Skip to main content
ปีก่อนเคยพูดไปแล้วว่า วิกฤต Covid-19 pandemic ไม่ใช่อะไรที่เป็นระดับ local เพราะลักษณะของการเดินทางและการขยายตัวของการติดเชื้อเริ่มมาจากจีน และผลจากการเดินทางข้ามโลกของคนก็นำพาเอาเชื้อไวรัสชนิดนี้มาด้วย
 
แน่นอนว่าการขยายตัวของมันทำให้เกิดอาการป่วยและการสูญเสีย
เหมือนคลื่นที่เข้ามาสาดซัดมนุษย์ทั้งโลก
 
จากเดิมที่การเดินทางระหว่างดินแดนเป็นทางเรือ การแพร่กระจายนั้นขยายตัวและเดินทางตาม speed ของเรือ และการเดินทางข้ามรัฐ ขณะที่ speed ของโลกปัจจุบันอยู่ในอัตราเร่งมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอารยธรรมมนุษย์ แน่นอนว่าการเคลื่อนตัวของไวรัสชนิดนี้ยังลึกลับอยู่มาก และโจมตีชาวโลกด้วยอัตราเร่งที่ยังก่อวิกฤตได้เรื่อยๆ จนกว่าเราจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของมันได้ชัด
 
ผมได้เคยกล่าวไปแล้วเช่นกันว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกในทศวรรษ 1930s นั้นส่งผลสะเทือนมาถึงสยามที่ในเวลานั้นไม่สามารถตั้งรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้ และส่งผลต่อเสาหลักของระบอบการเมืองที่เปรียบเปรยเหมือนพวงดอกไม้ที่ถูกแขวนด้วยเชือกเพียงเส้นเดียว วันไหนเส้นสายนั้นขาดผึง พววงอุบะนั้นก็ตกหล่นเสียรูปไป
 
ชนชั้นนำไทยรู้ดีถึงการเปลี่ยนแปลงคราวนั้น และแน่นอนว่าสยามเปลี่ยนไปมาก
 
แน่นอนว่าในโลกยุคปัจจุบันได้เรียนรู้ว่าเราผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 มาได้ โดยความเชื่อมั่นที่มีต่อโครงสร้างการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่สามารถนำพาสังคมการเมืองไทยพ้นห้วงวิกฤตได้ระลอกหนึ่ง
 
แต่ในรอบนี้ ผลสะเทือนที่แท้จริงยังมาไม่ถึงชัด และเป็นการทดสอบสมมติฐานที่ว่า เศรษฐกิจไทยธำรงอยู่ได้ด้วยเครื่องยนต์เพียงเครื่องเดียว คืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ
 
จากนั้น ทางรัฐบาลหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่างพยายามแก้ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง โดยการขับเคลื่อนการสร้างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นจะโตได้ก็ในเนื้อนาบุญของสังคมเสรีเท่านั้น เว้นแต่ใครจะยอมรับตรงๆ ว่าการเมืองไทยปัจจุบัน (ซึ่งหลายคนเรียกว่าระบอบ hybridแบบที่คนชอบอ้าง ซึ่งผมเรียกมันว่าประชาธิปไตยสลึงเดียว เป็นอำนาจนิยมผสมทุนนิยมผูกขาด) สื่อญี่ปุ่นเองก็รู้ว่าภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญที่พยายามสร้างดุลยภาพทางการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่นี่มันถดถอยลงไปมาก ไม่นับว่าความพยายามกำจัดฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เครื่องมือทางรัฐธรรมนูญที่ติดอาวุธให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นอธิปไตยที่สี่ที่สามารถ overrule อำนาจของกากบาทได้อย่างไม่น่าเชื่อหลายครั้งหลายคราก็ตามที
 
สภาพเช่นนี้ หรือภาษาบริหารชอบเรียกมันว่า ecosystem แบบนี้หรือ ที่จะสร้างความคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดทางเศรษฐกิจให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
 
ไม่นับเครื่องยนต์หลักที่วิ่งด้วยสูบเดียวคือการท่องเที่ยวและบริการที่หดตัวอย่างเฉียบพลันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 การท่องเที่ยวต้องถูกจำกัดอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดฝันว่าอาชีพนักบินและนางฟ้าจะดิ่งลงมาอย่างฉับพลัน ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ จะส่งผลสะเทือนอย่างไร
 
บรรดาชนชั้นนำที่มีสติก็พยายามเสนอว่าอย่างน้อยกลับไปในเงื่อนไขสมดุลแบบฉันทานุมติภูมิพลได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญและสถาบันทางประเพณี แต่เหมือนว่าองคาพยพที่มีสติสัมปชัญญะจะเสื่อมถอยลงจนไม่อาจชี้แนะหรือนำทางไปสู่ดุลยภาพใหม่
 
สมดุลทางสังคมจึงถูกเหวี่ยงไปมาอย่างน่าหวาดเสียวในช่วงหลายเดือนก่อนสิ้นปี
 
ในยามวิกฤตเช่นนี้มีนักธุรกิจและนักลงทุนที่ไหวตัวทันและปรับตัวไม่รั้งรอ โดยใช้หลักการ resilience ลดต้นทุน ปรับกิจการ ปรับบริการอย่างรวดเร็ว แต่มาตรการระยะสั้นที่ลดค่าใช้จ่ายคือการลดเงินเดือนโดยสมัครใจจนถึงขั้นสุดท้ายปลดคนออกจากงาน เพื่อประทังชีวิตไปก่อน
แต่ถึงที่สุดก็ต้องปรับตัวหรือเลือนหายไปจากธุรกิจ
 
ถ้ามองโลกในแง่ดี ผมจำได้ว่ารุ่นพี่นักการเงินท่านหนึ่งถึงกับรำพึงว่า Lehman Brothers (1847-2008) นั้นอายุมากกว่ารัฐธรรมนูญไทยเสียอีก ก็ต้องล้มละลายไปตามธรรมชาติของระบบการเงิน
 
นี่คืออนิจลักษณะของสังคม ว่าจะปรับตัวหรือล้มตาย
 
แต่คำถามคือ แต่วิกฤตโรคระบาดในระดับ global scale ในรอบนี้ต่างจากโรคระบาดในอดีตที่ระบาดตามเส้นทางเรือและการสัญจรใน speed และ scale ที่เล็กกว่านี้มากแต่โรคนี้มาเป็นระลอกและยังไม่จบ ส่วนผลสะเทือนทางเศรษฐกิจประกอบกับความไร้น้ำยาของรัฐ ก็ต้องถามว่ารัฐไทยยอมรับไหมว่าตัวเองถ้าไม่ยอมรับว่าใกล้เป็น failed state ในแง่การบริหารการจัดการปัญหา ก็คงจะต้องเรียกว่าอยู่ในสภาพ Zombie State (ผมถึงชอบหนังเกาหลี Kingdom ชุดนั้นมาก)
 
ผลกระทบของโรคระบาด ยังไม่จบ และไม่มีทีท่าว่าจะจบ จึงน่าสนใจมากว่าระบบทุนนิยมโลกจะเคลื่อนตัวอย่างไร
 
มีนักคิดบางคนบอกว่าระบอบอำนาจนิยมน่าจะยังทรงอิทธิพลไปอีกระยะหนึ่ง ถึงแม้ว่าโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่อาจจะทำให้บรรยากาศของโลกดีขึ้น แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าจีนจะปรับตัวอย่างไร และนักธุรกิจบางคนบอกว่าแทนที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการบีบฮ่องกง กลับเป็นเวียดนามและสิงคโปร์
 
แน่นอนว่าในทุกวิกฤตมีคนปรับตัวได้ และรวยได้
 
แต่คนที่ปรับตัวไม่ได้/ไม่ยอมปรับตัว, ปรับตัวไม่ทัน หรือไม่ทันปรับตัวจะว่าอย่างไร
 
และหากสิ่งนั้นเป็นรัฐ และองคาพยพอื่นๆ จะเดินไปอย่างไรในสภาพรัฐซอมบี้ ถึงไม่เรียกว่าซอมบี้ก็ต้องเป็นรัฐละเมอฝันว่าจะไปดวงจันทร์ได้กันไป
 
ปี 2021 จึงเป็นปีที่ยังไม่อาจตัดสินชะตากรรมสุดท้ายของรัฐซอมบี้ แต่จะเป็นปีที่เราเห็นโอกาสและความล้มเหลวของทุกสิ่งอย่าง ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านี้
 
 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง