Skip to main content

ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties.

ข้อเขียนของเธอบอกว่า

 

ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว

 

มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต

โถน่าสงสารคนเชียงใหม่ ของดีบรรพบุรุษสร้างให้ไม่รักษา น่าสมเพชจริงๆ นะคะ”


ฝายทั้งสามสร้างในรัชกาลที่ ๒ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อทดนํ้าให้เกษตรกรและผู้ใช้นํ้าแถบอำเภอสารภี เวียงกุมกาม จังหวัดลำพูน กรมศิลปากรถือว่าเป็นโบราณสถานด้วยค่ะ แต่กรมชลฯ รื้อฝายทั้งสามแล้วจะสร้างประตูระบายนํ้าในแม่นํ้าปิง

 

ดอกสตาร์ให้เหตุผลว่า

. เป็นการผลักดันของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและเจ้าของกิจการโรงแรมขนาดใหญ่ที่อยู่ริมแม่นํ้าเพราะว่าฝายพญาคำเป็นอุปสรรค์ในการล่องเรือพานักท่องเที่ยวชมแม่นํ้าซึ่งไปได้ไม่ไกลมากนัก โรงแรมอยากจะเพิ่มจุดขายโดยที่มีการรับส่งนักท่องเที่ยวทางเรือ (เมื่อปี พ.. ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ได้เริ่มผลักดันการรื้อฝายมาครั้งหนึ่งแล้ว


อีกประการหนึ่งถ้ามีการทำประตูระบายนํ้าแล้วระดับนํ้าจะสูงขึ้นมากจนสามารถที่จะมีเรือสำราญจากประเทศจีนที่จะล่องเรือผ่านแม่นํ้าปิงเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ธุรกิจการท่องเที่ยว


. เมื่อปี พ.. ๒๕๔๘ เมื่อเชียงใหม่เกิดนํ้าท่วมใหญ่จึงมีการผลักดันโครงการณ์ที่จะรื้อฝายอีกครั้งหนึ่ง

 

ดอกสตาร์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอเล่าว่า เธออยู่กับน้ำท่วมทุกปี ตั้งแต่วัยเด็กเป็นนักเรียนน้ำท่วมสองสามวันก็จบ น้ำไม่ขังไม่เน่าจึงไม่มีปัญหา


นี่เป็นเรื่องที่ดอกสตาร์นำเสนอเอาไว้นะคะ เมื่อวานนี้ฉันเจอเธอครั้งแรก หลังจากอ่านและเขียนกันมานาน ดอกสตาร์ เขียนเกี่ยวกับเรื่องเมืองเชียงใหม่มาตลอด

 

ตัดหัวเอาเลือดล้างเท้าพญาคำ

 

เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมาเราไปร่วมพิธีกรรมการตัดคอหุ่นเพื่อสังเวยพญาคำกัน ตามกฎหมายมังรายศาสตร์ ในกฎหมายมีว่า ผู้ใดทำลายฝายหรือทำให้ฝายพังจะถูกทำโทษอย่างไรบ้าง การถูกตัดคอถือเป็นโทษสูงสุด

 

พิธีกรรมวันนี้ได้รับความสนใจมาก หลายคนถามว่าหุ่นนั้นเป็นใคร ได้ยินเสียงตอบว่า เป็นใครก็ได้ที่มุ่งทำร้ายทำลายฝาย

 

นักข่าวจ้องไปที่คนลงดาบซึ่งสวมหน้ากากสีดำ ก่อนที่แกจะลงดาบแกบอกว่า ถือเป็นเคล็ดลับห้ามเปิดเผยหน้าตาผู้ลงดาบ แกฟันฉับลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนตกตลึงเพราะคิดไม่ถึงว่าเลือดจะสาดกระเซ็นออกมาจากคอคอหุ่น

 

ผู้ช่วยแกฝายเอาเลือดสด ๆ เดินขึ้นไปบนฝายพญาคำ เทเลือดล้างเท้า พร้อม ๆ กับเสียงสวดมนต์ดังขึ้น ลมพัดแรงจนน่ากลัว ควันไฟไม่ได้จางหายแม้ไฟจะลุกแล้ว เชื้อไฟถูกสุมเข้าไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเสียงประทัดดังขึ้น

 

มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นจากจิตใจของผู้คน

 

 

ลองฟังเรื่องของพ่อหมื่นแก่ฝายดูเถิด แกทำฝายมาตั้งแต่อายุ 15 ปี ดำลงไปมัดไม้ไผ่ทำฝาย ไปจนถึงฝายหินทิ้ง และมาเป็นแก่ฝาย ซึ่งอาจจะเป็นคนสุดท้าย พ่อหมื่นเล่าว่า กว่าจะสร้างฝายมาได้ มีผู้คนมากมายเหนื่อยยาก เสียชีวิตไปก็มี

 

ส่วนผู้เฒ่าลงดาบนั่นเล่า สืบเชื้อสายมาจากพญาคำ เขาสร้างด้วยหัวใจและจิตวิญญาณบรรพบุรุษขนาดนี้จะมาทุบทิ้งเพียงเพื่อล่องเรือชมฝั่งได้อย่างไรกัน

 

จบพิธีกรรม นักข่าวกำลังจะเดินทางกลับ มีชายสวมเสื้อดำปรากฏตัวขึ้น เขามาพร้อมกับธนู เขายิงธนูไปกลางสายน้ำปิง

 

นักข่าวหันหลังกลับไปสนใจคนชุดดำ เขาเป็นลูกบ้านนี้ อยู่กับแม่น้ำสายนี้มานาน การยิงลูกธนูไปกลางสายน้ำคือการประกาศตนและการปัดเป่าสิ่งเลวร้ายไปกับลูกธนู แล้วเขาก็มอบคันธนูโบราณให้กับแก่ฝาย

 

ถึงวันนี้ ฉันคิดว่า เชียงใหม่อาจไม่แพ้ เพราะมีศูนย์รวมที่เป็นจิตวิญญาณ มีศรัทธา มีวัฒนธรรมประเพณีที่หยั่งรากลึก มีหัวใจของศรัทธาที่เมืองอื่นอาจจะไม่มี


บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย