Skip to main content

 

งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย

***************
อา ออ ออ ออ หอ ออ อ้า
พอฤกษ์งามยามดี ป่านนี้ชอบยามพระเวลา
ออว่าจำเพาะ เจาะจงเรียกหาหลวงรองคนกล้า ถ้าว่าหลวงรองไม่มา ลูกยาจะเห็นหน้าใคร
ออว่ามาทางสายด้าย หรือไล่มาทางสายไหม
หรือว่าคนทรงไม่ชอบเนื้อหรือว่าคนเชื้อไม่ชอบใจ
ว่าจับให้แข็งๆ ขาดเรี่ยวขาดเรี่ยวสักเท่าไร
มาตะ มาตะ ขอให้พ่อมาสักเดียวใจ
ว่างานนี้มันกวดขันไม่ใช่ผลัดวันประกันพรุ่ง
อย่าให้ผีขี้ร้ายมันดูถูก เราลูกผู้ชายเดียวกัน
หรือว่าหลวงรองพ่อหนา มันตายโหง ไม่สู้เข้าโรงมโนราห์..........
ฯลฯ
 
ด้วยถ้อยคำขับขานอันสอดคล้องกังวานกับเสียงปี่มโนราห์ที่รัวถี่และเล็กแหลม อาจเป็นแรงขับส่งให้สถานที่ซึ่งยกเป็นปะรำพิธีชั่วคราวนี้ศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังยิ่งขึ้น  งานเชื้อท่านกลายปีนี้ จึงเนืองแน่นไปด้วยลูกหลานบ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตลอดจนศรัทธาในพื้นที่ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลที่ทราบข่าว จนทำให้บริเวณสถานที่ตั้งศาลท่านกลาย ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ศาลาล่าง” ดูคับแคบไปถนัดตา

 
โรงมโนราห์โรงครู เป็นอาคารชั่วคราวติดพื้นดิน หลังคามุงจาก ด้านหนึ่งยกแท่นสูงขึ้นสำหรับตั้งของเซ่นไหว้ และแทนที่นั่งสำหรับคนทรง พื้นที่ส่วนอื่นปูเสื่อกับพื้นดินสำหรับเครื่องดนตรีและมโนราห์ ที่เหลือพอให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้อาศัยนั่งร่วมในพิธี

เสียงปี่ถี่กระชั้น สำทับด้วยเสียงทับกับตะโพนที่หนักแน่นทรงพลัง มีเสียงโหม่งและฉิ่งคอยขับขานเพิ่มความหวานอย่างมีมนต์เสน่ห์
   เมื่อบรรเลงเป็นจังหวะจะโคนลงตัว มโนราห์สูงวัยที่ดูท่าทางไร้เรี่ยวแรงเมื่อตอนกลางวัน บัดนี้น้ำเสียงดุดันทรงพลังเริ่มขับบทไหว้ครู ลูกคู่รับเป็นจังหวะ พาให้หัวใจคนชมฮึกเหิมระคนประหวั่นพรั่นพรึงในที  ผู้คนรอบข้างเริ่มเบียดชิดเข้ามาติดโรงจนแน่นขนัดแบบไม่เสียชื่อเวทีบ้านๆ

งานเชื้อท่านกลายเปรียบได้ดังพิธีบวงสรวง ที่เชิญท่านกลายมาเข้าทรงคนทรงซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ศาลซึ่งมีอยู่ตลอดลำน้ำ โดยมีศาลที่ปากคลองกลายจะทำพิธีเป็นจุดสุดท้าย
 

ท่านกลาย หรือ ทวดกลาย หรือ พ่อท่านกลาย ที่ชาวบ้านเรียกขานกัน เปรียบเสมือนเทพผู้ปกปักรักษาลำน้ำคลองกลายมายาวนาน ตามประวัติซึ่งเล่าสืบทอดกันมา ท่านกลาย คือบุตรชายคนสุดท้องของพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
  ในยุคที่เป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา คราวหนึ่งเมื่อมีศึกสงครามมาประชิดเมือง ท่านได้ออกรบและเสียชีวิตลงแต่ไม่มีผู้ใดพบศพ จนผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ศพได้ลอยทวนน้ำขึ้นมาจากปากน้ำคลองกลายโดยไม่เน่าเปื่อย ผู้คนจึงพากันฝังศพท่านไว้ทางทิศเหนือของคลองกลายใกล้ๆ ปากแม่น้ำ น่าเสียดายที่กว่า 50 ปีที่ผ่านมา บริเวณนั้นได้ถูกน้ำกัดเซาะพังทลายไปเสียแล้ว 

ข้อห้ามหลักๆ ของการใช้ลำน้ำคลองกลายที่ชาวบ้านต่างทราบกันคือ ห้ามซักมุ้ง ห้ามล้างเนื้อหมู และทำความสกปรกลงคลองกลายโดยเด็ดขาด ใครไม่ทำตามหรือลบหลู่ดูหมิ่นจะได้รับโทษต่างๆ นานา
   แต่ไม่ว่าแท้จริงแล้วสิ่งใดจะดลบันดาลให้เกิดความวิบัติต่อผู้ไม่เคารพ ความเชื่อนี้คือกุศโลบายที่ช่วยรักษาลำน้ำคลองกลายให้ยังเป็นคลองกลายจนกระทั่งปัจจุบัน

การบวงสรวงในปีนี้ก็เป็นเช่นทุกปี ที่มีการเชิญครูหมอมโนราห์ เรียกว่า
  “มโนราห์เชื้อ”  มาเป็นประธานในการพิธี เป็นผู้ส่งสารเชื้อเชิญ เริ่มต้นด้วยร้องเรียก “หลวงรอง” อดีตคือผู้รับใช้ของท่าน เป็นที่ทราบกันว่าหากหลวงรองไม่ลงทรงแล้ว เจ้าองค์อื่นๆ ก็จะไม่มาลงทรงเช่นกัน เนื่องจากไม่มีคนคอยรับใช้ ที่จะถ่ายทอดความต้องการต่างๆ

บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องท่านกลายนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่หลอมรวมชุมชนพุทธและมุสลิมไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งต่างให้เกียรติในศาสนาและความเชื่อซึ่งกันและกัน ชาวมุสลิมไม่ได้ถือท่านกลายเป็นเทพเช่นชาวพุทธเพราะผิดหลักศาสนา แต่ก็มิได้ลบหลู่
  กลับให้ความนับถือเป็นหนึ่งบรรพชนที่คนรุ่นต่อมาควรค่าเคารพ ชาวพุทธเองก็ยึดมั่นหนักแน่นว่าในงานท่านกลาย อาหารคาวหวานจะต้องทำให้เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ให้ทุกคนได้แบ่งปันกันกินเช่นพี่น้องร่วมหมู่บ้าน

พิธีภาคค่ำจบสิ้นไป จนรุ่งสางของอีกวันมีการเลี้ยงพระและการเข้าทรงอีกครั้งด้วยขั้นตอนเดียวกับช่วงค่ำ หากแต่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สอบถามข้อข้องใจ ทั้งความเป็นไปของบ้านเมืองและเรื่องส่วนตัว
 

ทะเลกลายที่หากินหาอยู่ของผู้คน
ในโมงยามที่ทั้งหมู่บ้านกำลังพบกับระลอกคลื่นของความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นเกลียวคลื่นในนามของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการมาของท่าเรือบริษัทขุดเจาะน้ำมัน (เป็นสร้างฐานปฏิบัติการเพื่อการขุดเจาะน้ำมัน) และตามมาด้วยนิคมอุตสาหกรรม อันดับแรก โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หลายคนรู้สึกหวั่นกลัวยิ่งกว่าคลื่นมรสุมกลางทะเล   จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีลูกหลานจำนวนมากเฝ้ารอเพื่อสอบถามความเป็นไป ในอนาคตของหมู่บ้านต่อผู้ซึ่งเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยดูแลลูกหลานมา อย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือบูชาย่อมฟังเสียงร้องของลูกหลาน ทุกอย่างจึงต้องขึ้นอยู่กับคนกลาย รวมถึงคนเมืองคอน และคนไทยทั้งหมด ว่าเราจะร่วมกันกำหนดอนาคตของบ้านเมือง และลูกหลานเราไว้เช่นไร ก็คงย่อมเป็นไปเช่นนั้น
 

นี่คือสิ่งแปลกปลอมกลางทะเลที่จะมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและความล่มสลายของชุมชน

ประวัติศาสตร์ยาวนานของบ้านกลาย อยู่คู่กับการ
เปลี่ยนแปลงเหมือนคำว่า “กลาย” หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งก็ภาวนาให้มันเป็นไปในทางที่ดีที่งาม และชาวบ้านกลายทุกคนได้มีส่วนรับรู้และเห็นพ้องตรงกัน เชื่อว่าเมื่อนั้นจะไม่มีพายุหรือคลื่นลมระลอกใดให้เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับลูกหลานชาวเลอย่างคนกลายแน่นอน

การเชื้อท่านกลายที่มีทุกปีถือเป็นหลักยึดที่น่ายินดีที่ชาวบ้านมาร่วมกันเนืองแน่น และหากทุกผู้คนแข็งขันแบบนี้ในการต่อต้านการรังแกของกลุ่มทุนที่จะมาใช้ทะเล เพื่อสิ่งอื่นที่มิใช่เพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งคนและสัตว์ เชื่อว่าประชาชนจะมีชัยแน่นอน

และเมื่อนั้น คำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรม คืออีกเกราะป้องปกชุมชน จะเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจักษ์ที่บ้านกลาย

**พิมพ์ครั้งแรก คมชัดลึก
 
 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
  แล้วฉันก็คิดว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิน ฉันเดินทางไปหาเพื่อนที่กรุงเทพฯ  และบอกเธอว่า ฉันอยากจะไปเยี่ยมนักเขียนผู้ใหญ่รุ่นพี่คนหนึ่ง  เพื่อนบอกว่า ไม่ได้ไปนานแล้ว ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครไปหาใครกัน  เมื่อถามว่าทำไม
แพร จารุ
ป่าสนวัดจันทร์   หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
แพร จารุ
มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ) อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่
แพร จารุ
คุณทำอะไรเมื่อเช้านี้  ส่วนฉันตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบหนังสือเล่มเล็ก ๆ จากโต๊ะกินข้าวติดมือไปนอนอ่านในเปลใต้ต้นมะขามเล็ก  หนังสือชื่อ ไม่รักไม่บอก 5 เป็นของกลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่  ฉันเป็นอาสาสมัครในกลุ่มนี้กับเขาด้วย แต่ฉันไม่ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึงเพิ่งได้อ่านจริง ๆ ครูโรงเรียนอนุบาลเพิ่งให้มาสิบเอ็ดเล่ม วันนั้นมีน้อง ๆ หนุ่ม ๆ จากไหนก็ไม่รู้มาช่วยกันขนหนังสือหลายกล่องที่นำมาขายในงานอำลา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ฉันไม่มีของอะไรตอบแทนน้องจึงแจกพวกเขาไปคนละเล่มเหลือเก็บไว้เล่มหนึ่ง ภาพปกเป็นแม่มดหน้าตาน่ารักถือไม้เท้าวิเศษ มีข้อเขียนว่า จงสุภาพกับโลกใบนี้ (คำจากสาร…
แพร จารุ
  เล่าเรื่องงาน อำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เปิดงานไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ยามแดดร่มลมตก หน้าที่ของฉันในงานนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานขายหนังสือ ฉันรับปากไปว่า “ได้ค่ะ” ทั้งที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการขาย หรือเรียกว่าไม่มีทักษะสักนิดเดียว และมักจะคิดตัวเลขผิด วิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่บวกลบคูณหารไม่เก่งเลย ยิ่งวิชาเลขคณิตคิดในใจนี้ไม่ได้เลย แต่ เพราะว่าในช่วงที่เขาประชุมเรื่องการดำเนินการจัดงานฉันไมได้เข้าร่วมประชุม…
แพร จารุ
ฤดูร้อนในเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างน่าสยองค่ะ เพราะนอกจากความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นในปลายฤดูหนาวนี้แล้ว เมื่อฤดูร้อนมาถึงเราก็จะพบกับกลุ่มหมอกควันที่มีทั่วเมือง สำหรับประชาชนในชนชั้นเรา ๆ นั้น เตรียมอะไรได้บ้างคะ
แพร จารุ
สวัสดีนักท่องเที่ยว ระหว่างทางนักท่องเที่ยวเจออะไรมาบ้าง ฉันมาอยู่เชียงใหม่สิบกว่าปี แต่บ่อยครั้งที่รู้สึกว่า ตัวเองเหมือนนักท่องเที่ยว
แพร จารุ
  หญิงสาวมักจะกลัวอ้วนเพราะอยากสวย เราถูกทำให้เชื่อกันว่าคนอ้วนจะไม่สวย เป็นสาวเป็นนางต้องผอมเข้าไว้ ใครไม่ผอมเหมือนนางแบบ หรือนักแสดงหน้าจอโทรทัศน์ก็จะไมได้มาตรฐาน ซึ่งความจริงแล้วบางคนผอมจนเกินไป เรียกว่าแห้งแรงน้อยไม่แข็งแรง ขาแขนมีแต่กระดูก คอโปน ไหปลาร้าลึกขนาดน้ำขังยามเมื่ออาบน้ำ
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อค่ะ เพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่เชียงดาว เล่าว่าเธอปลูกข้าวไร่ที่บ้านของเธอ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ฉันคิดว่าแค่เธอเริ่มต้นปลูกข้าวความมั่นคงทางอาหารก็เริ่มมีแล้ว ต่อมาน้องนักเขียนที่เพิ่งรู้จักยังไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เขียนมาบอกว่า เธอปลูกข้าวได้เจ็ดกระสอบ ฉันชื่นชมยินดีกับเธออย่างจริงจังและจริงใจยิ่ง เพราะฉันมีความฝันที่จะปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง แต่ไม่ได้ทำ และคิดว่าคงไม่ได้ทำ เพราะอายุปูนนี้แล้ว กล้ามเนื้อเป็นไขมัน เรี่ยวแรงหมดไปแล้ว ที่ทำได้ก็คือปลูกกล้วย ซึ่งก็เหมาะสมอยู่เพราะกล้วยเป็นอาหารนิ่ม ๆ กินง่าย…
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อดีกว่า   คราวนี้กินถั่วงอกผัดเห็ดสามอย่างค่ะ ดูเป็นอาหารธรรมดา ๆ นะคะ แต่พิเศษก็ตรงที่ เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเห็ดสามอย่างนะคะ ความจริงแล้วอาหารเห็ดสามอย่างที่กินเป็นยานี้ เขาว่าหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเป็นดีค่ะ แต่ไม่เป็นไรใช้น้อย ๆ เราเน้นความอร่อยด้วยค่ะ