Skip to main content

เรื่องเล่าวันนี้

 
จริงๆ อยากไปฟังบรรยายล้วนๆ แต่ความรู้สึกที่ว่า ถ้าไม่ได้พูดออกไปก็คงจะนอนไม่หลับ (ฮา)
 
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผมไปฟังบรรยายเรื่องเวนิสเบียนนาเล่และ Documenta ซึ่งได้ความรู้มากมายจากอาจารย์ถนอม ชาภักดี และคุณอภิศักดิ์ สนจด ที่ BACC
 
แต่ในช่วงที่สองรู้สึกว่ามีเรื่องให้แลกเปลี่ยนเยอะ หนึ่งในนั้นก็คือโลกศิลปะของไทยกับโลกศิลปะของโลกกว้าง จึงอดไม่ได้ที่จะขอแสดงความเห็นแลกเปลี่ยน
 
ผมเสนอไปว่า หากจะมองโลกศิลปะ ก็ต้องมองให้ครบองค์ประกอบของ Artworld ซึ่งมีหอศิลป นักสะสม curator ผู้ชม และศิลปิน เป็นอย่างน้อย ระดับของศิลปะก็มีหลายระดับ แต่ระดับงานศิลปะนานาชาติ มันก็เป็นหนึ่งเดียวและส่งทอดมาจากความต้องการแสดงอารยะของตัวเองในวงนานาชาติ ที่นับเนื่องจากนิทรรศการโลก (The world exhibition) ซึ่งเทศกาลสำคัญอย่าง Venice Biennale และเทศกาลศิลปะหลายๆ แห่งก็กำเนิดมาเพื่อนำเสนอ "ความก้าวหน้าของชาติ " ผ่านงานศิลปะ ดังนั้น ศิลปะก็คือเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของรัฐอย่างไม่ต้องสงัสย โดยเฉพาะศิลปะอุดหนุนโดยรัฐ (state sponsored art) ทั้งปวง รวมทั้งการส่งศิลปินโดยรัฐ หรือการสนับสนุนในทางใดทางหนึ่ง (เว้นแต่จะมี Nationial Arts Council) ที่ยึดโยงกับประชาชนและสังคมโดยรวม
 
ส่วนระดับของศิลปะในโลก ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ศิลปะเพื่อพิธีกรรมศิลปะเพื่อความงามและการตกแต่ง ศิลปะเชิงนามธรรม ศิลปะเพื่อยกย่องเชิดชู ศิลปะเชิงความคิดและอื่นๆ แต่ในเวทีนานาชาติก็มักจะเลือกศิลปินรุ่นใหม่ที่เสนอประเด็นที่ท้าทาย หรือมีเทคนิคใหม่ๆ ที่น่าสนใจจากแต่ละชาติ
 
ดังนั้น การนำเสนอศิลปินและผลงานศิลปะไปนิทรรศการนานาชาติดังกล่าว ไม่ได้เพียงสะท้อนความก้าวหน้าของ "ชาติ"​ นั้นๆ แต่ยังมุ่งหมายแสดงความสามารถที่ทัดเทียมอารยะประเทศอื่นๆ ด้วย
 
ปรากฏการณ์ศิลปะ Biennale (หรือ Biannale), Triennale ทั้งหลาย ที่งอกงาม ส่วนหนึ่งก็จากความกระหายใคร่รู้ (anxiety) ที่จะรู้จักโลกอื่นในลำดับระเบียบโลก (world order) ซึ่งทั้งเพื่อชื่นชมและเชิดชู เก็บกดให้ต่ำต้อย กระทั่ง ปิดกั้น ชาติอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน
 
ในโลกร่วมสมัย เป็นที่รู้กันว่ามีภัณฑารักษ์อมตะฆ่าไม่ตาย (immortal curators) ซึ่งตระเวนไปจัดนิทรรศการนานาชาติโดยมีความชื่นชอบในแนวทางศิลปะอย่างหนึ่งอย่างใด และมีศิลปินในสังกัดชุดหนึ่ง ซึ่งตีตั๋วเที่ยวบินพร้อมกันและกระโดดร่มลงในเทศกาลนั้นๆ มีปาร์ตี้เปิดงาน มีกิจกรรมที่ร่วมหัวจมท้ายว่าสัมพันธ์กับชุมชน และสะบัดตูดจากไปราวกับเวทีสาวรำวงที่เคลื่อนไปตามหมู่บ้านโลก
 
บรรดาภัณฑารักษ์กลุ่มนี้ อาจจะเป็นคนที่เรียกว่า super curators, immortal curators ซึ่งเป็นเครือข่ายเดียวกัน ไปเร่ขายความเป็น "นานาชาติ" ในโลกด้อยพัฒนาที่ทะยานอยากจะเป็นสากล และมีศิลปินระดับโลกมาสำแดงอภินิหารให้เป็นพักๆ แล้วก็จากไป
 
ขณะเดียวกันก็เป็นเวทีแลกเปลี่ยนกระแสความรู้สึกนึกคิดร่วมสมัย ซึ่งทำให้เกิดภาพของการร่วมมือ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในความสวยงามของความหลากหลาย แต่ก็เก็บกด ปิดกั้นกระแสอื่นๆ ไปในเวลาเดียวกัน
 
กล่าวอย่างรวบรัดได้ว่าศิลปินที่เดินสายกับซุปเปอร์คิวเรเตอร์เหล่านี้ก็น่าจะเดาออกได้อย่างง่ายดายเมื่อรู้ว่าซุปเปอร์คิวเรเตอร์คนไหนเป็นแกนนำในการจัดการ
 
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ไม่ได้พูด เพราะเวลาจำกัดว่า เรายังต้องคำนึงด้วยว่าเวลาประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาที่เขาฉลาด เขารู้ทันทีว่าการนำเอางบประมาณนับพันล้านไปทุ่มกับกิจกรรมศิลปะหรือเทศกาลศิลปะนานาชาติเขารู้ว่าเม็ดเงินที่จ่ายไป จะผันเป็นตัวคูณกลับมาสู่ระบบเศรษฐกิจของชุมชนอย่างไร
 
เช่น กรณี นาโอชิมา ในญี่ปุ่น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ผ่านการใช้จ่าย การเดินทาง การพักในโรงแรม การบริโภคอาหารและสินค้าท้องถิ่น การเปลี่ยนภูมิทัศน์ของชนบทที่ประชากรหดหายให้ฟื้นกลับมามีชีวิตชีวาอีกด้วย
 
เทศกาลศิลปะเบียนนาเล่ Bangkok Art Biannale ที่รัฐจะริเริ่มและใช้งบประมาณของเรานั้นจะมีกลไกตรวจสอบ คัดสรร เลือกสรรค์ศิลปินอย่างไร จะทำอะไรกับชุมชน ท้องถิ่น และประชาชน
 
ประเทศไทยจะได้อะไรจากแฟชั่นเบียนนาเล่ หรือเป็นเพียงหน้าร้านของเผด็จการทางสุนทรียศาสตร์ของภัณฑารักษ์แวมไพร์เท่านั้น
 
คงต้องรอดูกันต่อไปครับ

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ