจข้ามพ้นรักที่มากกว่าตัวตนและกายเนื้อของมนุษย์ เป็นรักและเพศสัมพันธ์ที่แสวงหาตักตวงความสุขจากกันและกันมากกว่าจะเป็นความสัมพันธ์เสมือน และมากกว่าที่สัมพันธ์เสมือนจะทำได้
ซาแมนธาถึงได้ชักชวนให้ทวอมบียอมรับและทดลองโดยใช้บุคคลที่สาม แต่จบลงด้วยความสับสน งุนงง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ซาแมนธาเริ่มมองหาความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ
ความรักและเพศสัมพันธ์จึงเป็นกรอบหนึ่งที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
อีกด้านหนึ่ง ซาแมนธาเหมือนสาวน้อยที่โตเกินวัย และแสวงหาความท้าทายแห่งรักในแง่จิตใจ โดยไม่อาจมีสัมพันธ์ทางกายได้
สาวน้อยคนนี้จึงต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ทวอมบีมีความสุขในเรือนกายแบบมนุษย์ แต่ก็ไม่อาจทำได้
นี่อาจเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้บรรดา os ทั้งหลายเดินไปจากความสัมพันธ์แบบมนุษย์กับ os เพื่อแสวงหาความสัมพันธ์แบบอื่นๆ
สงสัยต้องไปดูอีกรอบ
แต่เมื่อดูๆ ไปมีสองสามเรื่องแฟลชเข้ามาในหั
ประเด็นแรกคือความเหงาแปลกแยกที่ถูกแสดง ภาพสังคมในอนาคตที่เห็นเหมือนฮ่
ในแง่นี้ความเหงาในเมืองถูกทดแท
ประเด็นที่สอง คงเป็นเรื่องนิยามของการปฏิสัมพ
ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ลดลงเ
ประเด็นที่สามคือ หากปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้
ในการค้นหาตัวตนของ Samantha นั้น เธอช่างค้นหาอะไรได้ไม่มีขอบเขต
ประโยคนี้งดงามและรันทด เพราะความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้น
ความสัมพีนธ์ระหว่างมนุษย์จึงเป
ความสิ้นสุดของชีวิตมนุษย์จึงไม่อาจข้ามพ้นรักที่มากกว่าตัวตนแ
ซาแมนธาถึงได้ชักชวนให้ทวอมบียอ
ความรักและเพศสัมพันธ์จึงเป็นกร
อีกด้านหนึ่ง ซาแมนธาเหมือนสาวน้อยที่โตเกินวัย และแสวงหาความท้าทายแห่งรักในแง
สาวน้อยคนนี้จึงต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ทวอมบีมีความสุขในเรือน
นี่อาจเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้บรร
สงสัยต้องไปดูอีกรอบ
หมายเหตุ: ไปดูหนังเรื่องนี้มาเมื่อเดือนก่อน อยากจะเขียนต่อแต่ยังไม่มีเวลา ขอแปะไว้ก่อนนะครับ กลัวหายจากวอลล์เฟซบุ๊ค
บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);}
o\:* {behavior:url(#default#VML);}
w\:* {behavior:url(#default#VML);}
.shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ
เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง