Skip to main content

 

ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน

 

เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้


ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน

 

ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า

"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"

ทำไมต้องมีการปลูกป่ากันแนวเขตอุทยาน นั่นแสดงว่าชาวบ้านบุกรุกป่าอยู่เสมอ หรือว่าเจ้าหน้าที่อุทยานเข้าใจผิดว่าตรงไหนเป็นที่อยู่ที่ทำกินของชาวบ้าน

 

เรื่องมันเป็นมาอย่างนี้ค่ะ อันดับแรก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ มานำเสนอชาวบ้านให้ทำการปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา ในเขตพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อว่าจะได้เก็บพืชผลกิน และได้ไม้ไว้ใช้โดยไม่ต้องไปหาไม้จากที่อื่น เพราะไม้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมบ้านในอนาคต และเพื่อเป็นหลักประกันว่า เราไม่บุกรุกป่าแน่ๆ เรามาสร้างรั้วเป็นเขตกั้นแดนกันเถอะ

 

ในวันที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิมาเสนอแนวคิดนี้มีการถกเถียงกันใหญ่


ฝ่ายหนึ่งเห็นดีเห็นงามว่า ควรจะปลูกหากว่าเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ถูกจับหรือถูกมองว่าอยู่อย่างผิดกฎหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น และบางคนว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงามากๆ พืชไร่ก็จะไม่ได้ผล เราควรจะปลูกต้นไม้ให้ห่างออกไปจากที่ทำกินผืนสุดท้ายสักสองสามวาได้ไหม มีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง



ผ่านไปหลายชั่วโมงทีเดียว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ หนุ่มบอกว่า ตกลงกันเองถ้าไม่ปลูกก็ไม่ปลูก แต่ถ้าปลูกจะติดต่ออุทยานและนำกล้าไม้มาให้


"ผมไม่ได้อยู่ร่วมกับพี่น้องตลอด ไม่นานผมก็ออกไป หากพี่น้องไม่อยากปลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะถึงพี่น้องจะปลูกตามคำแนะนำ แต่เมื่อผมออกไปพี่น้องไม่ดูแลมันก็ตายไม่มีประโยชน์ ดังนั้นตกลงกันเองนะครับ"

 

ฉันในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็รอลุ้นว่าจะออกมาอย่างไร เสียงเขาถกเถียงกันฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะเมื่อเขาพูดกันเองเขาใช้ภาษาของตัวเองคือภาษาปกาเก่อญอ


ชาวบ้านปกาเก่อญอ มีภาษาพูดและภาษาเขียนของตัวเอง ในระหว่างฟังเขาคุยกัน ฉันก็ถามแม่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดแปลให้ฟังเป็นระยะ ๆ

 

เมื่อฉันถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ในทางปฎิบัติจะเป็นจริงได้ไหม การปลูกป่ากันแนวเขต ในเมื่อสิทธิในการอยู่กับป่าของชุมชนยังไม่ได้รับการรับรองอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจเรื่อง พ.ร.บ.ป่าชุมชนก็ไม่เป็นผล

 

เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่เข้าไปทำงานบอกฉันว่า ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ

"เราคิดว่าถ้าชาวบ้านแสดงเจตนาโดยการปลูกต้นไม้สุดขอบพื้นที่ทำกินให้มันเป็นแนวป่า เป็นรอยต่อระหว่างที่ทำกินกับป่าจริง ปลูกขึ้นมาโดยเจตนาที่ดีของชาวบ้าน เพราะมันเป็นป่าต้นน้ำของคนทั้งหมด ของคนต้นน้ำของคนปลายน้ำคนที่ใช้น้ำร่วมกัน"

 

ฉันบอกเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ฉันไม่ห่วงเรื่องเจตนาของชาวบ้านแต่ห่วงเรื่องอุทยานต่างหาก

 

ฉันได้คุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานในวันนั้น เจ้าหน้าที่อุทยานบอกว่า

"ต้องยอมรับจริงๆ ว่าป่าถูกทำลายไป ต้นไม้ถูกตัด ภูเขาแหว่งๆ ไปเรื่อยๆ"

ก่อนเดินทางกลับลงจากดอย ฉันได้แวะไปที่อุทยานแห่งชาติดอยอินนนนท์เพื่อคุยกับหัวหน้าอุทยาน

 

นายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กล่าวว่า

"ทางชาวบ้านกับเรามีปัญหาในเรื่องแนวเขต ชาวบ้านชอบขยายพื้นที่ทำกินเข้าไปในพื้นที่ป่า เพราะว่ามันไม่มีรั้วไม่มีอะไรกั้น เราเผลอเขาก็ขยายเพราะฉะนั้นแนวความคิดตรงนี้ก็คือว่า ไปปลูกต้นไม้กันรอบพื้นที่ที่ทำกินชาวบ้านเป็นแนวเขตกั้น "

 

ถ้าอยู่หลังต้นไม้ไปจะไม่จับใช่ไหม

"ถ้าเป็นพื้นที่เดิมจะไม่จับอยู่แล้ว อยู่ตามมติครม.ขออย่างเดียวอย่าไปขยายเพิ่ม ที่จับกันอยู่ จับเฉพาะรายที่ขยายเพิ่มเท่านั้นเอง"

 

ถ้าหัวหน้าอุทยานย้ายไปที่อื่น มีคนใหม่เข้ามา

"ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องที่ดี ๆ อย่างนี้ คนใหม่มาอย่างไร ก็น่าจะสานต่อได้เพราะเป็นเรื่องดีๆ"

นี้เป็นถ้อยคำของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น…
แพร จารุ
  ฉันรู้สึกว่ามันเป็นช่วงปีใหม่ที่ไม่รู้สึกสดชื่นนัก ดูเหงา ๆ วังเวง ในท่ามกลางงานเลี้ยงรื่นเริงที่มีอยู่และเป็นไปตามวาระของมัน ความรู้สึกอย่างนี้มันอยู่ลึกลงไปแต่ฉันสัมผัสได้อย่างเย็นเยียบจริง ๆ ฉันไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือไม่ หรือว่าฉันรู้สึกอยู่คนเดียว ว่าเป็นปีใหม่ที่ไม่มีความรื่นเริงอยู่จริง มันหดหู่อยู่ภายในหัวใจอย่างไรไม่รู้ คล้ายรู้สึกว่า ความเศร้ามารอคอยเคาะประตูอยู่หลังบ้าน... หลังจากงานรื่นเริงจบลงฉันถามตัวเองหลายครั้งว่าความรู้สึกนี้เป็นจริง หรือว่าฉันกำลังจะป่วยด้วยอาการกลัวหรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า อะไรทำให้ฉันคิดอย่างนั้น หรือเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของตัวเอง…
แพร จารุ
ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ “ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด” หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้นธนภูมิ อโศกตระกูลเขาเล่าว่า “ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว…
แพร จารุ
“หนาวไหม หนาวหรือยัง”“หนาวแล้ว เชียงไหมหนาวแล้ว”“ฉันจะไปเชียงใหม่”บทสนทนาหนึ่ง ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ รายงานข่าว ขณะนี้ยอดดอยอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะดอยสูงอุณหภูมิติดลบแล้ว เกิดน้ำค้างแข็ง มีคำถามว่า นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะมาเชียงใหม่ควรได้รับรู้ข่าวคราวอะไรบ้างนอกจากว่า หนาวแล้วหรือหนาวกี่องศา ชายคนหนึ่งพูดขึ้นในยามบ่าย เขาพูดต่อว่า ถ้าอยากให้คนอื่นที่มาเที่ยวเชียงใหม่ รู้ว่าเขาควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมืองและรักเมืองนี้ เราต้องให้ข่าวสารเขามากกว่านี้  เราควรต้องทำงานกับสื่อให้มากว่านี้  เขาเป็นหนึ่งในคนทำงานภาคีฯการมุ่งเน้นให้คนเชียงใหม่ดูแลเมืองเชียงใหม่…
แพร จารุ
มีเพื่อนผู้หวังดีส่งเมลมาว่า ให้เขียนเรื่องดี ๆ เพื่อเมืองเชียงใหม่บ้าง ทำไมถึงมองไม่เห็นความงามของเมืองบ้าง  ฉันจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา               1ถ้ามองลงมาจากฟ้า เราจะเห็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงกลาง มีป่าดอยสุเทพอยู่ทางตะวันตก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางตะวันออก  ช่างเป็นเมืองงดงามที่สมบูรณ์ เล่ากันว่า เดิมทีผู้คนในเมืองนี้อยู่กันอย่างสงบสันติ แต่แน่นอนเมืองที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมมีผู้คนต้องการ เข้ามาอยู่มาครอบครอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติบนดอยสูง หลายร้อยปีต่อมา เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว…
แพร จารุ
ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีสาระอะไรเลย เล่าเรื่องนี้ เพราะวันพิเศษเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถือว่า เป็นการผจญภัยในดินแดนที่รื่นรมย์เลยทีเดียวฉันจะเรียกเขาว่า แขกพิเศษ เพราะเป็นการมาเยือนแบบไม่คาดคิดมาก่อน และต่างมาในวันเดียวกันด้วย อีกทั้งไม่ได้นัดหมายมาล่วงหน้า ต่างมาแบบตั้งตัวไม่ติดทั้งนั้น แขกคนที่หนึ่ง เขาเดินทางมาด้วยรถมอเตอร์ไชค์ มาถึงก่อนที่เจ้าของบ้านจะทันตื่น ได้ยินเขาส่งเสียงตะคอก เจ้าสองตัวแม่ลูก ที่ทำหน้าที่เฝ้าบ้าน มันเห่าเสียงแหลมเล็กตามแบบของหมาเล็ก และยังเยาว์ ฉันว่าคนเลี้ยงหมาทุกคนไม่ชอบให้ใครตะคอกหมา และยินดีที่มีคนรักหมาของตัวเอง…
แพร จารุ
ไม่รักไม่บอก  เออ...เหมือนมีใครมาพูดอยู่ข้างหู บอกว่า ฉันรักเธอนะจึงบอก แต่ว่าเรื่องที่ฉันจะบอกนั้น เธออาจไม่ชอบ เธออาจจะโกรธฉัน  แต่ที่ฉันต้องบอกเพราะว่า ฉันรักเธอและปรารถนาดีต่อเธอจริง ๆ “ฉันไม่บอกไม่ได้แล้ว”ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกรำคาญใจ พูดพร่ำอยู่ทำไม อยากบอกอะไรก็บอกมาเถอะ ใช่...ไม่รักไม่บอกค่ะ เป็นชื่อหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ มีการ์ตูนน่ารักๆ เปิดไปหน้าแรก ผู้เขียนบอกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเรื่องน่ารัก มีเรื่องดีงามที่เขาค้นพบอยู่มากมาย เขาเล่าถึงเรื่อง เด็กชายคนหนึ่ง ตามแม่ไปซื้อของที่ร้านเกษมสโตร์ เขากินไอศกรีมรอแม่…
แพร จารุ
เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพร จารุ
“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา  เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ  เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี…