Skip to main content

พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี


มีคำถามว่า คนที่อยู่ในป่าเขาควรจะได้ใช้ทรัพยากรหรือไม่


ทรัพยากรเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ทุกคนต่างใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันทั้งนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนของประเทศ แต่จะใช้อย่างไรให้ยั่งยืน หรือใช้อย่างไรไม่ให้หมด นี่เป็นคำถามที่ทุกคนต้องตอบ


เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในป่า เขาก็ต้องใช้ประโยชน์จากป่า เราจะให้เขาเฝ้าป่าอยู่เฉยๆ ได้อย่างไร ป่าจึงต้องมีไว้กิน


ทุกชีวิตต้องอยู่รอด ต่างพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด อย่างเช่นการเข้าป่าเพื่อไปล่าสัตว์ หรือการนำนักท่องเที่ยวเข้าไปล่าสัตว์ป่า ตลอดจนการบุกเบิกป่าเพื่อเปิดพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของการยังชีพเพื่อการอยู่รอด


หากศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตอย่างใช้ความเข้าใจเราก็จะพบว่า มีปัจจัยต่าง ๆ อีกมากมายที่เราต้องทำความเข้าใจและเอื้อเฟื้อต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมในสังคมที่เป็นสุข

 

หมู่บ้านในดอยอินทนนท์

ที่ดอยอินทนนท์มีหมู่บ้านอยู่หลายหย่อมบ้าน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ แยกออกมาเป็นหย่อมๆ หมู่บ้านที่ฉันเดินทางไปในปี 2551 ชื่อหมู่บ้านตีนผา



หมู่บ้านตีนผา

 

มารู้จักหมู่บ้านตีนผากันก่อน

หมู่บ้านตีนผา เดิมชื่อหมู่บ้าน ห้วยห้อม เพราะมีลำห้วยและเครือห้อมอยู่มากมาย ห้อมใช้สำหรับย้อมผ้า แรกเริ่ม มีคนอยู่ด้วยกันไม่มากนัก เพียงสามหลังคาเรือน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านผาล้อม ที่ได้ชื่อหมู่บ้านผาล้อมเพราะมีแต่หน้าผาล้อมเอาไว้ ทุกครอบครัวเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียนเท่านั้น

 


แปลงผักของพ่อ


ต่อมาหมู่บ้านนี้ได้ชื่อใหม่อีกครั้งว่า “บ้านตีนผา”
บ้านตีนผา มีผู้คนมากขึ้น เพราะมีคนจากหมู่บ้านใกล้ๆ โยกย้ายเข้ามาอยู่ด้วย จำนวนหลังคาเรือนเพิ่มขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น และมีโบสถ์ ทุกวันนี้ผู้คนนับถือศาสนาคริสต์

 


ดอกไม้ริมทาง


ปัจจุบันที่หมู่บ้านตีนผา มี 43 ครอบครัว มีไฟฟ้าใช้ แต่ชาวบ้านตีนผาใช้แบบประหยัด ในบ้านใช้ไฟฟ้าเพียงดวงเดียว ไม่มีแม้แต่ไฟห้องน้ำ และยังคงหุงหาอาหารด้วยฟืนตามเดิม ในบ้านแต่ละหลังไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ใช้ไฟฟ้าแต่อย่างใด หรือมีน้อยมาก และไม่เปิดไฟตามถนน


นี่แสดงว่าชาวตีนผารู้จักพอเพียง คือรู้จักใช้เท่าที่จำเป็น

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น…
แพร จารุ
  ฉันรู้สึกว่ามันเป็นช่วงปีใหม่ที่ไม่รู้สึกสดชื่นนัก ดูเหงา ๆ วังเวง ในท่ามกลางงานเลี้ยงรื่นเริงที่มีอยู่และเป็นไปตามวาระของมัน ความรู้สึกอย่างนี้มันอยู่ลึกลงไปแต่ฉันสัมผัสได้อย่างเย็นเยียบจริง ๆ ฉันไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือไม่ หรือว่าฉันรู้สึกอยู่คนเดียว ว่าเป็นปีใหม่ที่ไม่มีความรื่นเริงอยู่จริง มันหดหู่อยู่ภายในหัวใจอย่างไรไม่รู้ คล้ายรู้สึกว่า ความเศร้ามารอคอยเคาะประตูอยู่หลังบ้าน... หลังจากงานรื่นเริงจบลงฉันถามตัวเองหลายครั้งว่าความรู้สึกนี้เป็นจริง หรือว่าฉันกำลังจะป่วยด้วยอาการกลัวหรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า อะไรทำให้ฉันคิดอย่างนั้น หรือเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของตัวเอง…
แพร จารุ
ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ “ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด” หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้นธนภูมิ อโศกตระกูลเขาเล่าว่า “ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว…
แพร จารุ
“หนาวไหม หนาวหรือยัง”“หนาวแล้ว เชียงไหมหนาวแล้ว”“ฉันจะไปเชียงใหม่”บทสนทนาหนึ่ง ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ รายงานข่าว ขณะนี้ยอดดอยอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะดอยสูงอุณหภูมิติดลบแล้ว เกิดน้ำค้างแข็ง มีคำถามว่า นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะมาเชียงใหม่ควรได้รับรู้ข่าวคราวอะไรบ้างนอกจากว่า หนาวแล้วหรือหนาวกี่องศา ชายคนหนึ่งพูดขึ้นในยามบ่าย เขาพูดต่อว่า ถ้าอยากให้คนอื่นที่มาเที่ยวเชียงใหม่ รู้ว่าเขาควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมืองและรักเมืองนี้ เราต้องให้ข่าวสารเขามากกว่านี้  เราควรต้องทำงานกับสื่อให้มากว่านี้  เขาเป็นหนึ่งในคนทำงานภาคีฯการมุ่งเน้นให้คนเชียงใหม่ดูแลเมืองเชียงใหม่…
แพร จารุ
มีเพื่อนผู้หวังดีส่งเมลมาว่า ให้เขียนเรื่องดี ๆ เพื่อเมืองเชียงใหม่บ้าง ทำไมถึงมองไม่เห็นความงามของเมืองบ้าง  ฉันจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา               1ถ้ามองลงมาจากฟ้า เราจะเห็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงกลาง มีป่าดอยสุเทพอยู่ทางตะวันตก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางตะวันออก  ช่างเป็นเมืองงดงามที่สมบูรณ์ เล่ากันว่า เดิมทีผู้คนในเมืองนี้อยู่กันอย่างสงบสันติ แต่แน่นอนเมืองที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมมีผู้คนต้องการ เข้ามาอยู่มาครอบครอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติบนดอยสูง หลายร้อยปีต่อมา เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว…
แพร จารุ
ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีสาระอะไรเลย เล่าเรื่องนี้ เพราะวันพิเศษเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถือว่า เป็นการผจญภัยในดินแดนที่รื่นรมย์เลยทีเดียวฉันจะเรียกเขาว่า แขกพิเศษ เพราะเป็นการมาเยือนแบบไม่คาดคิดมาก่อน และต่างมาในวันเดียวกันด้วย อีกทั้งไม่ได้นัดหมายมาล่วงหน้า ต่างมาแบบตั้งตัวไม่ติดทั้งนั้น แขกคนที่หนึ่ง เขาเดินทางมาด้วยรถมอเตอร์ไชค์ มาถึงก่อนที่เจ้าของบ้านจะทันตื่น ได้ยินเขาส่งเสียงตะคอก เจ้าสองตัวแม่ลูก ที่ทำหน้าที่เฝ้าบ้าน มันเห่าเสียงแหลมเล็กตามแบบของหมาเล็ก และยังเยาว์ ฉันว่าคนเลี้ยงหมาทุกคนไม่ชอบให้ใครตะคอกหมา และยินดีที่มีคนรักหมาของตัวเอง…
แพร จารุ
ไม่รักไม่บอก  เออ...เหมือนมีใครมาพูดอยู่ข้างหู บอกว่า ฉันรักเธอนะจึงบอก แต่ว่าเรื่องที่ฉันจะบอกนั้น เธออาจไม่ชอบ เธออาจจะโกรธฉัน  แต่ที่ฉันต้องบอกเพราะว่า ฉันรักเธอและปรารถนาดีต่อเธอจริง ๆ “ฉันไม่บอกไม่ได้แล้ว”ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกรำคาญใจ พูดพร่ำอยู่ทำไม อยากบอกอะไรก็บอกมาเถอะ ใช่...ไม่รักไม่บอกค่ะ เป็นชื่อหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ มีการ์ตูนน่ารักๆ เปิดไปหน้าแรก ผู้เขียนบอกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเรื่องน่ารัก มีเรื่องดีงามที่เขาค้นพบอยู่มากมาย เขาเล่าถึงเรื่อง เด็กชายคนหนึ่ง ตามแม่ไปซื้อของที่ร้านเกษมสโตร์ เขากินไอศกรีมรอแม่…
แพร จารุ
เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพร จารุ
“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา  เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ  เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี…