Skip to main content

บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ

 

ปรากฎการณ์โรคระบาดรอบนี้ส่งผลสะเทือนทั้งโลก โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายมากๆ นี่ขนาดเรามีเวลาตั้งหลักปีกว่าๆ แล้ว ยังพบว่ามันมาพลิกแทรกเราอยู่ตลอด เสียดายที่โครงสร้าง (backbone) ของประเทศ เช่น รัฐธรรมนูญและกลไกการตรวจสอบอ่อนแอมากๆ ถ้าไม่หลอกตัวเองจนเกินไป ยังไม่ว่ารู้ว่ากว่าจะฟื้นตัวได้จะใช้เวลาอีกนานแค่ไหน ยังไม่เห็นสัญญาณ ไม่นับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ยังพบกับความผิดหวังซ้ำซาก มันควรมี prediction ใน scenarios ต่างๆ เช่น ถ้าฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้ร้อยละ เท่าไหร่ จึงจะกลับมาสามารถดำเนินชีวิตปกติได้ หรือการ cut loss ประชากร ที่ต้องปล่อยให้ตายไปเรื่อยๆ จะทรงอยู่อีกกี่สัปดาห์

ภาวะสิ้นหวัง ปั่นป่วนพอมันก่อตัวแล้ว จะสร้างความพังทลายของความหวังมากขึ้น หากสถาบันการเมืองและการศึกษา ไม่มีปัญญาชี้นำแล้ว จะสั่นสะเทือนมากกว่า the Great Depression ซึ่งส่งผลสะเทือนมาถึงประเทศสยามก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

สูตรง่ายๆ ที่จะทำความเข้าใจตรงนี้คือ

Stability = state capacity/expectation

หรือ เสถียรภาพของรัฐบาล = ขีดความสามารถของรัฐในการสนองตอบต่อวิกฤต ต่อ ขีดความคาดหวังของสาธารณชน

หากขาดความสมดุลนี้ก็ยากจะธำรงเสถียรภาพเอาไว้ได้

 

ส่วนที่สองก็คือประเด็นที่ว่า รัฐบาลประยุทธ์กำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ

ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา  47 ระบุว่า

"บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ

บุคคลยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย" 

ความในวรรคสามนี้เองที่ทำให้เห็นว่าการวางมาตรการใดๆ ของรัฐที่ สุ่มเสี่ยงและเล็งเห็นได้ว่าเป็นการสร้างเครื่องกีดขวางกางกั้น (barrier) หรือกีดกันการเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ในเวลาที่เหมาะสม อันจะป้องกันภยันอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตของประชาชนแล้ว ย่อมถือได้ว่ารัฐล้มเหลว และบกพร่องในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามความในมาตรา 47 นี้

 

ยิ่งมีความพยายามรุกรี้รุกรนในการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ยิ่งสะท้อนให้ว่าพวกเขาเล็งเห็นและรับรู้ถึงความเสี่ยงนี้มาโดยตลอด

จากข่าวของบีบีซีไทยระบุว่านายแพทย์ธเรศเปิดเผยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก. ว่า ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมความผิดทางแพ่ง ทางอาญา ความรับผิดชอบทางวินัย และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย 

1. บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะในแขนงต่าง ๆ 

2. อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครต่าง ๆ

3. บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีส่วนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมไปถึงยารักษาโรคและวัคซีน

 

(https://www.bbc.com/thai/thailand-58145395)

 

ใจความสำคัญของร่าง พ.ร.ก. อยู่ที่ข้อสุดท้ายนี้เองว่าเพื่อคุ้มครองบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีส่วนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมไปถึงยารักษาโรคและวัคซีน

รอดูภัยพิบัติรอบนี้ว่าจะจบลงอย่างไร 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง