Skip to main content

ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้

การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า

ข่าวเรื่องการท่องเที่ยวแดงกำลังเฟื่องฟูบนหน้าหนังสือพิมพ์ของผู้จัดการ ASTV เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมาว่ามีการจัดค่ายจัดแสดง “การปฏิวัติวัฒนธรรม” ในหมู่บ้านอิ๋นชวน มณฑลหนิงเซี่ย ไม่ทำให้ผมแปลกใจมากนัก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าในสังคมจีนมีศักยภาพที่จะแปรสภาพวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าได้มากหลายรูปแบบ เนื่องจากประวัติศาสตร์อันยาวนานที่มีเรื่องราวซับซ้อนมากมาย

แต่การที่จะนำเอาบาดแผลสังคมมาเป็นเรื่องล้อเล่น หรือสวนสนุกประเภท Theme park นั้น ไม่เพียงต้องดำเนินไปอย่างเคารพอดีตและส่งข่าวสารบางประการที่กระตุ้นเตือนให้คนเห็นความสำคัญของบทเรียนจากอดีต

ในภาพเป็นหญิงสาวที่สวมเครื่องแบบยุวชนเรดการ์ด หรือพวกพิทักษ์แดงที่มีบทบาทแข็งขันในการทำลายสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติสังคมนิยม มือถือปืนจ่อไปที่ศีรษะของชายคนหนึ่ง ที่คอของเขามีป้ายแขวนไว้ ระบุว่า “โค่นล้มศักดินาเจ้าที่ดิน”

แม้ในวันนี้นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสยิ้มแย้มไปกับเรื่องราวในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม แต่ในยามนั้นคงไม่มีใครยิ้มออก โดยเฉพาะคนที่ตกเป็นเหยื่อ อาจารย์ของผมคนหนึ่งเข็ดขยาดกับการปฏิวัติวัฒนธรรมด้วยพ่อแม่ของเธอที่เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษในวิทยาลัยถูกกล่าวหาว่าเป็นเดนศักดินาต้องระหกระเหินไปนอนบนท้องถนนเพราะถูกพวกเรดการ์ดไล่ออกจากบ้าน แล้วชะตากรรมก็พัดพาเธอไป “เรียนรู้จากชาวนา เรียนรู้จากชนบท” เหมือนกับคนหนุ่มสาวอื่นๆ ที่ละทิ้งการเรียนในห้องเรียน ขึ้นรถไฟไปเรียนรู้จากชาวนา

การปฏิวัติวัฒนธรรมจบลงเมื่อแก๊งสี่คนถูกจับและลงทัณฑ์

การคุกคามเสรีภาพนั้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะการแยกกันและตีตรา “วัฒนธรรมตะวันตก” ดังตอนหนึ่งของภาพยนต์เรื่อง Red Violin ที่มีการทุบทำลายเครื่องดนตรีตะวันตก ขณะที่นักดนตรีต้องปวดร้าว เพราะการทำลายเครื่องดนตรีภายใต้ข้ออ้างว่ามันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติสังคมนิยมนั้นเผยให้เห็นความดิบเถื่อนของมนุษย์ ในห้วงยามที่เหตุผลหลับใหล 

ผมคิดเตลิดลอยไปถึงวลี “สี่ขาดี สองขาเลว” ในเรื่อง Animal Farm ของ George Orwell ถูกแทนที่ด้วย “สี่ขาดี สองขาดีกว่า” หรือเจ้าหมูนโปเลียนที่สร้างคำนิยามใหม่ว่า “สัตว์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน, แต่สัตว์บางตัวเท่าเทียมได้มากกว่าสัตว์อื่นๆ” คำว่าเท่าเทียมกว่า (more equal) หมายถึงการมีสิทธิเหนือสัตว์อื่นในฟาร์ม เป็นการวิจารณ์เผด็จการสังคมนิยมอย่างถึงพริกถึงขิง

รอยยิ้มในภาพจึงมิอาจชดเชยชีวิตมนุษย์ที่ร้าวราน เจ็บปวดในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมได้เลย

อย่างไรก็ดี การ “ล้อเล่น” กับอดีตได้นั้น หมายถึงที่ทางของอดีตนั้น ลงตัว หยุดนิ่งในระดับหนึ่ง ซึ่งมีนัยถึงการจัดสรรพื้นที่ความทรงจำของประวัติศาสตร์ชาติได้และพร้อมจะข้ามพ้นมันได้ในที่สุด

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง