Skip to main content
10_9_02


พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 . ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง


ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน


การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน


ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว

10_9_02

 
ในช่วงแรกนี้มีเหตุผลชัดเจนคือจะเปิดทางเพื่อการท่องเที่ยวล่องเรือสำราญ แต่ไม่สามารถทำได้เหตุผลไม่พอ ต่อมาเมื่อน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในปี
48 การรื้อฝายกลับมาอีก หาเรื่องใหม่ว่ารื้อฝายเพื่อป้องกันน้ำท่วมเพราะฝายหินทิ้งในแม่น้ำปิง ขวางทางน้ำทำให้น้ำไหลไม่สะดวก


ผู้ใช้น้ำจากระบบเหมืองฝาย ก็ยกเหตุผลขึ้นมากล่าวว่า ฝายหินทิ้งน้ำผ่านได้ตามร่องหินและเมื่อน้ำท่วมฝายก็อยู่ใต้น้ำ


สาเหตุที่น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่มีมากมายไม่ใช่ฝายและฝายมีความจำเป็นสำหรับทดน้ำเข้าไปใช้เพื่อการเกษตรทั้งในลำพูน และเชียงใหม่ อีกทั้งมีมานานตั้งแต่เริ่มมีเมืองเชียงใหม่นั้นแหละ เขาใช้ระบบเหมืองฝาย ถือเป็นภูมิปัญญาเดิมและมีกฎหมายมังรายศาสตร์รองรับด้วย คราวนี้ผู้จะทุบฝายก็มีเรื่องใหม่มานำเสนอนั่นคือ ทำประตูระบายน้ำเพื่อการเกษตร


คำถามคือเราจะจ่ายเงินห้าร้อยล้านเพื่อทำประตูน้ำเพื่อการเกษตรทำไม ในเมื่อฝายเก่าใช้ได้อยู่ เอาเงินภาษีของประชาชนมาผลาญเพื่อใคร ใครได้ใครเสีย มันคุ้มกันไหม


คราวนี้สำนักงานชลประทานกับสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดออกทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน 7 ครั้ง และในที่สุดสรุปว่า ชาวบ้านยินยอมแล้วออกแถลงข่าวเลย


ชาวบ้านส่วนหนึ่งบอกว่า ที่ยินยอมก็เพราะเหนื่อยและเบื่อมาก ๆ สู้กันมาตั้งสี่ห้าปี และที่แน่ ๆ พวกเขาอยากสร้างจริงๆ ที่เขามาพูด มาทำความเข้าใจก็เพื่อเขาจะสร้างนั่นแหละ หาความชอบธรรม เพราะอย่างไรเขาก็สร้างอยู่แล้ว พวกเราเห็นสัญญาที่เขาทำกับบริษัทรับเหมาแล้ว และในสัญญาก็ระบุว่า โครงการสร้างประตูระบายน้ำและรื้อฝาย

10_9_01 10_9_04

 

ผู้ช่วยแก่ฝาย พ่อหลวงสมบูรณ์ บอกว่า บริษัทแนะนำว่า ถ้าให้เขาสร้างอย่างเดียวไม่รื้อฝายก็ให้ทำจดหมายไปถึงสำนักชลประทานเขาจะไม่รื้อ


ว่าไปแล้วมันไม่มีความหมายอะไรหรอก เพราะเขาสร้างประตูน้ำเพื่อรื้อฝายอยู่แล้ว เป็นการหลอก ๆ ไปอย่างนั้น และในที่สุดการทำให้ฝายพังไม่ใช่เรื่องยาก


อีกอย่างหนึ่งความเดือดร้อนไม่ใช่แค่ผู้ใช้น้ำเท่านั้น คนอื่นๆ ก็เดือดร้อนด้วย เพราะระดับน้ำที่จะส่งไปเหนือสุดนั่นต้องใช้แรงดันสูง ดังนั้นพื้นที่ต่ำๆ ก็ถูกน้ำล้นออกมาำท่วมสองฝั่งที่อยู่ระดับต่ำ

หลังจากนั้นเขาก็จะแก้ปัญหาโดยการทำผนังคอนกรีต พวกที่เคยคัดค้านไม่เอาผนังกั้นแม่น้ำปิง ขอบอกว่า เมื่อประตูระบายน้ำมา พนังคอนกรีตก็จะกลับมา และเมืองเชียงใหม่ก็จะเกิดน้ำขังในช่วงฤดูฝนเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลผ่านพนังไปได้เกิดน้ำขังจนเน่า เมืองเชียงใหม่ก็จะเน่า ถึงตอนนั้นอาจจะมีโรคระบาดด้วย ดังนั้นถือว่าเราจะได้รับกันถ้วนหน้าที่เดียว และเชียงใหม่ก็จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อีกต่อไป ถึงตอนนั้นใครจะมาล่องเรือสำราญ อวสานกันถ้วนหน้า

ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็จะมีปัญหาคือ จะต้องมีการโดนปรับเพราะว่า มีงบประมาณมาแล้ว และมีการทำสัญญาว่าจ้างกันแล้ว


ในขณะเดียวกันพวกเขาลืมไปว่า ฝายภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีค่ามหาศาลถ้าตีเป็นเงินนับพันล้านเหมือนกัน ถ้าตีราคาการก่อสร้างในช่วงนี้ ค่าแรงงานเท่าไหร่ อาจนับ 100 ล้าน ค่าหินเท่าไหร่ 


ลองสอบถามแก่ฝายดูแกว่า ฝายหนึ่งใช้ก้อนหินประมาณหนึ่งหมื่นก้อน คิดเป็นค่าหินเท่าไหร่ สามฝายสามหมื่นก้อน คิดราคาก้อนละพัน และค่าภูมิปัญญา (ออกแบบ) อีกเท่าไหร่ ดังนั้นพันล้านจึงไม่ถือว่ามากไป ข้อนี้จะฟ้องร้องใครได้บ้าง เช่นฟ้องศาลเพ่ง จัรับฟ้องค่าเสียหายไหม


มีผู้ยินยอมเพราะเบื่อหน่าย เสียทั้งเงินทั้งเวลา บางคนไม่ได้เก็บลำไย เพราะมัวจะมาฟังบ้าง มายื่นหนังสือบ้าง ต่างจากหน่วยงานรัฐที่ได้เงินในการมาด้วย หรืออย่างน้อยก็ได้เงินเดือน แต่ชาวบ้านยิ่งค้านยิ่งไม่ได้ทำงาน

ผู้ที่ยังไม่ยินยอมอันได้แก่ แก่ฝาย และคนเฒ่าคนแก่จำนวนหนึ่ง

พวกท่าน ๆ แก่ฝาย ผู้ช่วยแก่ฝาย และผู้ใช้น้ำ รวมทั้งคนเชียงใหม่ทั่วไป จะมาทำบุญสืบชะตาฝายกันอีกครั้ง รวมทั้งพิธีสาปแช่งด้วย มีการออกแถลงการณ์ ในวันที่ 13 กันยายนนี้ เวลา 10.00 . แก่ฝายคนสุดท้าย พ่อหมื่นนัดพบค่ะ ฝากผ่านเชิญสื่อมวลชนด้วยค่ะ



 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“จึงขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริงด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน และความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ” ฉันชอบถ้อยคำนี้มาก เป็นถ้อยคำ ที่เพื่อนนำมาฝากหลังจากที่เธอกลับมาจากภาวนา เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... เพื่อนของฉันกลับมาจาก “ภาวนา” แบบหมู่บ้านพลัม เธอว่าดีงามมาก ใช้กับชีวิตได้ เธอพูดถึง ข้ออบรมสติ 5 ประการ แต่เธอเน้นข้อฝึกอบรม ข้อที่ 4 เธอเขียนส่งมาให้ฉันอ่าน ฉันคิดว่าเธอคงอยากให้ฉันตระหนักรู้ หรือไม่เธอก็บอกอ้อม ๆ ว่า ฉันเป็นคนที่ควรจะปฏิบัติเพราะฉันมีปัญหาในข้อนี้…
แพร จารุ
ระหว่างการพูดคุยกับเพื่อน เพื่อนนักเขียนของฉัน ไปอยู่ไกลถึงลอนดอน ช่วงที่ผ่านมาเธอกลับบ้านเพื่อมาส่งแม่เดินทางไกล เพราะครั้งนี้แม่ไปแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย และไม่รู้ว่าเส้นทางสายยาวไกลของแม่อยู่ที่ไหน แต่สำหรับเธอ เชื่อว่า จะไปพบกันที่พระเจ้า เราไม่ได้พบหน้ากันมานาน ได้แต่คุยโทรศัพท์กัน ช่วงแรกเพื่อนนักเขียนของฉันนั่งทำงานเขียน นั่งวาดภาพ และปลูกต้นไม้อยู่ในเรือนกระจกอยู่ที่บ้าน ต่อมาเธอไม่เลือกที่จะนั่งเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านแล้ว เธอไปทำงานที่พักคนชรา ทำงานอยู่กับคนแก่ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริงของชีวิต เธอมีการงานที่มีความเศร้า ความตายของคนแก่ที่นั่นอยู่เสมอ
แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“…
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน
แพร จารุ
 “ไม่นานคนก็ตายกันหมดโลกแน่ ๆ”หญิงสาววัยเพิ่งผ่านเลขสามพูดขึ้นก่อนล้มตัวลงนอน “พี่เชื่อไหม ไม่นานผู้คนจะตายหมดโลก” เธอพูดอีกครั้ง “อะไรทำให้เธอคิดเช่นนั้น” ฉันถามออกไปด้วยความขลาดกลัว มานอนกลางป่ากลางเขาแล้วพูดถึง เรื่องความตาย  ไม่อยากจะฟังคำตอบจากเธอ รีบเตรียมถุงนอน พร้อมที่จะล้มตัวลงนอนใกล้ ๆ เธอ คืนนี้เราเลือกที่จะไม่นอนในบ้านสบาย ๆ แต่เลือกที่จะมานอนกันในป่าเปลี่ยนบรรยากาศ   เธออธิบายต่อว่า เมื่อกลางวันได้ยินข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงราย 3.5 ริกเตอร์  เมื่อแผ่นดินไหวที่เชียงรายได้ ก็ไหวที่เชียงใหม่ได้ หรือที่อื่น ๆ ได้ และมันคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “อือ...ก็น่าจะจริง…
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
แพร จารุ
ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ  เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก
แพร จารุ
“พี่มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม้พี่ไม้ ไม้เป็นหมื่น ๆ” เธอส่งเสียงมาเหมือนถูกผีหลอกกลางวัน“อยู่แดนสนธยาที่ไหน” ฉันถามกลับไปเพื่อให้ตัวเองตั้งสติหากมีเรื่องร้าย “ไม่ใช่ต้นไม้แต่เป็นไม้เป็นหมื่น ๆ ท่อนพี่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันเยอะจริง เดี๋ยวจะถ่ายรูปส่งไปให้ดู บางต้นมีผ้าเหลืองผ้าแดงผูกโคนต้นด้วย” “ที่ไหน” “กิ่วคอหมาพี่ เขากำลังสร้างเขื่อนกิ่วคอหมา พี่รู้เรื่องนี้ไหม พูดแล้วขนลุกพี่ รอเดี๋ยว ๆ นะพี่นะจะส่งรูปไปให้ดู”“จ๊ะ แล้วเธอไปทำไม”“ขับรถผ่านมานะพี่  กลับมาจากลำปาง”เธอพูดหลายครั้งว่าเธอไม่เคยเห็นไม้เยอะขนาดนี้มาก่อนจริง ๆ และสงสัยว่าทำไมเขายังตัดไม้กันขนาดนี้…
แพร จารุ
เขาว่ากันว่า  เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งธรรมชาติงดงาม เมืองวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จอดดูสักหน่อยซิเขาเล่ากันต่อว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เชียงใหม่เติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงสุด ปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวเชียงใหม่มากมาย เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ต้องรับภาระหาเงินทอง เมกกะโปรเจคขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ว้าว! แล้วคนเชียงใหม่ คิดอย่างไรกับเมืองเชียงใหม่ หากไปถามคำถามนี้ ร้อยทั้งร้อยคนเชียงใหม่ต่างวิตกกังวล คนเชียงใหม่บอกว่า เมืองน่าอยู่นั้นคือเมื่อก่อน เมื่อก่อนซึ่งไม่นานเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ คนเชียงใหม่ลำบากกับรถติดในเมือง คนเชียงใหม่กลัวน้ำท่วมเหมือนปี 2548 ฤดูร้อน…
แพร จารุ
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน “ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก“…
แพร จารุ
ป้าของฉันเป็นผู้หญิงธรรมดามาก ไม่เป็นที่รู้จักของใคร  ฉันคิดว่าคนที่ป้ารู้จักมีแต่หลาน ๆ กับคนข้างบ้านเท่านั้น และคนที่รู้จักป้าก็เช่นกัน ป้าเป็นผู้หญิงธรรมดาจริง ๆ แต่ฉันอยากเขียนถึงป้า เพราะน่าจะมีแต่ฉันที่จะเขียนถึงป้า และฉันก็น่าจะเป็นหลานคนเดียวที่ไม่เคยได้ทำอะไรให้ป้าเลยนอกจากเขียนถึงป้า ใจหายเหมือนกันเมื่อคิดว่า นี่คือสิ่งแรกที่ฉันจะทำให้ป้า ป้าฉันไม่มีอะไรพิเศษเลยนอกจากเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ฉันรู้จักเป็นป้าหลานมา ฉันไม่เคยเห็นป้าทำอะไรไม่ดีเลย ไม่ใช่แกเป็นป้าที่ดีของพวกหลาน ๆ แกเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเพื่อนบ้าน ชีวิตป้ามีความสุขมาก ฉันคิดว่าป้ามีความสุขทุกวัน…