Skip to main content

 

ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน

 

เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้


ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน

 

ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า

"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"

ทำไมต้องมีการปลูกป่ากันแนวเขตอุทยาน นั่นแสดงว่าชาวบ้านบุกรุกป่าอยู่เสมอ หรือว่าเจ้าหน้าที่อุทยานเข้าใจผิดว่าตรงไหนเป็นที่อยู่ที่ทำกินของชาวบ้าน

 

เรื่องมันเป็นมาอย่างนี้ค่ะ อันดับแรก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ มานำเสนอชาวบ้านให้ทำการปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา ในเขตพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อว่าจะได้เก็บพืชผลกิน และได้ไม้ไว้ใช้โดยไม่ต้องไปหาไม้จากที่อื่น เพราะไม้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมบ้านในอนาคต และเพื่อเป็นหลักประกันว่า เราไม่บุกรุกป่าแน่ๆ เรามาสร้างรั้วเป็นเขตกั้นแดนกันเถอะ

 

ในวันที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิมาเสนอแนวคิดนี้มีการถกเถียงกันใหญ่


ฝ่ายหนึ่งเห็นดีเห็นงามว่า ควรจะปลูกหากว่าเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ถูกจับหรือถูกมองว่าอยู่อย่างผิดกฎหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น และบางคนว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงามากๆ พืชไร่ก็จะไม่ได้ผล เราควรจะปลูกต้นไม้ให้ห่างออกไปจากที่ทำกินผืนสุดท้ายสักสองสามวาได้ไหม มีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง



ผ่านไปหลายชั่วโมงทีเดียว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ หนุ่มบอกว่า ตกลงกันเองถ้าไม่ปลูกก็ไม่ปลูก แต่ถ้าปลูกจะติดต่ออุทยานและนำกล้าไม้มาให้


"ผมไม่ได้อยู่ร่วมกับพี่น้องตลอด ไม่นานผมก็ออกไป หากพี่น้องไม่อยากปลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะถึงพี่น้องจะปลูกตามคำแนะนำ แต่เมื่อผมออกไปพี่น้องไม่ดูแลมันก็ตายไม่มีประโยชน์ ดังนั้นตกลงกันเองนะครับ"

 

ฉันในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็รอลุ้นว่าจะออกมาอย่างไร เสียงเขาถกเถียงกันฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะเมื่อเขาพูดกันเองเขาใช้ภาษาของตัวเองคือภาษาปกาเก่อญอ


ชาวบ้านปกาเก่อญอ มีภาษาพูดและภาษาเขียนของตัวเอง ในระหว่างฟังเขาคุยกัน ฉันก็ถามแม่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดแปลให้ฟังเป็นระยะ ๆ

 

เมื่อฉันถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ในทางปฎิบัติจะเป็นจริงได้ไหม การปลูกป่ากันแนวเขต ในเมื่อสิทธิในการอยู่กับป่าของชุมชนยังไม่ได้รับการรับรองอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจเรื่อง พ.ร.บ.ป่าชุมชนก็ไม่เป็นผล

 

เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่เข้าไปทำงานบอกฉันว่า ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ

"เราคิดว่าถ้าชาวบ้านแสดงเจตนาโดยการปลูกต้นไม้สุดขอบพื้นที่ทำกินให้มันเป็นแนวป่า เป็นรอยต่อระหว่างที่ทำกินกับป่าจริง ปลูกขึ้นมาโดยเจตนาที่ดีของชาวบ้าน เพราะมันเป็นป่าต้นน้ำของคนทั้งหมด ของคนต้นน้ำของคนปลายน้ำคนที่ใช้น้ำร่วมกัน"

 

ฉันบอกเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ฉันไม่ห่วงเรื่องเจตนาของชาวบ้านแต่ห่วงเรื่องอุทยานต่างหาก

 

ฉันได้คุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานในวันนั้น เจ้าหน้าที่อุทยานบอกว่า

"ต้องยอมรับจริงๆ ว่าป่าถูกทำลายไป ต้นไม้ถูกตัด ภูเขาแหว่งๆ ไปเรื่อยๆ"

ก่อนเดินทางกลับลงจากดอย ฉันได้แวะไปที่อุทยานแห่งชาติดอยอินนนนท์เพื่อคุยกับหัวหน้าอุทยาน

 

นายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กล่าวว่า

"ทางชาวบ้านกับเรามีปัญหาในเรื่องแนวเขต ชาวบ้านชอบขยายพื้นที่ทำกินเข้าไปในพื้นที่ป่า เพราะว่ามันไม่มีรั้วไม่มีอะไรกั้น เราเผลอเขาก็ขยายเพราะฉะนั้นแนวความคิดตรงนี้ก็คือว่า ไปปลูกต้นไม้กันรอบพื้นที่ที่ทำกินชาวบ้านเป็นแนวเขตกั้น "

 

ถ้าอยู่หลังต้นไม้ไปจะไม่จับใช่ไหม

"ถ้าเป็นพื้นที่เดิมจะไม่จับอยู่แล้ว อยู่ตามมติครม.ขออย่างเดียวอย่าไปขยายเพิ่ม ที่จับกันอยู่ จับเฉพาะรายที่ขยายเพิ่มเท่านั้นเอง"

 

ถ้าหัวหน้าอุทยานย้ายไปที่อื่น มีคนใหม่เข้ามา

"ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องที่ดี ๆ อย่างนี้ คนใหม่มาอย่างไร ก็น่าจะสานต่อได้เพราะเป็นเรื่องดีๆ"

นี้เป็นถ้อยคำของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
  แล้วฉันก็คิดว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิน ฉันเดินทางไปหาเพื่อนที่กรุงเทพฯ  และบอกเธอว่า ฉันอยากจะไปเยี่ยมนักเขียนผู้ใหญ่รุ่นพี่คนหนึ่ง  เพื่อนบอกว่า ไม่ได้ไปนานแล้ว ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครไปหาใครกัน  เมื่อถามว่าทำไม
แพร จารุ
ป่าสนวัดจันทร์   หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
แพร จารุ
มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ) อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่
แพร จารุ
คุณทำอะไรเมื่อเช้านี้  ส่วนฉันตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบหนังสือเล่มเล็ก ๆ จากโต๊ะกินข้าวติดมือไปนอนอ่านในเปลใต้ต้นมะขามเล็ก  หนังสือชื่อ ไม่รักไม่บอก 5 เป็นของกลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่  ฉันเป็นอาสาสมัครในกลุ่มนี้กับเขาด้วย แต่ฉันไม่ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึงเพิ่งได้อ่านจริง ๆ ครูโรงเรียนอนุบาลเพิ่งให้มาสิบเอ็ดเล่ม วันนั้นมีน้อง ๆ หนุ่ม ๆ จากไหนก็ไม่รู้มาช่วยกันขนหนังสือหลายกล่องที่นำมาขายในงานอำลา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ฉันไม่มีของอะไรตอบแทนน้องจึงแจกพวกเขาไปคนละเล่มเหลือเก็บไว้เล่มหนึ่ง ภาพปกเป็นแม่มดหน้าตาน่ารักถือไม้เท้าวิเศษ มีข้อเขียนว่า จงสุภาพกับโลกใบนี้ (คำจากสาร…
แพร จารุ
  เล่าเรื่องงาน อำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เปิดงานไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ยามแดดร่มลมตก หน้าที่ของฉันในงานนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานขายหนังสือ ฉันรับปากไปว่า “ได้ค่ะ” ทั้งที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการขาย หรือเรียกว่าไม่มีทักษะสักนิดเดียว และมักจะคิดตัวเลขผิด วิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่บวกลบคูณหารไม่เก่งเลย ยิ่งวิชาเลขคณิตคิดในใจนี้ไม่ได้เลย แต่ เพราะว่าในช่วงที่เขาประชุมเรื่องการดำเนินการจัดงานฉันไมได้เข้าร่วมประชุม…
แพร จารุ
ฤดูร้อนในเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างน่าสยองค่ะ เพราะนอกจากความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นในปลายฤดูหนาวนี้แล้ว เมื่อฤดูร้อนมาถึงเราก็จะพบกับกลุ่มหมอกควันที่มีทั่วเมือง สำหรับประชาชนในชนชั้นเรา ๆ นั้น เตรียมอะไรได้บ้างคะ
แพร จารุ
สวัสดีนักท่องเที่ยว ระหว่างทางนักท่องเที่ยวเจออะไรมาบ้าง ฉันมาอยู่เชียงใหม่สิบกว่าปี แต่บ่อยครั้งที่รู้สึกว่า ตัวเองเหมือนนักท่องเที่ยว
แพร จารุ
  หญิงสาวมักจะกลัวอ้วนเพราะอยากสวย เราถูกทำให้เชื่อกันว่าคนอ้วนจะไม่สวย เป็นสาวเป็นนางต้องผอมเข้าไว้ ใครไม่ผอมเหมือนนางแบบ หรือนักแสดงหน้าจอโทรทัศน์ก็จะไมได้มาตรฐาน ซึ่งความจริงแล้วบางคนผอมจนเกินไป เรียกว่าแห้งแรงน้อยไม่แข็งแรง ขาแขนมีแต่กระดูก คอโปน ไหปลาร้าลึกขนาดน้ำขังยามเมื่ออาบน้ำ
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อค่ะ เพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่เชียงดาว เล่าว่าเธอปลูกข้าวไร่ที่บ้านของเธอ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ฉันคิดว่าแค่เธอเริ่มต้นปลูกข้าวความมั่นคงทางอาหารก็เริ่มมีแล้ว ต่อมาน้องนักเขียนที่เพิ่งรู้จักยังไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เขียนมาบอกว่า เธอปลูกข้าวได้เจ็ดกระสอบ ฉันชื่นชมยินดีกับเธออย่างจริงจังและจริงใจยิ่ง เพราะฉันมีความฝันที่จะปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง แต่ไม่ได้ทำ และคิดว่าคงไม่ได้ทำ เพราะอายุปูนนี้แล้ว กล้ามเนื้อเป็นไขมัน เรี่ยวแรงหมดไปแล้ว ที่ทำได้ก็คือปลูกกล้วย ซึ่งก็เหมาะสมอยู่เพราะกล้วยเป็นอาหารนิ่ม ๆ กินง่าย…
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อดีกว่า   คราวนี้กินถั่วงอกผัดเห็ดสามอย่างค่ะ ดูเป็นอาหารธรรมดา ๆ นะคะ แต่พิเศษก็ตรงที่ เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเห็ดสามอย่างนะคะ ความจริงแล้วอาหารเห็ดสามอย่างที่กินเป็นยานี้ เขาว่าหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเป็นดีค่ะ แต่ไม่เป็นไรใช้น้อย ๆ เราเน้นความอร่อยด้วยค่ะ