Skip to main content

picture1

เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปรากฎว่า มีผู้เขียนเข้ามาคุย และโทร.เข้ามาคุยเรื่องขยะ ๆ เป็นส่วนใหญ่ เรื่องของผู้ชายริมทางรถไฟหล่นหายไปพร้อมกับเรื่องวรรณกรรมที่อยากนำเสนอ

นั่นแสดงว่า เรื่องขยะ ๆ มันเป็นเรื่องโดนใจใคร ๆ และมีผู้สนใจเรื่องขยะอยู่พอสมควร สนใจนะคะไม่ใช่ชอบ  หรือรัก ใคร ๆ ก็ไม่ชอบขยะ และอยากเอาขยะออกไปให้พ้น ๆ ตัว

ดังนั้นขอคุยเรื่องขยะต่ออีกครั้งนะคะ

หญิงสาวคนหนึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาล เธอคุยกับฉันว่า เธออยากเห็นตลาดสักแห่งหนึ่งที่เป็นตลาดไร้ถุงพลาสติก ขายกันด้วยใบกล้วย ใบตอง ผู้คนหิ้วตะกร้ามาจ่ายกับข้าว เอาถุงผ้ามาซื้อข้าวสาร เธอย้ำว่าเธออยากจะไปตลาดเช่นนั้น

ฉันก็เห็นด้วยกับเธอ แต่ฉันคิดว่าเธอคงไม่ได้เห็นหรอก 

ส่วนน้องสาวอีกคน เธอมาบ่นว่า เธอมีปัญหาเรื่องโฟมใส่อาหารมาก มีปัญหาทางใจ มีปัญหาครอบครัวเพราะสามีของเธอเคร่งเครียดกับเรื่องนี้มาก เขาเห็นมันเข้ามาในบ้านไม่ได้เลย ใครหิ้วเข้ามาก็ต้องโดนว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร เธอเองก็ไม่อยากได้โฟมหรอก แต่เมื่อไปซื้ออาหารพวกเขาบอกว่าไม่มีอย่างอื่น ถุงพลาสติกก็ไม่มี วันหนึ่งตัดสินใจซื้อขนมปากหม้อ สาคูไส้หมู เจ้าอร่อยมาฝาก เขาถามว่า ทำไมใส่กล่องโฟมมา บอกเขาไปว่า ไม่มีอย่างอื่น เขาเสียงเขียวว่า
“ไม่มีก็ไม่เอา ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องกิน แค่ถุงพลาสติกก็แย่แล้ว”

เธอเล่าต่อว่า เมื่อเดือนก่อนเธอกับเขาไปงานชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่เชียงใหม่ เขาหันไปเห็นกล่องโฟมใส่อาหารวางเรียงอยู่บนโต๊ะประมาณสามสิบสี่สิบกล่อง เขาตรงเข้าไปถามว่า อาหารพวกนี้กินมื้อเดียวใช่ไหมครับ น้องที่อยู่ใกล้ๆ พยักหน้า  วันหนึ่งกินสามมื้อ วันละร้อยกล่อง พวกคุณจัดงานกี่วันครับ

คราวนี้น้องงง เขาก็เลยพูดต่อว่า ผมเสนอว่า ควรหาทางอื่นในการกินนะครับ อย่าคิดแต่เรื่องสะดวกสบาย ทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อมกันด้วยไม่ใช่หรือครับ ถ้างั้นก็ป่วยการทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม

ฟังเขาพูดแล้วต้องเดินหนี อายเขาและกลัวว่า คนที่ถูกว่าจะเสียใจ เสียหน้า กลับมาถึงบ้านเขายังเล่าให้ฟังอีกว่า น้องคนนั้นบอกให้เขาไปเขียนลงที่กล่องแสดงความคิดเห็น

ฉันบอกเธอไปว่า ทำเรื่องที่ควรทำไม่น่าจะอายนะคะ  แต่ก็น่าจะคิดวิธีบอกกล่าวบ้างเหมือนกัน  ถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ศิลปะในการพูดไม่ให้คนอื่นเสียหน้าและได้ผลด้วย การเขียนใส่กล่องความคิดเห็นก็เป็นวิธีหนึ่ง

มีอีกหลายคนที่บอกมาว่า ที่เขาและเธออยู่ต่างมีขยะมากมาย  ทั้งเหนือใต้อีสาน แต่เด็ดสุดจากใต้ น้ำตกพรมโลก เธอบอกว่า ที่นั่นขยะมากมาย เคยพบว่ามีถุงดูเร็กด้วย (ถุงยางอนามัยดูเร็กนะ ไม่ใช่ กระดาษช็อกโกแล็ต)

ฉันบอกน้องสาวคนนั้นไปว่า การเดินป่า เที่ยวป่าเขาและน้ำตกนั้น เขาให้เอาไปแต่สิ่งที่จำเป็นแก่ชีวิตเท่านั้น และเอาไปให้น้อยที่สุด แต่ก็นั่นแหละสิ่งจำเป็นของใคร ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญคือเอาขึ้นไปแล้วก็เอากลับลงมาเหมือนเดิม

บางคนก็บอกเธอเป็นคนเก็บขยะ และเก็บมานานแล้วเห็นขยะที่ไหนก็เก็บ และเขาพบว่า หลังจากที่เขาเริ่มเก็บขยะเขาได้สิ่งมีค่าหลายอย่างที่คนอื่นทิ้งและเขานำมาใช้ได้ บางครั้งเขาก็เอามาขัดมาเช็ดถู เก็บไว้ข้างบ้าน มีเพื่อนมาเห็นชอบเขาก็ยกให้ไปเลย พวกกรอบรูปก็มี พวกเก้าอี้เอามาซ่อมได้ เพื่อน ๆ ไม่รู้หรอกว่าเก็บมาจากที่เขาทิ้ง ๆ

เธอว่าคนชอบทิ้ง ใช้แล้วก็ทิ้งไม่ได้คิดจะเก็บมาใช้ให้คุ้มค่า หรือเอามาซ่อมแซม เธอยังเสนอว่า บริษัทที่ผลิตขยะออกมาก็น่าจะรับผิดชอบเอากลับไปด้วย โดยเฉพาะขยะอันตรายพวกถ่านไฟ แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องต่าง ๆ

picture2

อีกคน “น้องเด็กดอย”จากโอเคเนชั่น เขียนมาว่า ขยะบนดอยมาก ดอยไหนก็มีขยะ โดยเฉพาะที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

เขาเป็นเด็กดอยอินทนนท์ ข้อความสั้น ๆ แต่มีความหมาย และเข้าใจอารมณ์ของคนอยู่ดอยจริง ๆ และข้อความสั้น ๆ นี่แหละ ทำให้ฉันเขียนเรื่องขยะต่อ

ด้วยคำถามว่า ขยะดอยมาจากไหนและมันจะกลับมาได้อย่างไร

แน่นอนมันต้องลงมาถึงพื้นราบ มากับสายน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารต่าง ๆ มากับอากาศ ทั้งน้ำและอากาศจะได้รับกันอย่างทั่วถึง

ว่ากันว่า ขยะในตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวนมหาศาล ถูกนำไปเก็บไว้บนป่าบนดอยสูงด้วย คิดดูเถิดว่า การจัดการกับขยะในเมืองเป็นเรื่องโหดแค่ไหน การย้ายขยะจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งเท่านั้น

เคยคุยกับเพื่อนที่เป็นเจ้าของโรงเรียน อนุบาล เธอบอกว่า เด็ก ๆ เป็นภูมิแพ้กันมาก พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือเรื่องนี้ให้ดี เพราะพวกเขาจะได้โรคภูมิแพ้เป็นของขวัญทันทีที่เกิดมา    

นี่เป็นเรื่องที่น่ากลัวไหม

บอกกล่าวกันไว้แค่นี้แล้วกันนะคะ เผื่อใครจะคิดต่อทำต่อ

****************

ปล.ข่าวฝากเพื่อสังคมค่ะ

งานเดิน และปั่นจักรยาน ขึ้นดอยสุเทพ ตามรอยครูบา และดูแลสิ่งแวดล้อมค่ะ
“วันที่ 4 พฤศจิกายน 2550” นี้ สำหรับผู้สนใจร่วมเดินทาง

เริ่มโมงเช้าที่ลานครูบาศรีวิชัย กลุ่มเดินเท้าเดินตามเส้นทางป่าดอย ค่อยลัดเลาะไป ดูและฟังเสียงป่า ไปกินขนมอร่อย ๆ ที่วัดผาลาด และเดินต่อไปจนถึงลานวัดพะธาตุไปพบกับทีมปั่นจักรยานที่รออยู่แล้ว  ในช่วงวันดี ๆ เช่นนี้ เราจะฟังธรรมเทศน์เรื่อง การอนุรักษ์ดอยสุเทพและสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่  ณ บริเวณลานวัดพระธาตุ  ครั้งนี้เจ้าอาวาสจะได้เปิดใจเรื่องดอยสุเทพและวัดพระธาตุว่าท่านคิดอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงของดอยสุเทพและวัดพระธาตุดอยสุเทพ หลังจากดื่มด่ำกับธรรมชาติ ก็มาดื่มกินอาหารร่วมกัน  พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นธรรมชาติ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย เพื่อการจัดงานและเป็นทุนในการดำเนินงานของภาคีคนฮักเชียงใหม่ โดยชื่อบัตรเดินทางคนละ 199 บาท พร้อมรับเสื้อยืดหนึ่งตัว และข้าวหนึ่งห่อ และขนม

ท่านที่จะเดินเท้าหรือปั่นจักรยาน ติดต่อล่วงหน้าล่วงหน้านะคะ โทร.ที่ 084 0415096 หรือ  085 0397138  หรือที่ ร้านหนังสือ สุริวงค์บุคเซ็นเตอร์  ร้านเล่า หรือ ร้านนันทขว้าง  ร้านเมล็ดกาแฟ เอเดน กรีนเฮาส์ และสุดสะแนน

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย