ฮิโตมิโตกูฉะดะ
ต้อนรับการมาของซีรี่ส์เกี่ยวกับวงการหนังเอ..เรื่องดังอย่าง The Naked Director ซีซั่นสอง จึงขอนำเสนอจุดเริ่มต้นของวงการหนังโป๊ญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นก่อนจะมีการผลิตสื่อวิดีโอสำหรับผู้ใหญ่นั้น มีการผลิตในรูปแบบหนังอีโรติกนำเสนอภาพการ.. และเนื้อหาที่..เกี่ยวกับเรื่องทางเพศมานานแล้วในชื่อที่ถูกเรียกว่า พิงค์ฟิล์ม(Pink Film) หรือพิงกุ เองะ ( Pinku Eiga)
หนังอีโรติกเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในญี่ปุ่น ? ก็ต้องย้อนกลับไปหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม ในช่วงที่บ้านเมืองเริ่มฟื้นตัว และสื่อภาพยนตร์ถูกสร้างออกฉายอีกครั้ง เศรษฐกิจในประเทศกำลังเฟื่องฟูอย่างก้าวกระโดด หากเพศ ฉากโป๊เปลือยยังคงเป็นเรื่องอื้อฉาวสำหรับสื่อภาพยนตร์ในยุคนั้นไม่ต่างกับที่อื่นทั่วโลก หนังต่างประเทศที่มีเนื้อหาที่แสดงถึงวัฒนธรรมตะวันตกที่ผิดแผกจากสังคมในอดีตของญี่ปุ่นก็เผยแพร่ซึ่งรวมถึงการแสดงในด้านความรัก และเพศ ซึ่งค่อยๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้สร้างและผู้ชมในประเทศ
ว่ากันว่าในปี ค.ศ.1946 หนังญี่ปุ่นที่มีฉากจูบเป็นเรื่องแรกโดยใช้เทคนิคบังฉากดังกล่าวด้วยร่ม ก็ยังเป็นที่ฮือฮากันแล้ว และในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950a หนังเรื่อง Crazed Fruit(1956) ที่เริ่มมีฉากเลิฟซีนแรงๆ หรือ Woman Diver's Terror(1957) แสดงโดย มิชิโกะ มาเอดะ ที่ปรากฎตัวในชุดดำน้ำหาหอยมุกซึ่งเผยเรือนร่างบางส่วนของผู้แสดง
ในอีกด้านหนังต่างประเทศที่นำเสนอเรือนร่าง และฉากเพศจากทั้งยุโรปและอเมริกาก็มีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Summer with Monika (1953) จาก ฝรั่งเศส, Amants (1958) จากฝรั่งเศส, และ Immoral Mr. Teas (1959) จากสหรัฐอเมริกา พร้อมๆ กับภาครัฐที่เริ่มเข้มงวดกวดขันในการนำหนังลักษณะดังกล่าวออกมาฉายเช่นกัน ในขณะที่หนังต่างประเทศกลับไม่ได้มีปัญหาในการฉายอะไร ช่วงต้นทศวรรษที่ 1960s การมีฉากนู้ดและภาพการ...เพศในหนังญี่ปุ่นมักฉายผ่าน Stag Film เท่านั้นแต่ก็ไม่ได้ความว่าพวกเขาจะปลอดภัยจริงๆ
Stag Film คือหนังขนาดสั้นความยาวราว 10-12 นาทีถ่ายทอดฉาก...เพศอย่างโจ่งแจ้งโดยเน้นคนดูกลุ่มผู้ชายเป็นหลัก มีการสร้างตั้งแต่ช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ในตะวันตก แต่เนื่องจากผิดกฎหมายจึงมักแอบฉายอย่างไม่เป็นทางการนัก ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 8 มม. และ 16 มม. ซึ่งในตะวันตกได้เสื่อมความนิยมลงไปตั้งแต่ยุค 1950s ที่เรื่องเพศเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้นจนคนมาดูอะไรลับๆ ล่อๆ และคุณภาพภาพไม่ดีแบบนี้น้อยลง
เคอิโกะ ซาโตะ หนึ่งในผู้สร้างหนังอีโรติกยุคแรกๆ ที่ต่อมากลายเป็นโปรดิวเซอร์หนังจำนวนมาก เล่าที่มาถึงการสร้างหนังที่มาจากความจำเป็น และ Stag Film นั่นเอง เธอเริ่มต้นด้วยการเป็นพนักงานออฟฟิศธรรมดาในบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง และเป็นเพื่อนกับ คาซุยูกิ ยามาโตะ ลูกชายของผู้สร้างหนังที่ชื่อโคคุเอะภาพยนตร์ เธอและเพื่อนอีกสี่คนเคยทำงานพิเศษที่นี่เพราะมีรายได้เสริมที่ดีกว่าเงินเดือนในสม้ัยนั้น
เดิมทีบริษัทนี้ผลิตหนังเพื่อการศึกษาสำหรับฉายตามโรงเรียน แต่ Stag Film ถูกนำมาฉายเวลาต้องเอาหนังไปตระเวณฉายตามชนบทเสมอเพื่อเรียกคนดูให้มาโรงหนัง
ต่อมาปรากฎว่าทีมงานของบริษัทดังกล่าวถูกจับข้อหาอนาจารจากกลายฉาย Stag Film จากอเมริกาที่ชื่อว่า Sexy Route 66 ไปกว่าสิบคน แต่แม้จะถูกจับแบบนั้น ทางบริษัทก็ยังต้องการทำหนังที่คล้ายคลึงกัน ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายเป็น Cave of Lust หรือ Jōyoku no dōkutsu ในปี 1963 ซึ่งนับเป็นหนังพิงค์ฟิล์มยุคแรกๆ
สาเหตุอีกอย่างที่ทำให้เกิดหนังกลุ่มนี้เพราะมันจูงใจคนมาเข้าโรงได้นั่นเอง การเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศมาพร้อมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างโทรทัศน์ ทำให้ยอดรายได้ภาพยนตร์ที่เคยสูงถึงพันล้านเยนในปี 1958 ลดลงในทศวรรษต่อมาเหลือเพียง 300 ล้านเยน ผู้สร้างหนังเลยต้องสร้างหนังที่ดึงดูดคนไม่ว่าจะด้วยเนื้อหาที่แปลกแตกต่าง หรือภาพที่หาชมไม่ได้จากโทรทัศน์
กฎหมายในญี่ปุ่นขณะนั้น(และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน) ห้ามให้ปรากฎอวัยวะเพศของชายและหญิงบนแผ่นฟิล์ม ไม่เช่นนั้นต้องทำการเบลอ ทำโมเสก Cave of Lust ของ โคจิ เซกิ ที่นิยามตัวเองเป็นทาร์ซานเวอร์ชั่นผู้หญิง และเขาเองก็จับพลัดจับผลูมากำกับหนังเรื่องนี้จากประสบการณ์ที่เคยกำกับหนังเกี่ยวกับสัตว์ จึงเลี่ยงให้เห็นอวัยวะเบื้องล่าง แต่เผยให้เห็นหน้าอกและแก้มก้นแทน
ดูเหมือนชะตากรรมของผู้สร้างภาพยนตร์บริษัทอื่นๆ ก็ไม่ต่างจากนั้นนัก และด้วยทุนสร้างที่น้อยกว่าหนังแนวอื่นๆ ความนิยมของพิงค์ฟิล์มจึงเฟื่องฟูขึ้นมานับแต่นั้น
เคอิโกะเล่าว่าในสมัยนั้นหนังถูกเรียกว่าหนังขายเพศ, หรือ หนังสมัยใหม่ แต่ มิโนรุ มุราอิ นักเขียนข่าวในสมัยนั้นที่มีความคุ้นเคยกับผู้สร้างเหล่านี้ เรียกหนังเหล่านี้ว่า พิงค์ ฟิล์ม โดยเจตนาใช้สีชมพูที่ตรงข้ามกับสีของรางวัล Blue Ribbon หรือ โบว์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นชื่อรางวัลที่วงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นมอบให้เพื่อยกย่องหนังดีในแต่ละปี
ในขณะเดียวกันด้วยข้อจำกัดทางด้านเสรีภาพ ผู้กำกับหลายคนก็อาศัยพิงค์ฟิล์มในการใส่เนื้อหาสะท้อนสังคม รวมไปถึงแนวคิดต่างๆ ทางด้านการเมืองเข้าไปด้วย ผู้กำกับมีชื่อหลายคนของญี่ปุ่นเองก็เคยทำหนังพิงค์ฟิล์มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น โชเฮ อิมามูระ, นางิสะ โอชิมะ, เซจุ ซูซูกิ, คิโยชิ คุโรซาว่า หรือ โยจิโร่ ทาคิตะ ผู้กำกับเรื่อง The Departure ที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถคว้ารางวัลออสการ์สาขาหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมได้เป็นครั้งแรกก็เคยทำหนังพิงค์ฟิล์มมาก่อน
พิงค์ฟิล์มถูกสร้างและได้รับความนิยมกว่าสามสิบปี ก่อนที่การมาของวิดีโอเทป และการสร้างหนังเอ..จะทำให้มันค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง อย่างไรก็ตามพิงค์ฟิล์มก็ยังคงถูกสร้างมาจนถึงปัจจุบันแต่ต้องฉายในโรงเฉพาะที่อนุญาตให้ฉายพิงค์ฟิล์มเท่านั้น และแม้ว่ามันจะไม่ใช่แนวทางที่นิยมในตลาดโรงภาพยนตร์ของญี่ปุ่นอีกแล้วก็ตาม
.
ที่มา
Wikipedia
https://web.archive.org/.../fe_2002/eng/PinkEiga2002.htm
https://dashboard.propertyhub.in.th/members/listings/online
https://i-d.vice.com/.../pink-films-and-the-sexual...
-----
พิศวาสความรู้คู่กามารมณ์