Skip to main content

เรื่องเล่าวันนี้

 
จริงๆ อยากไปฟังบรรยายล้วนๆ แต่ความรู้สึกที่ว่า ถ้าไม่ได้พูดออกไปก็คงจะนอนไม่หลับ (ฮา)
 
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผมไปฟังบรรยายเรื่องเวนิสเบียนนาเล่และ Documenta ซึ่งได้ความรู้มากมายจากอาจารย์ถนอม ชาภักดี และคุณอภิศักดิ์ สนจด ที่ BACC
 
แต่ในช่วงที่สองรู้สึกว่ามีเรื่องให้แลกเปลี่ยนเยอะ หนึ่งในนั้นก็คือโลกศิลปะของไทยกับโลกศิลปะของโลกกว้าง จึงอดไม่ได้ที่จะขอแสดงความเห็นแลกเปลี่ยน
 
ผมเสนอไปว่า หากจะมองโลกศิลปะ ก็ต้องมองให้ครบองค์ประกอบของ Artworld ซึ่งมีหอศิลป นักสะสม curator ผู้ชม และศิลปิน เป็นอย่างน้อย ระดับของศิลปะก็มีหลายระดับ แต่ระดับงานศิลปะนานาชาติ มันก็เป็นหนึ่งเดียวและส่งทอดมาจากความต้องการแสดงอารยะของตัวเองในวงนานาชาติ ที่นับเนื่องจากนิทรรศการโลก (The world exhibition) ซึ่งเทศกาลสำคัญอย่าง Venice Biennale และเทศกาลศิลปะหลายๆ แห่งก็กำเนิดมาเพื่อนำเสนอ "ความก้าวหน้าของชาติ " ผ่านงานศิลปะ ดังนั้น ศิลปะก็คือเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของรัฐอย่างไม่ต้องสงัสย โดยเฉพาะศิลปะอุดหนุนโดยรัฐ (state sponsored art) ทั้งปวง รวมทั้งการส่งศิลปินโดยรัฐ หรือการสนับสนุนในทางใดทางหนึ่ง (เว้นแต่จะมี Nationial Arts Council) ที่ยึดโยงกับประชาชนและสังคมโดยรวม
 
ส่วนระดับของศิลปะในโลก ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ศิลปะเพื่อพิธีกรรมศิลปะเพื่อความงามและการตกแต่ง ศิลปะเชิงนามธรรม ศิลปะเพื่อยกย่องเชิดชู ศิลปะเชิงความคิดและอื่นๆ แต่ในเวทีนานาชาติก็มักจะเลือกศิลปินรุ่นใหม่ที่เสนอประเด็นที่ท้าทาย หรือมีเทคนิคใหม่ๆ ที่น่าสนใจจากแต่ละชาติ
 
ดังนั้น การนำเสนอศิลปินและผลงานศิลปะไปนิทรรศการนานาชาติดังกล่าว ไม่ได้เพียงสะท้อนความก้าวหน้าของ "ชาติ"​ นั้นๆ แต่ยังมุ่งหมายแสดงความสามารถที่ทัดเทียมอารยะประเทศอื่นๆ ด้วย
 
ปรากฏการณ์ศิลปะ Biennale (หรือ Biannale), Triennale ทั้งหลาย ที่งอกงาม ส่วนหนึ่งก็จากความกระหายใคร่รู้ (anxiety) ที่จะรู้จักโลกอื่นในลำดับระเบียบโลก (world order) ซึ่งทั้งเพื่อชื่นชมและเชิดชู เก็บกดให้ต่ำต้อย กระทั่ง ปิดกั้น ชาติอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน
 
ในโลกร่วมสมัย เป็นที่รู้กันว่ามีภัณฑารักษ์อมตะฆ่าไม่ตาย (immortal curators) ซึ่งตระเวนไปจัดนิทรรศการนานาชาติโดยมีความชื่นชอบในแนวทางศิลปะอย่างหนึ่งอย่างใด และมีศิลปินในสังกัดชุดหนึ่ง ซึ่งตีตั๋วเที่ยวบินพร้อมกันและกระโดดร่มลงในเทศกาลนั้นๆ มีปาร์ตี้เปิดงาน มีกิจกรรมที่ร่วมหัวจมท้ายว่าสัมพันธ์กับชุมชน และสะบัดตูดจากไปราวกับเวทีสาวรำวงที่เคลื่อนไปตามหมู่บ้านโลก
 
บรรดาภัณฑารักษ์กลุ่มนี้ อาจจะเป็นคนที่เรียกว่า super curators, immortal curators ซึ่งเป็นเครือข่ายเดียวกัน ไปเร่ขายความเป็น "นานาชาติ" ในโลกด้อยพัฒนาที่ทะยานอยากจะเป็นสากล และมีศิลปินระดับโลกมาสำแดงอภินิหารให้เป็นพักๆ แล้วก็จากไป
 
ขณะเดียวกันก็เป็นเวทีแลกเปลี่ยนกระแสความรู้สึกนึกคิดร่วมสมัย ซึ่งทำให้เกิดภาพของการร่วมมือ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในความสวยงามของความหลากหลาย แต่ก็เก็บกด ปิดกั้นกระแสอื่นๆ ไปในเวลาเดียวกัน
 
กล่าวอย่างรวบรัดได้ว่าศิลปินที่เดินสายกับซุปเปอร์คิวเรเตอร์เหล่านี้ก็น่าจะเดาออกได้อย่างง่ายดายเมื่อรู้ว่าซุปเปอร์คิวเรเตอร์คนไหนเป็นแกนนำในการจัดการ
 
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ไม่ได้พูด เพราะเวลาจำกัดว่า เรายังต้องคำนึงด้วยว่าเวลาประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาที่เขาฉลาด เขารู้ทันทีว่าการนำเอางบประมาณนับพันล้านไปทุ่มกับกิจกรรมศิลปะหรือเทศกาลศิลปะนานาชาติเขารู้ว่าเม็ดเงินที่จ่ายไป จะผันเป็นตัวคูณกลับมาสู่ระบบเศรษฐกิจของชุมชนอย่างไร
 
เช่น กรณี นาโอชิมา ในญี่ปุ่น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ผ่านการใช้จ่าย การเดินทาง การพักในโรงแรม การบริโภคอาหารและสินค้าท้องถิ่น การเปลี่ยนภูมิทัศน์ของชนบทที่ประชากรหดหายให้ฟื้นกลับมามีชีวิตชีวาอีกด้วย
 
เทศกาลศิลปะเบียนนาเล่ Bangkok Art Biannale ที่รัฐจะริเริ่มและใช้งบประมาณของเรานั้นจะมีกลไกตรวจสอบ คัดสรร เลือกสรรค์ศิลปินอย่างไร จะทำอะไรกับชุมชน ท้องถิ่น และประชาชน
 
ประเทศไทยจะได้อะไรจากแฟชั่นเบียนนาเล่ หรือเป็นเพียงหน้าร้านของเผด็จการทางสุนทรียศาสตร์ของภัณฑารักษ์แวมไพร์เท่านั้น
 
คงต้องรอดูกันต่อไปครับ

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 ผมไม่คิดว่าจะได้ดูละคร "คือผู้อภิวัฒน์" เพราะผมเข้าเรียนธรรมศาสตร์ ปี 2531 ขณะที่ "คือผู้อภิวัฒน์" แสดงเป็นครั้งแรกในปี 2530 แต่ผมเข้าเรียนธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2531
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประการที่สอง เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องกระบวนการทางการเมืองควรได้พิจารณาจากบทเรียนความรุนแรงทางการเมืองและความพยายามแสวงหาทางออก ซึ่งมีบทเรียนสำคัญจากสองกรณี ได้แก่
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในสถานการณ์ที่เยาวชนลุกขึ้นเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชน ยุบสภาและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในหลายแห่งและขยายตัวไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศนั้น หลายคนมองว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บ้างก็หมิ่นแคลนว่าไม่เคยช่วยพ่อแม่ล้างจานจะมาแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร หรือหางานและจ่ายภาษีได้แล้วค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนสามรุ่น
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หากมองคลื่นความขัดแย้งทางการเมืองไทยใน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เรื่องเล่าวันนี้
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ถึงแม้ว่าจะมีเหล้า ยาเสพติดมาเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่มีคนเจ็บตายกันทุกๆ ปี ช่วงปีใหม่ สงกรานต์และเทศกาลสำคัญ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คำเตือน: เปิดเผยเนื้อหาบางตอน และอยากชวนไปดูหนังเรื่องนี้กันเยอะๆ ครับ บอกตรงๆ ว่าสะเทือนใจมากที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะมันมีเรื่องราวหลายอย่างที่ทับซ้อนอยู่ในเรื่อง เป็นธรรมดาที่เราอาจจะคิดไปเองว่าบทสนทนาในเรื่องคล้ายคลึงกับเรื่องของเราเอง