Skip to main content

 

ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน

 

เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้


ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน

 

ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า

"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"

ทำไมต้องมีการปลูกป่ากันแนวเขตอุทยาน นั่นแสดงว่าชาวบ้านบุกรุกป่าอยู่เสมอ หรือว่าเจ้าหน้าที่อุทยานเข้าใจผิดว่าตรงไหนเป็นที่อยู่ที่ทำกินของชาวบ้าน

 

เรื่องมันเป็นมาอย่างนี้ค่ะ อันดับแรก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ มานำเสนอชาวบ้านให้ทำการปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา ในเขตพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อว่าจะได้เก็บพืชผลกิน และได้ไม้ไว้ใช้โดยไม่ต้องไปหาไม้จากที่อื่น เพราะไม้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมบ้านในอนาคต และเพื่อเป็นหลักประกันว่า เราไม่บุกรุกป่าแน่ๆ เรามาสร้างรั้วเป็นเขตกั้นแดนกันเถอะ

 

ในวันที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิมาเสนอแนวคิดนี้มีการถกเถียงกันใหญ่


ฝ่ายหนึ่งเห็นดีเห็นงามว่า ควรจะปลูกหากว่าเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ถูกจับหรือถูกมองว่าอยู่อย่างผิดกฎหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น และบางคนว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงามากๆ พืชไร่ก็จะไม่ได้ผล เราควรจะปลูกต้นไม้ให้ห่างออกไปจากที่ทำกินผืนสุดท้ายสักสองสามวาได้ไหม มีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง



ผ่านไปหลายชั่วโมงทีเดียว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ หนุ่มบอกว่า ตกลงกันเองถ้าไม่ปลูกก็ไม่ปลูก แต่ถ้าปลูกจะติดต่ออุทยานและนำกล้าไม้มาให้


"ผมไม่ได้อยู่ร่วมกับพี่น้องตลอด ไม่นานผมก็ออกไป หากพี่น้องไม่อยากปลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะถึงพี่น้องจะปลูกตามคำแนะนำ แต่เมื่อผมออกไปพี่น้องไม่ดูแลมันก็ตายไม่มีประโยชน์ ดังนั้นตกลงกันเองนะครับ"

 

ฉันในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็รอลุ้นว่าจะออกมาอย่างไร เสียงเขาถกเถียงกันฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะเมื่อเขาพูดกันเองเขาใช้ภาษาของตัวเองคือภาษาปกาเก่อญอ


ชาวบ้านปกาเก่อญอ มีภาษาพูดและภาษาเขียนของตัวเอง ในระหว่างฟังเขาคุยกัน ฉันก็ถามแม่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดแปลให้ฟังเป็นระยะ ๆ

 

เมื่อฉันถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ในทางปฎิบัติจะเป็นจริงได้ไหม การปลูกป่ากันแนวเขต ในเมื่อสิทธิในการอยู่กับป่าของชุมชนยังไม่ได้รับการรับรองอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจเรื่อง พ.ร.บ.ป่าชุมชนก็ไม่เป็นผล

 

เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่เข้าไปทำงานบอกฉันว่า ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ

"เราคิดว่าถ้าชาวบ้านแสดงเจตนาโดยการปลูกต้นไม้สุดขอบพื้นที่ทำกินให้มันเป็นแนวป่า เป็นรอยต่อระหว่างที่ทำกินกับป่าจริง ปลูกขึ้นมาโดยเจตนาที่ดีของชาวบ้าน เพราะมันเป็นป่าต้นน้ำของคนทั้งหมด ของคนต้นน้ำของคนปลายน้ำคนที่ใช้น้ำร่วมกัน"

 

ฉันบอกเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ฉันไม่ห่วงเรื่องเจตนาของชาวบ้านแต่ห่วงเรื่องอุทยานต่างหาก

 

ฉันได้คุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานในวันนั้น เจ้าหน้าที่อุทยานบอกว่า

"ต้องยอมรับจริงๆ ว่าป่าถูกทำลายไป ต้นไม้ถูกตัด ภูเขาแหว่งๆ ไปเรื่อยๆ"

ก่อนเดินทางกลับลงจากดอย ฉันได้แวะไปที่อุทยานแห่งชาติดอยอินนนนท์เพื่อคุยกับหัวหน้าอุทยาน

 

นายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กล่าวว่า

"ทางชาวบ้านกับเรามีปัญหาในเรื่องแนวเขต ชาวบ้านชอบขยายพื้นที่ทำกินเข้าไปในพื้นที่ป่า เพราะว่ามันไม่มีรั้วไม่มีอะไรกั้น เราเผลอเขาก็ขยายเพราะฉะนั้นแนวความคิดตรงนี้ก็คือว่า ไปปลูกต้นไม้กันรอบพื้นที่ที่ทำกินชาวบ้านเป็นแนวเขตกั้น "

 

ถ้าอยู่หลังต้นไม้ไปจะไม่จับใช่ไหม

"ถ้าเป็นพื้นที่เดิมจะไม่จับอยู่แล้ว อยู่ตามมติครม.ขออย่างเดียวอย่าไปขยายเพิ่ม ที่จับกันอยู่ จับเฉพาะรายที่ขยายเพิ่มเท่านั้นเอง"

 

ถ้าหัวหน้าอุทยานย้ายไปที่อื่น มีคนใหม่เข้ามา

"ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องที่ดี ๆ อย่างนี้ คนใหม่มาอย่างไร ก็น่าจะสานต่อได้เพราะเป็นเรื่องดีๆ"

นี้เป็นถ้อยคำของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย