Skip to main content

วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ

 
1. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานสมัยก่อน มีข้อครหาเยอะมาก เช่น เอาหัวคะแนน มือปืน คนขับรถ เมียน้อยมารับเงินเดือน หลังรัฐธรรมนูญ 2540 จึงมีระเบียบให้แต่งตั้งโดยต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ผู้เชี่ยวชาญต้องอายุเไม่ต่ำกว่า 35 ปี จบปริญญาโท และเคยทำงานมาบ้าง ส่วนผู้ช่วยฯ ก็จบปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้สะดวก เช่น ติดตามร่างกฎหมาย ทำสรุปกฎหมาย หรือหลักการพิจารณาในวาระต่างๆ ให้สมาชิกรัฐสภา ดังนั้นจะต้องส่งไปอบรมอีกด้วย เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
 
2. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญจากเครือญาติทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ แต่ไม่เหมาะสม เพราะหลักการของผลประโยชน์ที่ขัดกัน โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ควรเป็นผู้มีความรู้ความสามรถประจักษ์ชัด การแต่งตั้งคนในวงศาคณาญาติ ย่อมทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในการทำหน้าที่โดยอิสระและตามแบบมืออาชีพที่ไม่เอาประโยชน์ส่วนตัวมาผูกพันกับเงินภาษีประชาชน
 
3. คำถามสุดท้ายง่ายๆ ก็คือ มีผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าญาติ พี่น้องหรือไม่ การเอาลูกที่ยังเรียนไม่จบ หรือบุคคลที่พำนักในต่างประเทศแล้วรับเงินเดือนจากภาษีประชาชนนั้น เหมาะสมหรือไม่ เท่ากับว่าพวกเขาได้ทั้งเงินและเกียรติยศ โดยไม่ต้องผ่านการคัดสรรใดๆ มิพักต้องกล่าวถึงการทดสอบคุณสมบัติในการทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกรัฐสภา หากปฏิบัติหน้าที่ครบวาระ ย่อมเป็นเกียรติยศ ด้วยสามารถขอพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมานั้น ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งและสุจริตใจว่ามีบุคลากรในกองทัพมากมาย ในกรม กระทรวง ต่างๆ ที่สามารถทำหน้าที่อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพมากกว่าแน่ๆ
 
คำถามคือทำไมยังกล้าแต่งตั้งวงศาคณาญาติ โดยที่เคยวิพากษ์นักการเมืองอย่างรุนแรงว่าเป็นสภาผัวเมีย ล้มรัฐบาล ฉีกรัฐธรรมนูญ วิพากษ์นักการเมืองเรื่องนอมินี ผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ นาๆ ถึงคราวที่ตัวเองได้มืออำนาจในมือ กลับทำให้มาตรฐานต่ำลง
 
กรณีแบบเดียวกันนี้อาจเทียบเคียงกับรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ ที่กระทรวงต่างประเทศรับเอาลูกสาวของเขาเข้าทำงานโดยยอม "ละเว้น" กฎบางอย่าง ทำให้ได้ตำแหน่งในกระทรวง พฤติการณ์ก็คือลูกสาวของเขาสมัครงานในตำแหน่งเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรี มีผู้สมัครแปดคน รวมทั้งเธอ แต่ทุกคนถูกปฏิเสธ เธอมาสมัครทีหลังอีกรอบ โดยมีประกาศนียบัตรภาษาต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศรับเธอเข้าทำงานทันที เมื่อข่าวถึงสาธารณชน ส่งผลให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนต้องเสนอว่าจะลาออก และในที่สุดเขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ (http://www.nytimes.com/2010/09/05/world/asia/05korea.html?_r=0)
 
เรื่องแบบนี้ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญหรือไม่?
 เขียนไม่เขียน คงไม่สำคัญ เพราะมันควรจะเป็นจารีตรัฐธรรมนูญที่สังคมกดดันด้วยพลังทางจริยธรรม
หรือจะเขียนออกมา ก็ไม่สำคัญ เพราะก็คงถูกฉีกในไม่ช้า
 
เอาเข้าจริงๆ ตัวอักษรที่เรียกว่ากฎหมาย ต่างมีช่องว่างตาข่ายเล็กๆ ให้ผู้มีอำนาจได้ตีความตามอำเภอใจเสมอ เราจึงได้เห็นแต่แม่ปู เดินขาเกให้เห็นเป็นตัวอย่าง แล้วมีแต่ "ผู้ใหญ่" มาปกป้อง "ลูกแหง่" ที่อาศัยใบบุญ ข้ามหัวคนแบบนี้เรื่อยไป
 
ไม่ผิดกฎหมาย แต่สามัญสำนึกเล่า?
 
 
 
 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง