Skip to main content

 

ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน

 

เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้


ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน

 

ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า

"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"

ทำไมต้องมีการปลูกป่ากันแนวเขตอุทยาน นั่นแสดงว่าชาวบ้านบุกรุกป่าอยู่เสมอ หรือว่าเจ้าหน้าที่อุทยานเข้าใจผิดว่าตรงไหนเป็นที่อยู่ที่ทำกินของชาวบ้าน

 

เรื่องมันเป็นมาอย่างนี้ค่ะ อันดับแรก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ มานำเสนอชาวบ้านให้ทำการปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา ในเขตพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อว่าจะได้เก็บพืชผลกิน และได้ไม้ไว้ใช้โดยไม่ต้องไปหาไม้จากที่อื่น เพราะไม้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมบ้านในอนาคต และเพื่อเป็นหลักประกันว่า เราไม่บุกรุกป่าแน่ๆ เรามาสร้างรั้วเป็นเขตกั้นแดนกันเถอะ

 

ในวันที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิมาเสนอแนวคิดนี้มีการถกเถียงกันใหญ่


ฝ่ายหนึ่งเห็นดีเห็นงามว่า ควรจะปลูกหากว่าเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ถูกจับหรือถูกมองว่าอยู่อย่างผิดกฎหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น และบางคนว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงามากๆ พืชไร่ก็จะไม่ได้ผล เราควรจะปลูกต้นไม้ให้ห่างออกไปจากที่ทำกินผืนสุดท้ายสักสองสามวาได้ไหม มีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง



ผ่านไปหลายชั่วโมงทีเดียว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ หนุ่มบอกว่า ตกลงกันเองถ้าไม่ปลูกก็ไม่ปลูก แต่ถ้าปลูกจะติดต่ออุทยานและนำกล้าไม้มาให้


"ผมไม่ได้อยู่ร่วมกับพี่น้องตลอด ไม่นานผมก็ออกไป หากพี่น้องไม่อยากปลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะถึงพี่น้องจะปลูกตามคำแนะนำ แต่เมื่อผมออกไปพี่น้องไม่ดูแลมันก็ตายไม่มีประโยชน์ ดังนั้นตกลงกันเองนะครับ"

 

ฉันในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็รอลุ้นว่าจะออกมาอย่างไร เสียงเขาถกเถียงกันฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะเมื่อเขาพูดกันเองเขาใช้ภาษาของตัวเองคือภาษาปกาเก่อญอ


ชาวบ้านปกาเก่อญอ มีภาษาพูดและภาษาเขียนของตัวเอง ในระหว่างฟังเขาคุยกัน ฉันก็ถามแม่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดแปลให้ฟังเป็นระยะ ๆ

 

เมื่อฉันถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ในทางปฎิบัติจะเป็นจริงได้ไหม การปลูกป่ากันแนวเขต ในเมื่อสิทธิในการอยู่กับป่าของชุมชนยังไม่ได้รับการรับรองอย่างแท้จริง เช่น การทำความเข้าใจเรื่อง พ.ร.บ.ป่าชุมชนก็ไม่เป็นผล

 

เจ้าหน้าที่มูลนิธิที่เข้าไปทำงานบอกฉันว่า ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ

"เราคิดว่าถ้าชาวบ้านแสดงเจตนาโดยการปลูกต้นไม้สุดขอบพื้นที่ทำกินให้มันเป็นแนวป่า เป็นรอยต่อระหว่างที่ทำกินกับป่าจริง ปลูกขึ้นมาโดยเจตนาที่ดีของชาวบ้าน เพราะมันเป็นป่าต้นน้ำของคนทั้งหมด ของคนต้นน้ำของคนปลายน้ำคนที่ใช้น้ำร่วมกัน"

 

ฉันบอกเจ้าหน้าที่มูลนิธิว่า ฉันไม่ห่วงเรื่องเจตนาของชาวบ้านแต่ห่วงเรื่องอุทยานต่างหาก

 

ฉันได้คุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานในวันนั้น เจ้าหน้าที่อุทยานบอกว่า

"ต้องยอมรับจริงๆ ว่าป่าถูกทำลายไป ต้นไม้ถูกตัด ภูเขาแหว่งๆ ไปเรื่อยๆ"

ก่อนเดินทางกลับลงจากดอย ฉันได้แวะไปที่อุทยานแห่งชาติดอยอินนนนท์เพื่อคุยกับหัวหน้าอุทยาน

 

นายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กล่าวว่า

"ทางชาวบ้านกับเรามีปัญหาในเรื่องแนวเขต ชาวบ้านชอบขยายพื้นที่ทำกินเข้าไปในพื้นที่ป่า เพราะว่ามันไม่มีรั้วไม่มีอะไรกั้น เราเผลอเขาก็ขยายเพราะฉะนั้นแนวความคิดตรงนี้ก็คือว่า ไปปลูกต้นไม้กันรอบพื้นที่ที่ทำกินชาวบ้านเป็นแนวเขตกั้น "

 

ถ้าอยู่หลังต้นไม้ไปจะไม่จับใช่ไหม

"ถ้าเป็นพื้นที่เดิมจะไม่จับอยู่แล้ว อยู่ตามมติครม.ขออย่างเดียวอย่าไปขยายเพิ่ม ที่จับกันอยู่ จับเฉพาะรายที่ขยายเพิ่มเท่านั้นเอง"

 

ถ้าหัวหน้าอุทยานย้ายไปที่อื่น มีคนใหม่เข้ามา

"ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องที่ดี ๆ อย่างนี้ คนใหม่มาอย่างไร ก็น่าจะสานต่อได้เพราะเป็นเรื่องดีๆ"

นี้เป็นถ้อยคำของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
ถ้าฉันพูดว่า อย่าเอาดอกไม้มาให้ฉันถ้าเธอไม่ได้ปลูกเอง เธออย่าโกรธฉันนะ ฉันจะเล่าให้เธอฟัง วันหนึ่งก่อนฤดูฝน ฉันเดินทางไปหมู่บ้านหลังดอยอินทนนท์  ฉันพบผู้ชายคนหนึ่ง เขาพูดว่า"เอาดอกไม้ของฉันออกจากหน้าอกเธอ"หนุ่มใหญ่คนหนึ่งพูดขึ้น หญิงสาวมีสีหน้าแปลกใจคงสงสัยว่าเธอทำอะไรให้เขาไม่พอใจ จึงไม่ยอมเอาดอกไม้ออกจากกระเป๋าเสื้อ "เอาออกเถอะ" เขายืนยันอีกครั้ง แต่หญิงสาวยังไม่ทำตาม ยังคงเอาดอกไม้เหน็บในกระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกต่อ ในที่สุดเขาก็บอกว่า " มันอันตราย ดอกไม้ฉันมีแต่ยา"
แพร จารุ
หมู่บ้านหายโรงเรียนร้าง เดือนก่อนฉันเดินทางไปที่หมู่บ้านหนึ่ง แถวเชียงดาว ไกลเข้าไปในป่า พบโรงเรียนร้างไม่มีเด็ก ไม่มีครู โรงเรียนถูกปิดเพราะไม่มีเด็กเรียน และไม่ใช่แค่โรงเรียนร้างเท่านั้น หมู่บ้านก็หายไปด้วย  ผู้ชายคนหนึ่งเล่าให้ฉันฟังว่าหมู่บ้านนี้ถูกซื้อไปแล้ว "จริงเหรอ เหมือนโฆษณาเลย โฆษณาอะไรนะ ที่ผู้ชายคนหนึ่งถามซื้อเกาะให้ผู้หญิง" ใครคนหนึ่งพูดขึ้น"ไม่ใช่แค่โฆษณาหรอก ละครโทรทัศน์ก็มีเหมือนกัน ชายหนุ่มคนหนึ่งเขาซื้อเกาะให้หญิงสาวเป็นของขวัญหากเธอแต่งงานกับเขา" ฉันบอกพวกเขา
แพร จารุ
แปลกใจใช่ไหมค่ะ ต้นไม้ใหญ่ อ่างเก็บน้ำและหมีแพนด้า  มันเกี่ยวกันอย่างไร  เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  เดือนฉันก่อนไปศาลากลางมา  ที่หน้าศาลากลางมีคนมากมาย มีชาวบ้านมาประท้วงเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำ 
แพร จารุ
ในขณะที่ผู้คนที่มาดูต้นไม้ ต่างตื่นเต้นกับต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ใหญ่ที่สุดที่นี่คือต้นจามจุรีหรือต้นก้ามปูที่สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา เป็นสนามกอล์ฟเก่า เขาเล่ากันว่าต้นไม้นี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ส่วนสูง 15 เมตร ผ่านการประกวดต้นไม้ใหญ่ที่ได้รับรางวัลของเทศบาลมาแล้ว
แพร จารุ
"ที่ซึ่งหนุ่มสาวหอบฝันมาทิ้ง" ฉันบอกเพื่อน ฟังดูน่าตกใจและดูจะเป็นคนใจร้ายไปสักหน่อย และหากว่าน้อง ๆ หนุ่มสาวที่นี่ได้ยินฉันพูดทำนองนี้ พวกเธออาจเสียกำลังใจ เพราะการเดินทางครั้งนี้เราพบหนุ่มสาวพวกที่ฉันคิดว่าเป็นพวก"หอบความฝัน"มากมายหลายคนทีเดียว
แพร จารุ
"ปายแบบเมื่อก่อนจะไม่กลับมาอีกแล้ว เรามาค้นหาคุณค่าใหม่กันเถอะ" เพื่อนคงรำคาญที่ฉันพร่ำเพ้อถึงความหลังครั้งก่อน (ฉันเขียนมาถึงตอนนี้เมื่อฉบับที่แล้ว )  เราได้เพื่อนใหม่ทันที เธอชื่อเนเน่ เธอบอกว่า เธอเดินทางมาที่นี่ปีละหลาย ๆ ครั้ง และแม้ปายจะเปลี่ยนไปอย่างไรเธอก็ยังชอบปาย เธอมาเพื่อหาที่นั่งอ่านหนังสือสบาย ๆ ช่วง เย็น ๆ ก็ออกเดินเล่นไปตามถนน เดินคุยกับคนโน้นคนนี้เพราะผู้คนส่วนมากเป็นมิตร
แพร จารุ
  1 ปาย เปลี่ยนไปมาก และที่ฉันไม่กล้าไปปายก็เพราะกลัวความเปลี่ยนแปลง กลัวจะเสียใจกับความเปลี่ยนแปลงก็เลยพยายามจะลืมปายทำเหมือนหนึ่งว่าไม่เคยมี ไม่เคยไป
แพร จารุ
"ป้าไฟไหม้ ไฟไหม้ " หลานสาวส่งเสียงอยู่หน้าบ้าน "ไฟไหม้ที่ไหน" ฉันถาม เดี๋ยวนี้อาการตื่นกลัวเรื่องไฟไหม้ป่าหลังบ้านลดลงไปแล้ว หากเป็นเมื่อสองปีก่อน ฉันจะกลัวมาก กลัวจนตัวสั่นและรีบโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายทันที และบางครั้งก็ลงมือดับไฟเองก่อนที่รถดับเพลิงจะมา พร้อมกับบ่นด่าคนที่ทำไฟไหม้ คนที่มาเก็บของกินในสวนร้างแต่ไม่เคยสนใจหน้าแล้งยามที่ไม่ค่อยมีอะไรเก็บกิน และเจ้าของสวนที่ทิ้งสวนตัวเองไว้แล้วไม่มาดูแล  รวมถึงดับเพลิงที่มาช้าไม่ทันใจ
แพร จารุ
"อย่าลืมเอาถุงผ้าไปซื้อของ" ฉันเคยบอกใครต่อใครจนเขาเบื่อหน่ายกันแล้ว "อย่าเอาถุงพลาสติกเข้าบ้านถ้าไม่จำเป็น"และทุกครั้งที่ฉันเห็นถุงพลาสติกที่ใส่อาหารแล้ววางทิ้งไว้บนโต๊ะ ก็จะรู้สึกโกรธขึ้นมาทันทีและรีบเก็บแต่ถุงพลาสติกก็ไม่เคยหมดไปจากบ้านฉัน มันวางอยู่ตรงโน้นตรงนี้เสมอ ๆ
แพร จารุ
ผู้ชายคนหนึ่งนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เขาขยันมาก นั่งทำงานทุกวัน เขามีเมียขี้คร้านกับหมาพุดเดิ้ลตัวเล็ก ๆ ที่ส่งเสียงเห่าแหลมเล็กทั้งวันทั้งคืน เสียงหมาเห่าดังมาก  แต่เขายังนั่งทำงานอย่างไม่สนใจ  เมียเขานอกจากขี้คร้านแล้วขี้รำคาญด้วย เธอจึงลุกขึ้นไปที่ประตูอย่างหงุดหงิดรำคาญใจเพราะเธอกำลังนอนอ่านหนังสืออย่างสำราญอยู่ ประตูบ้านยังไม่ปิด บ้านนี้ประตูจะไม่ปิดจนกว่าเจ้าของบ้านจะนอน  ลักษณะพิเศษคือเจ้าของบ้านไม่ชอบปิดประตู เปิดไว้ทั้งวันทั้งคืน
แพร จารุ
 หน้าร้อนใคร ๆ ก็ไม่อยากมาเชียงใหม่ อย่าว่าแต่นักท่องเที่ยวเลย คนที่อยู่เชียงใหม่ที่พอออกจากเมืองได้ก็จะพากันออกจากเมืองไปพักผ่อนที่อื่นฉันเป็นคนหนึ่งที่หนีออกจากเมืองเชียงใหม่ในช่วงหน้าร้อนเสมอ ให้เหตุผลกับตัวเองว่า ถือโอกาสกลับใต้ เป็นการกลับบ้านปีละครั้ง
แพร จารุ
“บ้านฉันไม่ได้อยู่ใกล้สถานบันเทิงเลยค่ะ แต่หนวกหูมากเหมือนกัน” ฉันบอกเพื่อนที่โทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องที่บ้านของเธออยู่ใกล้สถานบันเทิง หลังจากที่ ฟังเธอบ่นปรับทุกข์ เรื่องเสียงเพลงหนวกหูจากสถานบันเทิง เธอเล่าว่าย้ายบ้านจากกรุงเทพฯ มาอยู่ต่างจังหวัดได้ไม่นาน ร้านอาหารคาราโอเกะก็มาเปิดข้างบ้าน