Skip to main content

 

งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย

***************
อา ออ ออ ออ หอ ออ อ้า
พอฤกษ์งามยามดี ป่านนี้ชอบยามพระเวลา
ออว่าจำเพาะ เจาะจงเรียกหาหลวงรองคนกล้า ถ้าว่าหลวงรองไม่มา ลูกยาจะเห็นหน้าใคร
ออว่ามาทางสายด้าย หรือไล่มาทางสายไหม
หรือว่าคนทรงไม่ชอบเนื้อหรือว่าคนเชื้อไม่ชอบใจ
ว่าจับให้แข็งๆ ขาดเรี่ยวขาดเรี่ยวสักเท่าไร
มาตะ มาตะ ขอให้พ่อมาสักเดียวใจ
ว่างานนี้มันกวดขันไม่ใช่ผลัดวันประกันพรุ่ง
อย่าให้ผีขี้ร้ายมันดูถูก เราลูกผู้ชายเดียวกัน
หรือว่าหลวงรองพ่อหนา มันตายโหง ไม่สู้เข้าโรงมโนราห์..........
ฯลฯ
 
ด้วยถ้อยคำขับขานอันสอดคล้องกังวานกับเสียงปี่มโนราห์ที่รัวถี่และเล็กแหลม อาจเป็นแรงขับส่งให้สถานที่ซึ่งยกเป็นปะรำพิธีชั่วคราวนี้ศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังยิ่งขึ้น  งานเชื้อท่านกลายปีนี้ จึงเนืองแน่นไปด้วยลูกหลานบ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตลอดจนศรัทธาในพื้นที่ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลที่ทราบข่าว จนทำให้บริเวณสถานที่ตั้งศาลท่านกลาย ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ศาลาล่าง” ดูคับแคบไปถนัดตา

 
โรงมโนราห์โรงครู เป็นอาคารชั่วคราวติดพื้นดิน หลังคามุงจาก ด้านหนึ่งยกแท่นสูงขึ้นสำหรับตั้งของเซ่นไหว้ และแทนที่นั่งสำหรับคนทรง พื้นที่ส่วนอื่นปูเสื่อกับพื้นดินสำหรับเครื่องดนตรีและมโนราห์ ที่เหลือพอให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้อาศัยนั่งร่วมในพิธี

เสียงปี่ถี่กระชั้น สำทับด้วยเสียงทับกับตะโพนที่หนักแน่นทรงพลัง มีเสียงโหม่งและฉิ่งคอยขับขานเพิ่มความหวานอย่างมีมนต์เสน่ห์
   เมื่อบรรเลงเป็นจังหวะจะโคนลงตัว มโนราห์สูงวัยที่ดูท่าทางไร้เรี่ยวแรงเมื่อตอนกลางวัน บัดนี้น้ำเสียงดุดันทรงพลังเริ่มขับบทไหว้ครู ลูกคู่รับเป็นจังหวะ พาให้หัวใจคนชมฮึกเหิมระคนประหวั่นพรั่นพรึงในที  ผู้คนรอบข้างเริ่มเบียดชิดเข้ามาติดโรงจนแน่นขนัดแบบไม่เสียชื่อเวทีบ้านๆ

งานเชื้อท่านกลายเปรียบได้ดังพิธีบวงสรวง ที่เชิญท่านกลายมาเข้าทรงคนทรงซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ศาลซึ่งมีอยู่ตลอดลำน้ำ โดยมีศาลที่ปากคลองกลายจะทำพิธีเป็นจุดสุดท้าย
 

ท่านกลาย หรือ ทวดกลาย หรือ พ่อท่านกลาย ที่ชาวบ้านเรียกขานกัน เปรียบเสมือนเทพผู้ปกปักรักษาลำน้ำคลองกลายมายาวนาน ตามประวัติซึ่งเล่าสืบทอดกันมา ท่านกลาย คือบุตรชายคนสุดท้องของพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
  ในยุคที่เป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา คราวหนึ่งเมื่อมีศึกสงครามมาประชิดเมือง ท่านได้ออกรบและเสียชีวิตลงแต่ไม่มีผู้ใดพบศพ จนผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ศพได้ลอยทวนน้ำขึ้นมาจากปากน้ำคลองกลายโดยไม่เน่าเปื่อย ผู้คนจึงพากันฝังศพท่านไว้ทางทิศเหนือของคลองกลายใกล้ๆ ปากแม่น้ำ น่าเสียดายที่กว่า 50 ปีที่ผ่านมา บริเวณนั้นได้ถูกน้ำกัดเซาะพังทลายไปเสียแล้ว 

ข้อห้ามหลักๆ ของการใช้ลำน้ำคลองกลายที่ชาวบ้านต่างทราบกันคือ ห้ามซักมุ้ง ห้ามล้างเนื้อหมู และทำความสกปรกลงคลองกลายโดยเด็ดขาด ใครไม่ทำตามหรือลบหลู่ดูหมิ่นจะได้รับโทษต่างๆ นานา
   แต่ไม่ว่าแท้จริงแล้วสิ่งใดจะดลบันดาลให้เกิดความวิบัติต่อผู้ไม่เคารพ ความเชื่อนี้คือกุศโลบายที่ช่วยรักษาลำน้ำคลองกลายให้ยังเป็นคลองกลายจนกระทั่งปัจจุบัน

การบวงสรวงในปีนี้ก็เป็นเช่นทุกปี ที่มีการเชิญครูหมอมโนราห์ เรียกว่า
  “มโนราห์เชื้อ”  มาเป็นประธานในการพิธี เป็นผู้ส่งสารเชื้อเชิญ เริ่มต้นด้วยร้องเรียก “หลวงรอง” อดีตคือผู้รับใช้ของท่าน เป็นที่ทราบกันว่าหากหลวงรองไม่ลงทรงแล้ว เจ้าองค์อื่นๆ ก็จะไม่มาลงทรงเช่นกัน เนื่องจากไม่มีคนคอยรับใช้ ที่จะถ่ายทอดความต้องการต่างๆ

บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องท่านกลายนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่หลอมรวมชุมชนพุทธและมุสลิมไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งต่างให้เกียรติในศาสนาและความเชื่อซึ่งกันและกัน ชาวมุสลิมไม่ได้ถือท่านกลายเป็นเทพเช่นชาวพุทธเพราะผิดหลักศาสนา แต่ก็มิได้ลบหลู่
  กลับให้ความนับถือเป็นหนึ่งบรรพชนที่คนรุ่นต่อมาควรค่าเคารพ ชาวพุทธเองก็ยึดมั่นหนักแน่นว่าในงานท่านกลาย อาหารคาวหวานจะต้องทำให้เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ให้ทุกคนได้แบ่งปันกันกินเช่นพี่น้องร่วมหมู่บ้าน

พิธีภาคค่ำจบสิ้นไป จนรุ่งสางของอีกวันมีการเลี้ยงพระและการเข้าทรงอีกครั้งด้วยขั้นตอนเดียวกับช่วงค่ำ หากแต่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สอบถามข้อข้องใจ ทั้งความเป็นไปของบ้านเมืองและเรื่องส่วนตัว
 

ทะเลกลายที่หากินหาอยู่ของผู้คน
ในโมงยามที่ทั้งหมู่บ้านกำลังพบกับระลอกคลื่นของความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นเกลียวคลื่นในนามของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการมาของท่าเรือบริษัทขุดเจาะน้ำมัน (เป็นสร้างฐานปฏิบัติการเพื่อการขุดเจาะน้ำมัน) และตามมาด้วยนิคมอุตสาหกรรม อันดับแรก โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หลายคนรู้สึกหวั่นกลัวยิ่งกว่าคลื่นมรสุมกลางทะเล   จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีลูกหลานจำนวนมากเฝ้ารอเพื่อสอบถามความเป็นไป ในอนาคตของหมู่บ้านต่อผู้ซึ่งเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยดูแลลูกหลานมา อย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือบูชาย่อมฟังเสียงร้องของลูกหลาน ทุกอย่างจึงต้องขึ้นอยู่กับคนกลาย รวมถึงคนเมืองคอน และคนไทยทั้งหมด ว่าเราจะร่วมกันกำหนดอนาคตของบ้านเมือง และลูกหลานเราไว้เช่นไร ก็คงย่อมเป็นไปเช่นนั้น
 

นี่คือสิ่งแปลกปลอมกลางทะเลที่จะมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและความล่มสลายของชุมชน

ประวัติศาสตร์ยาวนานของบ้านกลาย อยู่คู่กับการ
เปลี่ยนแปลงเหมือนคำว่า “กลาย” หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งก็ภาวนาให้มันเป็นไปในทางที่ดีที่งาม และชาวบ้านกลายทุกคนได้มีส่วนรับรู้และเห็นพ้องตรงกัน เชื่อว่าเมื่อนั้นจะไม่มีพายุหรือคลื่นลมระลอกใดให้เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับลูกหลานชาวเลอย่างคนกลายแน่นอน

การเชื้อท่านกลายที่มีทุกปีถือเป็นหลักยึดที่น่ายินดีที่ชาวบ้านมาร่วมกันเนืองแน่น และหากทุกผู้คนแข็งขันแบบนี้ในการต่อต้านการรังแกของกลุ่มทุนที่จะมาใช้ทะเล เพื่อสิ่งอื่นที่มิใช่เพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งคนและสัตว์ เชื่อว่าประชาชนจะมีชัยแน่นอน

และเมื่อนั้น คำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรม คืออีกเกราะป้องปกชุมชน จะเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจักษ์ที่บ้านกลาย

**พิมพ์ครั้งแรก คมชัดลึก
 
 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
บทความที่พยายามนำพาผู้อ่านฝ่าม่านมายาคติว่าด้วยการจัดการทรัพยากรป่าไม้ด้วยการป้องกันไฟป่าสู่รูปแบบการจัดการแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพด้วยการ"ชิงเผา"  
แพร จารุ
บน ฟ้า มี เมฆ ลอย บน ดอย มี เมฆ บัง มี สาว งาม ชื่อ ดัง อยู่ หลัง แดน ดง ป่า     เนื้อเพลงมิดะค่ะ สองบรรทัด....เพราะเหลือเกิน และเข้าไปอยู่ในหัวใจใครต่อใครได้ไม่ยาก บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ฟังเพียงแค่นี้ก็จินตนาการได้กว้างไกล หัวใจก็ลอยไปถึงไหน ๆ แล้ว  
แพร จารุ
 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ   สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง    
แพร จารุ
  1   เหมือนเมืองบาป ฉันบอกเพื่อน ๆ จากเมืองกรุงว่า มาเชียงใหม่ อย่าลืมไปกินข้าวที่สุดสะแนนนะ อาหารหลายอย่างอร่อย และพบใครๆ ที่สุดสะแนนได้ไม่ยาก นักเขียน นักข่าว นักดนตรี นักร้อง ศิลปินวาดภาพ งานปั้น และคนที่ยังไม่มีงานทำและไม่อยากทำงานอะไรเลย
แพร จารุ
เก็บดอกไม้สีขาวแล้วไปฟังดนตรีกันค่ะ ใครมาเชียงใหม่ช่วงนี้ มีดอกไม้สีขาวบานรับ เช่น ดอกปีบ มองขึ้นไปออกดอกพราวเต็มต้น สวยงาม หอม ชวนเด็ก ๆ ไปเก็บดอกปีบที่ร่วงอยู่ตามพื้นมาร้อยมาลัยเล่น ปีบเป็นต้นไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดียิ่ง เรียกว่าแทบไม่ต้องดูแลกันเลยทีเดียว ต้นไม้แกร่งแต่ให้ดอกขาวสวยบอบบางและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เดินไปที่ไหนทั่วเชียงใหม่ก็พบดอกปีบได้ไม่ยากค่ะ คราวนี้ ก็มาถึงฟังดนตรีค่ะ ดนตรีในเมืองเชียงใหม่ก็มีฟังทุกแห่งเหมือนกันค่ะ เรียกว่าหาฟังกันไม่ยาก เพราะนักดนตรีในเมืองเชียงใหม่มีเยอะ ไม่ต้องจ่ายเงินก็ฟังได้ เรียกว่ามีดนตรีฟรีอยู่ทั่วไป…
แพร จารุ
    อย่าเชื่อว่าผู้คนต้องการความร่ำรวยมากกว่าอย่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นสุข แต่ขออภัยก่อนฉันมัวแต่ปลูกต้นไม้ หน้าบ้านของฉันเป็นผืนดินที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือเป็นของธนาคารกสิกรไทย มันถูกไถจนหมดสิ้นภายในวันเดียว ฉันจึงเริ่มปลูกต้นไม้ใหม่เป็นรั้วแทนกำแพงบ้านอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหวังว่ามันจะช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง
แพร จารุ
    เปิดเมล์พบข้อความนี้ถูกส่งเข้ามา *** หนูเป็นคนกรุงเทพฯ เคยมีแฟนเป็นหนุ่มกลายสมัยที่เรียนด้วยกัน เขาเคยชวนไปเที่ยวบ้านกลาย หนูอ่านเรื่องบ้านกลายที่พี่เขียนในประชาไท รู้สึกเดือดร้อนแม้ว่าหนูจะไม่ไปที่นั่นแล้ว เพราะหนุ่มกลาย คนที่หนูรักไม่น่ารัก ไม่ดี แต่ทะเลกลายดีสวยงาม อาหารทะเลมีมาก คนอื่น ๆ ที่กลายที่หนูรู้จักก็ดีค่ะ เขาดีกับหนูมาก คนใจดี หนูจึงอยาจะร่วมปกป้องด้วย หนูอ่านพบเรื่อง SSB และลองเขียนสรุปมาให้พี่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือในชื่อเต็มว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard : SSB)…
แพร จารุ
  งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย ***************
แพร จารุ
  บ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 30 สิงหาคม 2553              คุณหญิงที่รัก  
แพร จารุ
โลกนี้คนชั่วมากเหลือเกิน และบรรดาคนชั่ว ๆ ก็ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ พวกเขามีอำนาจที่จะอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ ทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งอาหารที่คนพอจะทำมาหากินได้ พวก เขาขุดภูเขา ถมทะเล โดยไม่สนใจว่าเจ้าของเขาอยู่กันอย่างไร ต่อไปกะปิอร่อยๆ ที่ฉันเอามาฝากคุณก็จะไม่มีแล้ว เพราะที่บ้านฉันจะมี เซฟรอน คุณรู้ไหมมันคืออะไร คือบริษัทยักษ์ใหญ่ของต่างชาติ ที่เข้ามาถมทะเลสร้างท่าเรือ เพื่อขุดเจาะหาพลังงานไปขาย โดยไม่สนใจว่าเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ป้าของฉัน แกบอกว่า นอนไม่หลับมานานแล้ว แกกังวลว่าจะอยู่อย่างไร แม่ของฉันอายุเก้าสิบปี ฉันไม่กลับบ้านมาสองปี แม่เก็บกระดาษไว้ให้ฉันสามแผ่น…