Skip to main content
"ปายแบบเมื่อก่อนจะไม่กลับมาอีกแล้ว เรามาค้นหาคุณค่าใหม่กันเถอะ" เพื่อนคงรำคาญที่ฉันพร่ำเพ้อถึงความหลังครั้งก่อน (ฉันเขียนมาถึงตอนนี้เมื่อฉบับที่แล้ว )

 

เราได้เพื่อนใหม่ทันที เธอชื่อเนเน่ เธอบอกว่า เธอเดินทางมาที่นี่ปีละหลาย ๆ ครั้ง และแม้ปายจะเปลี่ยนไปอย่างไรเธอก็ยังชอบปาย เธอมาเพื่อหาที่นั่งอ่านหนังสือสบาย ๆ ช่วง เย็น ๆ ก็ออกเดินเล่นไปตามถนน เดินคุยกับคนโน้นคนนี้เพราะผู้คนส่วนมากเป็นมิตร


เนเน่ชวนเราเดินถนนคนเดิน เธอว่าถนนคนเดินที่นี่ไม่เหมือนที่เชียงใหม่ อย่างไรปายก็ยังไม่เหมือนที่อื่น เธอแนะนำว่า ไปดื่มชาอินเดีย ไปยังไม่ถึงชาอินเดียหยุดอยู่ที่หมั่นโถวสีเหลือง พ่อค้าเป็นคนอินเดีย ให้สงสัยว่าทำไมไม่ทำโรตี อยากรู้มีหรือเพื่อนฉันจะไม่ถาม และได้ความมาว่ามีเมียเป็นคนจีนยูนนานหมั่นโถวหรือหม่านโถวถือเป็นอาหารประจำถิ่นของคนจีนยูนนานเลยทีเดียว สีเหลืองเพราะฟักทองจริงๆ ไม่ใช่ใส่สี เขาทดลองทำและได้ผลลูกค้าชอบ แรกเราคิดว่าจะกินคนละครึ่งลูกเพื่อจะได้เหลือท้องไว้กินอย่างอื่นอีกเพราะน้องเนเน่บอกว่ามีของกินอร่อยอีกหลายอย่าง แต่เมื่อกินแล้วหยุดไม่ได้ ยิ่งได้ชิมไส้ไก่ที่หอมกลิ่นแกงกะหรี่ด้วย เราสองคนก็เลยหยุดอยู่ที่ซาละเปา หมั่นโถว นานกว่าที่ควร และกินไปคนละสองลูก อิ่มอร่อยเกินห้ามใจจริง ๆ

 

 

จริงของเนเน่ มีของอร่อยหลายอย่างให้ชิมไปเรื่อยๆ เราไปหยุดอีกทีหนึ่งที่ร้านขายข้าวปุ๊ยูนนาน ชาวบ้านชาวเขาจะทำข้าวปุ๊กินกันในช่วงปีใหม่ เป็นการกินข้าวใหม่ด้วย เขาจะเอาข้าวใหม่หุงร้อนๆ แล้วเอาไปตำให้เป็นเนื้อเดียวกันต่อจากนั้นก็มาทำเป็นแผ่นหนาๆ กลมๆ แล้วเอาไปย่างไฟ กัดกินกับน้ำชาร้อนๆ ยามหนาวๆ ฉันเคยไปกินมาบ่อยๆ

 

 

ข้าวปุ๊ที่นี่ได้พัฒนาไปแล้วเหมือนกัน เมื่อย่างไฟแล้วไม่ได้กัดกินทันที แต่มีการโรยด้วยน้ำตาลทรายแดง น้ำอ้อย และราดด้วยนมข้นหวาน หรือจะเลือกราดด้วยช็อกโกแลตก็ได้ แน่นอนเพื่อนฉันไม่ผ่านไปเฉยๆ หล่อนซื้อมาชิ้นหนึ่งและกัดกินอย่างอร่อย เธอเป็นคนช่างพูด พูดเพราะและให้กำลังใจคนทั้งโลก เธอบอกแม่ค้าว่า อร่อยจริง ๆ และถามวิธีทำไปด้วย ฉันอยากจะบอกเพื่อนว่า ลองกินแบบเดิม ๆ ที่ได้กลิ่นข้าวปุ๊จริง ๆ แต่คิดขึ้นได้ว่า เราอยู่ในช่วงหาคุณค่าใหม่ ๆ ยอมรับการพัฒนา

 

หญิงสาวสองคนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ เรา ถามแม่ค้าว่าไม่มีกล่องโฟมใส่เหรอค่ะ แม่ค้าบอกว่าไม่มีค่ะ เธอบ่นว่าใบตองมันจะไม่สะอาดและถ้าใส่กล่องแล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หยิบกินง่าย

 

ฉันจึงเสียมารยาทบอกเธอว่า ใส่ใบตองน่ะดีแล้วค่ะ และข้าวปุ๊ต้องกัดกินร้อนถึงจะอร่อย

แม่ค้ารีบเอาผ้าขาวสะอาดออกมาเช็ดใบตองอีกครั้ง และเปลี่ยนใบตองให้เธอพร้อมกับหั่นข้าวปุ๊เป็นชิ้นเล็กๆ ให้กินได้สะดวก

 

"โฟมใส่ของกิน เป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะของร้อน" ฉันว่าต่อ

หญิงสาวหันมาขอบใจและรับข้าวปุ๊ห่อใบตองไป เกินคาด คิดว่าจะถูกด่า แต่เธอขอบคุณ

 

เดินจนเหนื่อยมีของกินของใช้ เครื่องประดับ และอื่นๆ อีกมากมาย วางขายให้นักท่องเที่ยงจับจ่าย ใครสักคนเคยบอกฉันว่า ปายเปลี่ยนไปเพราะกลุ่มนักท่องเที่ยวเปลี่ยน มีนักท่องเที่ยวแบบไทย ๆ ที่ชอบจับจ่ายชื้อของมากขึ้น ไปที่ไหนก็ซื้อและซื้อ และจะมากันแน่นในวันหยุด นักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมซึ่งเป็นคนต่างชาติ กลุ่มคนไทยที่รักสงบ และกลุ่มที่ต้องการเสรีภาพซึ่งอยู่นาน ๆ ได้ออกไปจากเมือง เจ้าของบ้านพักและคนทำธุรกิจการท่องเที่ยวชอบลูกค้ากลุ่มใหม่มากกว่า เขาบอกมาอย่างนี้จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้

 

ร้านสุดท้ายที่ไปหยุดเป็นร้านเพื่อนชายรุ่นหลาน เขาเปิดร้านขายโปสการ์ดและภาพถ่ายขาวดำ ที่นี่มีร้านขายโปสการ์ดมากมาย และผู้คนต่างก็เลือกซื้อและนั่งเขียนกัน ทุกร้านจะมีตู้ไปรษณีย์เล็ก ๆ สวย ๆ สำหรับหย่อนลงไปด้วย ก็ดีเหมือนกันได้เห็นผู้คนนั่งเขียนโปสการ์ดถึงคนที่เขาคิดถึง มันเป็นภาพแห่งความปรารถนาดีที่พบเห็นบนถนนแห่งนี้ ฉันคิดว่าผู้คนจะเขียนถึงคนที่เขารัก คงไม่มีใครนั่งเขียนโปสการ์ดที่นี่เพื่อส่งไปทวงหนี้


 

จำได้ว่าเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ฉันเคยมาที่นี้ ซื้อโปสการ์ดใบหนึ่งเพื่อส่งไปให้ใครคนหนึ่ง แต่ฉันไม่ได้ทิ้งตู้แถวนี้ ไปส่งที่หมู่บ้านซึ่งจำไม่ได้แล้วว่าหมู่บ้านอะไรมีตู้ไปรษณีย์เก่า ๆ ขึ้นสนิมซุกอยู่ข้างทางที่มีฝุ่นเกาะหนา ไม่แน่ใจว่ายังใช้ได้อยู่หรือเปล่าตัวอักษรที่เขียนเวลาเปิดก็ลอกออกไปแล้ว แต่ฉันอยากลองเสี่ยงดู หลังจากนั้นประมาณครึ่งปี ผู้รับบอกฉันว่า โปสการ์ดแผ่นนั้นไปถึงเขาด้วยสภาพเยิน ๆ มีร่องรอยด่างดำ

 

เพื่อนหยุดอยู่ที่ร้านโปสการ์ดขาวดำนั่งและนั่งเขียนอยู่ตรงนั้น เธอชวนฉันเขียนโปสการ์ดด้วย แต่ฉันอยากดูคนเขียนมากกว่า นานๆ จะได้เห็นคนนั่งก้มเขียนกันมากๆ อย่างนี้ ข้างร้านโปสการ์ดขาวดำมีดนตรีเล่นสดๆ ให้ฟังด้วย เที่ยงคืนเนเน่ชวนเราเดินกลับที่พักซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก นับว่าเนเน่ดูแลเพื่อนใหม่ที่เพิ่งรู้จักกันดีมากๆ การกระทำของเธอยืนยันคำพูดของเธอว่า คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นมิตร

 

ยามเช้าเราออกมาเดินดูเมืองปายกันต่อ เริ่มเดินจากที่พักผ่านร้านหนึ่งเขียนว่า ไก่ทอดหาดใหญ่ ข้าวแกงปักษ์ใต้ ฉันตรงเข้าไป แต่เพื่อนทำท่าว่ายังไม่อยากหยุดอยู่ที่ร้านอาหารใต้ จริงของเพื่อน เรามาถึงนี้จะกินอาหารใต้ทำไม จึงแค่หยุดทักทายแม่ค้าเป็นภาษาใต้แล้วเลยผ่าน ไปเช่ารถจักรยานกิจกรรมที่เคยทำทุกครั้งที่มาที่นี่ แต่เนเน่เธอไม่ชอบ เราจึงต้องแยกทางกัน เธอบอกว่าอยากจะนั่งนิ่งและอ่านหนังสือริมน้ำ

 

เช้านี้มีผู้คนมากกว่าเมื่อคืนอีก รถตู้เต็มถนน ปั่นจักรยานติดรถตู้เป็นระยะ แม้ออกจากถนนในเมืองไปแล้วก็ยังติดรถตู้ที่เข้าไปส่งนักท่องเที่ยวตามที่พัก

 

ไปเรื่อยๆ ไปตามเส้นทางเล็กๆ ในหมู่บ้าน พบเพิงขายอาหาร เป็นมะละกอทอด ไปที่ไหนต้องกินอาหารที่นั่น เราเลยชิมมะละกอทอดกัน กินแล้วก็ขอสูตรเขามาด้วย

 

แม่ค้า เป็นคนพื้นถิ่นที่นี้ เธอบอกว่ามะละกอทอดกินกันมานานแล้ว ต้องเลือกมะละกอที่แก่ใกล้จะสุกแบบเนื้อพอเหลืองนิด ๆ ซอยหยาบ ๆ แล้วไปแช่น้ำปูนใสสักพัก แล้วซุปแป้งทอด กินกับน้ำจิ้ม เผื่อใครสนใจอยากทำกิน น้ำจิ้มของเขาใช้น้ำส้มหรือมะนาวก็ได้ พริกขี้หนูเล็กน้อยหั่นหั่นหยาบๆ ถั่วลิสงตำพอแหลก เกลือ น้ำตาล แตงกวาหั่นบาง ๆ ชิมรสให้กลมกล่อม


 

ผ่านแม่ค้ามะละกอทอดเราพบลุงขายกล้วย แวะซื้อกล้วยหนึ่งหวี เพื่อนถามคนขายกล้วยว่า "กล้วยปลูกที่นี่หรือค่ะ"

"ปลูกหลังบ้านนี้แหละ"

"บ้านลุงกว้างขวาง ทำไมไม่ทำเป็นที่พักนักเดินทางละค่ะ" เพื่อนชวนคุยต่อ

ลุงแกส่ายหน้า

"นักท่องเที่ยวเยอะแยะอย่างนี้เดือดร้อนไม่ล่ะค่ะลุง" เพื่อนถาม

"ไม่เดือดร้อนอะไร"

"รำคาญไหมลุง ใกล้ๆ บ้านลุงก็มีที่เกสท์เฮาส์ มีบ้านพักนักเดินทางเยอะ" ฉันถาม


คราวนี้ ลุงตอบว่ารำคาญ ถ้าเสียงดังมาก ๆ

"ลูก ระวังรถ" แกบอกพลางขยับโต๊ะขายกล้วยให้เราหลบเข้ามาให้ปลอดภัยจากรถตู้ที่ขน นักท่องเที่ยวเข้าไปพักข้างใน จักรยานเราแกะกะถนนจริง ๆ คนขับรถยนต์เปิดกระจกมาส่งเสียงดัง คิดขำคำของเนเน่ที่ว่าผู้คนที่มาที่นี่ส่วนใหญ่เป็นมิตร

"เดือดร้อนเหมือนกันนะลุงนะ" ฉันพูดขึ้นหลังจากหลบรถจากถนน

"มีบ้าง" แกตอบอย่างเกรงใจ เพื่อนยกมือไหว้ลุงและบอกว่า ขอบคุณค่ะ และขอโทษนะลุงนะที่มารบกวน

โอ...ฉันมองเพื่อนอย่างทึ่งสุด ๆ นี่มุมที่งดงามของนักท่องเที่ยวอยู่ตรงนี้เอง ตรงที่ให้เกียรติรู้สำนึกต่อเจ้าของบ้าน กินอาหารของคนท้องถิ่น กินมะละกอทอดและกล้วยน้ำว้า

 


ฉันบอกเพื่อนว่า วันนี้เราตั้งใจจะหาคุณค่าใหม่ๆ แต่พบคุณค่าเก่าๆ เช่น ข้าวปุ๊ มะละกอทอด และกล้วยน้ำว้า เป็นคุณค่าเก่าๆ ที่ไม่ต้องค้นหา

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย