Skip to main content

 

ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน

 

เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้


ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน

 

ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า

"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"

ทำไมต้องมีการปลูกป่ากันแนวเขตอุทยาน นั่นแสดงว่าชาวบ้านบุกรุกป่าอยู่เสมอ หรือว่าเจ้าหน้าที่อุทยานเข้าใจผิดว่าตรงไหนเป็นที่อยู่ที่ทำกินของชาวบ้าน

 

เรื่องมันเป็นมาอย่างนี้ค่ะ อันดับแรก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ มานำเสนอชาวบ้านให้ทำการปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา ในเขตพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อว่าจะได้เก็บพืชผลกิน และได้ไม้ไว้ใช้โดยไม่ต้องไปหาไม้จากที่อื่น เพราะไม้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมบ้านในอนาคต และเพื่อเป็นหลักประกันว่า เราไม่บุกรุกป่าแน่ๆ เรามาสร้างรั้วเป็นเขตกั้นแดนกันเถอะ

 

ในวันที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิมาเสนอแนวคิดนี้มีการถกเถียงกันใหญ่


ฝ่ายหนึ่งเห็นดีเห็นงามว่า ควรจะปลูกหากว่าเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ถูกจับหรือถูกมองว่าอยู่อย่างผิดกฎหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น และบางคนว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงามากๆ พืชไร่ก็จะไม่ได้ผล เราควรจะปลูกต้นไม้ให้ห่างออกไปจากที่ทำกินผืนสุดท้ายสักสองสามวาได้ไหม มีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง



ผ่านไปหลายชั่วโมงทีเดียว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ หนุ่มบอกว่า ตกลงกันเองถ้าไม่ปลูกก็ไม่ปลูก แต่ถ้าปลูกจะติดต่ออุทยานและนำกล้าไม้มาให้


"ผมไม่ได้อยู่ร่วมกับพี่น้องตลอด ไม่นานผมก็ออกไป หากพี่น้องไม่อยากปลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะถึงพี่น้องจะปลูกตามคำแนะนำ แต่เมื่อผมออกไปพี่น้องไม่ดูแลมันก็ตายไม่มีประโยชน์ ดังนั้นตกลงกันเองนะครับ"

 

ฉันในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็รอลุ้นว่าจะออกมาอย่างไร เสียงเขาถกเถียงกันฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะเมื่อเขาพูดกันเองเขาใช้ภาษาของตัวเองคือภาษาปกาเก่อญอ


ชาวบ้านปกาเก่อญอ มีภาษาพูดและภาษาเขียนของตัวเอง ในระหว่างฟังเขาคุยกัน ฉันก็ถามแม่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดแปลให้ฟังเป็นระยะ ๆ

 

เมื่อฉันถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ในทางปฎิบัติจะเป็นจริงได้ไหม การปลูกป่ากันแนวเขต ในเมื่อสิทธิในการอยู่กับป่าของชุมชนยังไม่ได้รับการรับรองอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจเรื่อง พ.ร.บ.ป่าชุมชนก็ไม่เป็นผล

 

เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่เข้าไปทำงานบอกฉันว่า ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ

"เราคิดว่าถ้าชาวบ้านแสดงเจตนาโดยการปลูกต้นไม้สุดขอบพื้นที่ทำกินให้มันเป็นแนวป่า เป็นรอยต่อระหว่างที่ทำกินกับป่าจริง ปลูกขึ้นมาโดยเจตนาที่ดีของชาวบ้าน เพราะมันเป็นป่าต้นน้ำของคนทั้งหมด ของคนต้นน้ำของคนปลายน้ำคนที่ใช้น้ำร่วมกัน"

 

ฉันบอกเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ฉันไม่ห่วงเรื่องเจตนาของชาวบ้านแต่ห่วงเรื่องอุทยานต่างหาก

 

ฉันได้คุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานในวันนั้น เจ้าหน้าที่อุทยานบอกว่า

"ต้องยอมรับจริงๆ ว่าป่าถูกทำลายไป ต้นไม้ถูกตัด ภูเขาแหว่งๆ ไปเรื่อยๆ"

ก่อนเดินทางกลับลงจากดอย ฉันได้แวะไปที่อุทยานแห่งชาติดอยอินนนนท์เพื่อคุยกับหัวหน้าอุทยาน

 

นายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กล่าวว่า

"ทางชาวบ้านกับเรามีปัญหาในเรื่องแนวเขต ชาวบ้านชอบขยายพื้นที่ทำกินเข้าไปในพื้นที่ป่า เพราะว่ามันไม่มีรั้วไม่มีอะไรกั้น เราเผลอเขาก็ขยายเพราะฉะนั้นแนวความคิดตรงนี้ก็คือว่า ไปปลูกต้นไม้กันรอบพื้นที่ที่ทำกินชาวบ้านเป็นแนวเขตกั้น "

 

ถ้าอยู่หลังต้นไม้ไปจะไม่จับใช่ไหม

"ถ้าเป็นพื้นที่เดิมจะไม่จับอยู่แล้ว อยู่ตามมติครม.ขออย่างเดียวอย่าไปขยายเพิ่ม ที่จับกันอยู่ จับเฉพาะรายที่ขยายเพิ่มเท่านั้นเอง"

 

ถ้าหัวหน้าอุทยานย้ายไปที่อื่น มีคนใหม่เข้ามา

"ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องที่ดี ๆ อย่างนี้ คนใหม่มาอย่างไร ก็น่าจะสานต่อได้เพราะเป็นเรื่องดีๆ"

นี้เป็นถ้อยคำของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
บทความที่พยายามนำพาผู้อ่านฝ่าม่านมายาคติว่าด้วยการจัดการทรัพยากรป่าไม้ด้วยการป้องกันไฟป่าสู่รูปแบบการจัดการแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพด้วยการ"ชิงเผา"  
แพร จารุ
บน ฟ้า มี เมฆ ลอย บน ดอย มี เมฆ บัง มี สาว งาม ชื่อ ดัง อยู่ หลัง แดน ดง ป่า     เนื้อเพลงมิดะค่ะ สองบรรทัด....เพราะเหลือเกิน และเข้าไปอยู่ในหัวใจใครต่อใครได้ไม่ยาก บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ฟังเพียงแค่นี้ก็จินตนาการได้กว้างไกล หัวใจก็ลอยไปถึงไหน ๆ แล้ว  
แพร จารุ
 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ   สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง    
แพร จารุ
  1   เหมือนเมืองบาป ฉันบอกเพื่อน ๆ จากเมืองกรุงว่า มาเชียงใหม่ อย่าลืมไปกินข้าวที่สุดสะแนนนะ อาหารหลายอย่างอร่อย และพบใครๆ ที่สุดสะแนนได้ไม่ยาก นักเขียน นักข่าว นักดนตรี นักร้อง ศิลปินวาดภาพ งานปั้น และคนที่ยังไม่มีงานทำและไม่อยากทำงานอะไรเลย
แพร จารุ
เก็บดอกไม้สีขาวแล้วไปฟังดนตรีกันค่ะ ใครมาเชียงใหม่ช่วงนี้ มีดอกไม้สีขาวบานรับ เช่น ดอกปีบ มองขึ้นไปออกดอกพราวเต็มต้น สวยงาม หอม ชวนเด็ก ๆ ไปเก็บดอกปีบที่ร่วงอยู่ตามพื้นมาร้อยมาลัยเล่น ปีบเป็นต้นไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดียิ่ง เรียกว่าแทบไม่ต้องดูแลกันเลยทีเดียว ต้นไม้แกร่งแต่ให้ดอกขาวสวยบอบบางและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เดินไปที่ไหนทั่วเชียงใหม่ก็พบดอกปีบได้ไม่ยากค่ะ คราวนี้ ก็มาถึงฟังดนตรีค่ะ ดนตรีในเมืองเชียงใหม่ก็มีฟังทุกแห่งเหมือนกันค่ะ เรียกว่าหาฟังกันไม่ยาก เพราะนักดนตรีในเมืองเชียงใหม่มีเยอะ ไม่ต้องจ่ายเงินก็ฟังได้ เรียกว่ามีดนตรีฟรีอยู่ทั่วไป…
แพร จารุ
    อย่าเชื่อว่าผู้คนต้องการความร่ำรวยมากกว่าอย่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นสุข แต่ขออภัยก่อนฉันมัวแต่ปลูกต้นไม้ หน้าบ้านของฉันเป็นผืนดินที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือเป็นของธนาคารกสิกรไทย มันถูกไถจนหมดสิ้นภายในวันเดียว ฉันจึงเริ่มปลูกต้นไม้ใหม่เป็นรั้วแทนกำแพงบ้านอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหวังว่ามันจะช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง
แพร จารุ
    เปิดเมล์พบข้อความนี้ถูกส่งเข้ามา *** หนูเป็นคนกรุงเทพฯ เคยมีแฟนเป็นหนุ่มกลายสมัยที่เรียนด้วยกัน เขาเคยชวนไปเที่ยวบ้านกลาย หนูอ่านเรื่องบ้านกลายที่พี่เขียนในประชาไท รู้สึกเดือดร้อนแม้ว่าหนูจะไม่ไปที่นั่นแล้ว เพราะหนุ่มกลาย คนที่หนูรักไม่น่ารัก ไม่ดี แต่ทะเลกลายดีสวยงาม อาหารทะเลมีมาก คนอื่น ๆ ที่กลายที่หนูรู้จักก็ดีค่ะ เขาดีกับหนูมาก คนใจดี หนูจึงอยาจะร่วมปกป้องด้วย หนูอ่านพบเรื่อง SSB และลองเขียนสรุปมาให้พี่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือในชื่อเต็มว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard : SSB)…
แพร จารุ
  งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย ***************
แพร จารุ
  บ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 30 สิงหาคม 2553              คุณหญิงที่รัก  
แพร จารุ
โลกนี้คนชั่วมากเหลือเกิน และบรรดาคนชั่ว ๆ ก็ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ พวกเขามีอำนาจที่จะอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ ทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งอาหารที่คนพอจะทำมาหากินได้ พวก เขาขุดภูเขา ถมทะเล โดยไม่สนใจว่าเจ้าของเขาอยู่กันอย่างไร ต่อไปกะปิอร่อยๆ ที่ฉันเอามาฝากคุณก็จะไม่มีแล้ว เพราะที่บ้านฉันจะมี เซฟรอน คุณรู้ไหมมันคืออะไร คือบริษัทยักษ์ใหญ่ของต่างชาติ ที่เข้ามาถมทะเลสร้างท่าเรือ เพื่อขุดเจาะหาพลังงานไปขาย โดยไม่สนใจว่าเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ป้าของฉัน แกบอกว่า นอนไม่หลับมานานแล้ว แกกังวลว่าจะอยู่อย่างไร แม่ของฉันอายุเก้าสิบปี ฉันไม่กลับบ้านมาสองปี แม่เก็บกระดาษไว้ให้ฉันสามแผ่น…