Skip to main content
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท
 
ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร
 
เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่
 
ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช. บอกว่าไม่สืบทอดอำนาจ
แต่แล้วพวกเขากลัวว่าจะถูกเช็คบิลย้อนหลัง จึงตั้งพรรคสามัคคีธรรม มี ฐิติ นาครทรรพ เป็นกุนซือ มีนายณรงค์ วงศ์วรรณเป็นหัวหน้า
หลังการเลือกตั้ง แม้นายณรงค์จะชนะ แต่ก็ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องคุณสมบัติ จึงมีคนไปถามบิ๊กจ๊อด ชายร่างเล็กบอกว่า "ถ้าสุไม่เอา ก็ให้เต้ ถ้าเต้ไม่เอาก็ให้ตุ๋ย" สร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชน
เมื่อถามไถ่ไปที่คนทั้งสาม ต่างพากันปฏิเสธ แต่เมื่อนายณรงค์พ้นทาง จึงถึงคราวของสุจินดา 
 
และคนเริ่มแสดงความรังเกียจว่าเขาตระบัดสัตย์ หลายคนถึงกับลำเลิกว่าเป็นไม่ได้แม้กระทั่งลูกเสือสำรองที่มีคำขวัญ "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์"
จึงเป็นที่มาของคำว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ"
 
การประท้วงเริ่มจากคนไม่กี่คนหน้ารัฐสภา ร.ต. ฉลาด วรฉัตรมาอดข้าวประท้วงหน้าสภา บางคนเห็นเป็นเรื่องขำขัน ขณะที่มีเครื่องดื่มน้ำเต้าหู้เอาไปล้อเลียนด้วยซ้ำ
 
เมื่อมี ครป. และภาคประชาชนจำนวนมากเข้าร่วม ผู้คนจึงออกมาสู่ท้องถนน และมากขึ้น ที่สนามหลวงมีคนถือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งแบบกระเป๋าหิ้ว และแบบถือที่คล้ายกระติกน้ำ หลายคนมีฐานะดีจนเห็นเด่นชัด เพราะรถราที่พวกเขาขับ จึงพากันเรียกว่าม็อบมือถือ ม็อบชนชั้นกลาง
 
เมื่อสถานการณ์งวดเข้า รัฐบาลเริ่มไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น
การชุมนุมเริ่มแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของรัฐบาล 
 
 
เอาขวดเปล่าตีพื้น ร้อง "เ -ี้ย สุๆๆๆๆ" จนเกิดการปะทะทะหลังพลตรีจำลองถูกจับ
 
ก่อนหน้านั้น จำลองเคยประกาศอดอาหารจนกว่าชีวิตจะหาไม่ แต่แล้วเขาก็ขอมติจากคนที่มาชุมนุมกลับมากินข้าว เลิกอดอาหาร
 
ภายหลังนิรโทษกรรม พลตรีพัลลภออกมาอธิบายภายหลังว่า รู้ว่าจะมีการจับจำลองตอนบ่ายสาม จึงให้จำลองกลับไปนั่งที่แนวหน้า 
หลังจากจำลองถูกจับ จึงเห็นโอกาสที่ให้นักศึกษายึดรถดับเพลิงแล้วเริ่มทำโมโตลอฟค็อกเทล เพื่อเผาสถานีตำรวจนางเลิ้ง
 
กลางดึกเขาข้ามแนวไปบอกทหารหลังลวดหนามว่าจะตีตำรวจเผาโรงพัก ให้ถอยไป
 
จากนั้นการปะทะกันก็รุนแรงต่อกันหลายวัน
 
ที่โรงแรมรอยัล หลายคนที่เคยไปมอบช่อดอกไม้ให้ทหารเมื่อปี 2534 ถูกกระทืบ ถูกเหยียบไปบนตัว และมีศพและผู้บาดเจ็บอยู่ข้างๆ
 
ยามเช้าผู้ชุมนุมชายถูกจับมือมัดไพล่หลังราวกับเป็นเชลยศึก
 
เป็นคืนที่ยาวนานนั้น ผมอยู่กับพี่น้องจำนวนหนึ่ง หลบในโรงแรมขนาดเล็ก เห็นกระสุนส่องวิถีและเสียงยิงทั้งคืน
 
 
จำลองถูกวิจารณ์ว่าพาคนไปตาย ด้วยน้ำคำของมีดโกนอาบน้ำผึ้ง พร้อมกับความพ่ายแพ้ในระดับฉิวเฉียด
 
ตรองดูนะครับ พี่น้องเพื่อนฝูงทั้งหลาย
 
วันนี้เช้าเวลาตีสาม เขา-กองทัพประกาศกฎอัยการศึก 
 
กลัวจะ dejavu เหลือเกิน
 
 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง