ญี่ปุ่นถือเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งของโลกด้านการผลิตสื่อโป๊ จนถือได้ว่าได้สร้างหนังโป๊ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นเรียกว่า “หนัง AV” ขึ้นมาทาบรัศมีของสื่อโป๊ที่ผลิตโดยประเทศตะวันตกที่เรียกว่า “porn” (อาจเปรียบเทียบได้กับในวงการการ์ตูนที่ถ้าบอกว่า manga คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่น ในขณะที่ comics จะนึกถึงการ์ตูนฝั่งตะวันตกโดยของเฉพาะสหรัฐอเมริกา) เมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไป Osaka ประเทศญี่ปุ่น และได้มีโอกาสไปสำรวจแหล่งขายเครื่องไฟฟ้าที่เรียกว่า “Den Den Town” ซึ่งเป้าหมายของผู้เขียนไม่ได้จะไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ประการใด แต่ไปเพื่อทำการ “สำรวจเพื่อการศึกษา” ร้านขายของผู้ใหญ่ ณ Den Den Town แห่งนี้ การสำรวจนี้ทำให้ผู้เขียนหวนย้อนระลึกไปถึงการ “สำรวจ” ที่คล้ายคลึงกัน ที่เคยเข้าไปเยี่ยมชม adult shop ในเมือง Liverpool และเมืองอื่นๆในประเทศอังกฤษเมื่อปี 2013 และ ร้านประเภทเดียวกันใน Paris ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี 2004 และใน Sydney ประเทศออสเตรเลียเมื่อปี 1995 แม้การรายละเอียดการเข้าไปสำรวจร้านขายของผู้ใหญ่ใน Liverpool จะไม่สดใหม่เท่ากับการไปเยี่ยมชมร้านที่ Osaka และภาพความทรงจำการเยี่ยมชมร้านที่ Paris และใน Sydney จะเลือนรางยิ่งกว่า แต่ก็ยังพอที่จะจำข้อมูลหลักๆนำมาเปรียบเทียบกันได้อยู่
ก่อนอื่นต้องเกริ่นนำก่อนว่าประเทศอังกฤษ, ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่นมีกฎหมายสื่อลามก (obscenity laws) ใช้บังคับอยู่ ส่วนประเทศฝรั่งเศสเคยลองหา (ด้วยข้อจำกัดด้านภาษาของผู้เขียน) ยังหาไม่เจอ เริ่มจากเรื่องพื้นที่ที่ตั้งของร้านผู้ใหญ่เหล่านี้ก่อน ในประเทศอังกฤษนั้นร้านส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตที่มีร้านค้าอยู่เยอะ อาจจะเรียกว่าเป็น downtown ของเมืองๆนั้น และจะตั้งรวมๆอยู่กับร้านค้าประเภทอื่นๆ เพียงแต่ว่าหน้าร้านมีสัญลักษณ์บางอย่าง เช่น รูปริมฝีปากสีชมพูขนาดใหญ่บนป้ายร้าน หรือ ชุด cosplay ที่อยู่ในตู้กระจกหน้าร้าน (Indecency Displays (Control) Act 1981ของอังกฤษห้ามมีการแสดงภาพสื่อเปิดเผยทางเพศต่อสาธารณะ) และปกติจะมีป้ายระบุชัดเจนว่าอายุเท่าใดถึงเข้าได้ ถ้าจำไม่ผิดก็ 18 ปี ซึ่งร้าน sex shop เหล่านี้ต้องมีใบอนุญาตทำการค้าสินค้า “ผู้ใหญ่” ด้วย ส่วนใน Paris ผู้เขียนไม่ได้ไปดูแหล่งอื่นนอกจากร้านแถวๆ Moulin Rouge ซึ่งมีกระจุกตัวอยู่ติดๆกันหลายร้าน ซึ่งด้านหน้าก็ไม่มีอะไรบ่งบอกเป็นพิเศษนอกจากว่าเป็นร้านที่มีม่านหรือประตูปิดทึบมิดชิด ร้านใน Sydney ถ้าจำไม่ผิดจะตั้งอยู่แถวๆ China Town
ส่วนร้านที่อยู่ใน Den Den Town ในเมือง Osaka นั้นมีอยู่หลายร้าน และใช้ชื่อเรียกหน้าร้านว่า ร้าน “DVD” แต่มีรูปโปสเตอร์หน้าปกหนัง AV ขนาดใหญ่ติดหน้าร้านจึงรู้ได้ว่าเป็นร้าน adult shop (แต่บางร้านก็ขาย DVD ภาพยนตร์ธรรมดารวมถึงการ์ตูนด้วย) ในขณะที่ร้านผู้ใหญ่ในอังกฤษ Paris และ Sydney จะเป็นร้านเล็กๆไม่ใหญ่โตนัก อย่างมากสุดก็มีแค่ 2 ชั้น แต่ร้านใน Den Den Town มีร้านตั้งแต่ 2 ชั้นยันร้านที่มี 5 ชั้น (ราวกับเป็นห้างสรรพสินค้าก็มิปาน) ตอนที่ผู้เขียนไป 4 ทุ่มกว่าๆแล้ว ร้านเครื่องไฟฟ้าอื่นๆปิดหมดแล้ว แต่ร้าน DVD ยังเปิดอยู่หลายร้าน และเปิดจนถึง 5 ทุ่ม ยกเว้นอยู่ร้านหนึ่งที่เขียนว่าเปิด 24 ชั่วโมง!
ภายในร้าน สิ่งที่ร้านทั้งหมดเหมือนๆกัน คือ มีชั้นวางขาย DVD (หรือ VDO ในกรณีของร้านใน Sydney ที่ผู้เขียนไปตั้งแต่ปี 1995) หลากหลายประเภท และมีชั้นวางหนังสือและนิตยสารแยกไว้ต่างหาก (แต่ร้านในญี่ปุ่นแยกกันอยู่คนละแผนกต่างหากเลย) นอกจากนั้นก็มีสินค้าที่ใช้ในกิจกรรมทางเพศต่างๆ รวมถึงชุด cosplay ต่างๆรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมทางเพศแบบ SDSM ซึ่งร้านอื่นๆสินค้าจะมีไม่มากนัก (แต่ร้านที่ Liverpool มีมากกว่าที่ Paris และ Sydney) แต่ร้านใน Osaka ถือว่ามีหลากหลายรูปแบบมากจนต้องแยกเป็นแผนกต่างหาก (อีกแล้ว) แต่สิ่งหนึ่งที่ร้านใน Sydney มีแต่ที่อื่นไม่มีคือ ร้านใน Sydney มีตู้หยอดเหรียญสำหรับเข้าไปดูหนังพร้อมทำการ “help yourself” ซึ่งในตู้นั้นเท่าที่จำได้มีกลิ่นคาวฉุนกึกพร้อมถังขยะที่เต็มไปด้วยกระดาษทิชชูใช้แล้ว และยังมีตู้ peep show ที่หยอดเหรียญแล้วม่านจะเปิดออกเพื่อให้เห็นนักแสดงจริงๆที่แสดงความบันเทิงทางเพศให้เราดูอยู่หลังม่านในเวลาจำกัด 2-3 นาทีแล้วต้องหยอดเหรียญใหม่ ร้านใน Paris ไม่มีอะไรแบบนี้แต่จะมี หญิง (สูงวัย) เดินไปเดินมาในร้านถามว่าจะบริการ “นวด” ให้เราหรือไม่ (ซึ่งผู้เขียนตอบปฏิเสธไป) ส่วนร้านในญี่ปุ่นบางร้านมีตู้กดหยอดเหรียญสำหรับซื้อชุดชั้นในสตรีที่ว่ากันว่าใช้แล้วไว้บริการ ส่วนของที่อังกฤษไม่มีอะไรแบบนี้ เป็นร้านที่ขายของอย่างเดียว
ในด้านของหนังที่ขายในร้านบ้าง (ที่ Sydney นานมากผู้เขียนจำไม่ได้แล้ว) ร้านใน Paris ก็มีการจัดแบ่งประเภทของ DVD ที่ขาย ว่าเป็นประเภทธรรมดา, young, ebony, SDSM, MILF, busty และ asian ซึ่งเป็นหนังที่บริษัทฝรั่งไปถ่ายทำในประเทศเอเชีย หรือมีดาราเอเชียแสดง มีหนังญี่ปุ่นอยู่นิดหน่อย แต่ที่โดดเด่นคือ มีมุมหนึ่งซึ่งเป็นหนังของค่ายยักษ์ใหญ่ในยุโรปอย่าง Private ซึ่งหนังประเภทต่างๆคละกันแต่ผลิตโดยค่ายนี้แยกต่างหากไว้ให้เลือกหา ในขณะที่ร้านในอังกฤษ ก็มีการแยกประเภทคล้ายๆกัน แต่ที่พิเศษเห็นจะเป็น section หนึ่งมีหนังที่ระบุว่าเป็น British ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นหนังที่ผลิตในประเทศอังกฤษและใช้คนอังกฤษแสดง (แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาตินิยมหน่อยๆของคนประเทศนี้) ส่วนค่ายหนังที่วางแยกต่างหากก็เป็น Private เช่นเคย แต่เท่าที่จำได้จะมีมุม softcore ของ Playboy ด้วย ส่วนร้านใน Osaka นั้น การแบ่งหนังส่วนใหญ่จะไม่แบ่งกันตามประเภท แต่แบ่งกันตามค่ายที่ผลิต เช่น S.1, GIGA หรือ Soft on Demand ซึ่งก็มีแตกเป็นค่ายย่อยๆอีก เช่น Deep, Natural High, Dandy, Rocket, Apache และ ฯลฯ โดยแต่ละค่ายนั้นก็ทำหนังมาเฉพาะแนวอยู่แล้ว เช่น แนวสาวโรงเรียน, Office Ladies, 热女 (ประมาณ MILF), cosplay, public humiliation หรือแนว SDSM ทำให้การแยกค่ายผลิตเท่ากับเป็นการแยกประเภทของหนังไปในตัว
ในส่วนของลูกค้านั้น จำร้านที่ Sydney ไม่ได้แล้ว แต่ร้านใน Paris และ Liverpool นั้นไม่ค่อยมีลูกค้าเท่าไหร่ แต่ร้านใน Osaka นั้นมีลูกค้าพลุกพล่านพอสมควร มีเดินเข้าเดินออกเยอะ และเห็นแม้กระทั่งลูกค้าวัยชรา
ทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่ถ่ายทอดจากความทรงจำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในหลายๆประเทศแม้จะมีกฎหมายสื่อลามกใช้บังคับด้วยจุดประสงค์ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากทางประวัติศาสตร์ และประเทศเหล่านั้นก็ยอมให้มีการทำธุรกิจสื่อโป๊ได้อย่างถูกกฎหมาย เพียงแต่มีข้อจำกัดบ้างในเรื่องของการขอใบอนุญาต สถานที่ตั้ง หรืออายุผู้เข้าใช้บริการ จึงเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นว่าแม้รัฐต้องการที่จะเข้ามาควบคุมการเข้าถึงสื่อโป๊ (และอาจรวมถึงแนวคิดทางเพศที่หลายๆครั้งอยู่บนข้ออ้างเรื่องศีลธรรม) ของผู้คนในประเทศนั้นๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสื่อโป๊เรื่องและทางเพศก็ยังเป็นของคู่กันกับมนุษย์ การพยายามปิดกั้นแบบไม่เปิดช่องว่างให้มีการเข้าถึงสื่อโป๊ในทุกรูปแบบ จึงอาจมองว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อความเป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างยิ่ง
โดย
นักโป๊ศาสตร์ท่านหนึ่ง