Skip to main content

1


วันก่อนไปท่ากาน
(ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน


พอเห็นเรามองพวกเธอก็หยุดเล่น

ถามว่าเล่นอะไร เธอบอกว่า เล่นกระโดดข้ามก้านกล้วยค่ะ ผลัดกันกระโดด

เด็กหญิงคนหนึ่งตอบอย่างอาย ๆ

ป้าของเธอยืนอยู่ใกล้ ๆ บอกหลานว่า เล่นซิ พี่เขาจะถ่ายรูป

ใช่ ขอถ่ายรูปหน่อย”

เธอเล่นต่ออย่างอาย ๆ

ป้าตากใบตองไว้เยอะแยะเลย ทำขนมหรือค่ะ”

ทำขนม พรุ่งนี้วันศิลใหญ่” (วันศิลใหญ่ก็คือวันพระที่สำคัญ)

 

 

 

2

 

ฉันเล่าเรื่องเด็ก ๆ เล่นก้านกล้วยที่บ้านท่ากานให้เพื่อนฟัง เพื่อนบอกว่า

วันก่อนไปคุยกับเพื่อนที่กาดกลางเวียง เห็นเด็กผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง 4-5 คน อายุประมาณ 4-5 ขวบ กำลังเล่นตบตีกันอยู่อย่างเมามัน ทำเหมือนในละครเลยครับ มีจิกหัว มีเอาตีนลูบหน้า แล้วก็พูดจาจีบปากจีบคอ ด่ากันประมาณแย่งผัวกัน เสียดายไม่มีกล้องติดตัวถ่ายเป็นวิดีโอไว้ นี่แหละครับ ผลงานของสื่อที่มอมเมา”


เป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง มักแสดงออกด้วยการพูดแบบละครโทรทัศน์ โดยเฉพาะ คำพูดที่จีบปากจีบคอ ประชดประชันแดกดัน

ละครโทรทัศน์ที่ว่าไม่ใช่แค่หลังข่าวเท่านั้น ช่วงประมาณทุ่มหนึ่งก็มีคือก่อนข่าวนั่นแหละ

 

 

3

 

 

แม่ของหลานมาเล่าให้ฟังว่า

เธอไปประชุมผู้ปกครองที่โรงเรียนหลาน ครูประจำชั้นของเด็กชั้น ป.1 เอาเรื่องนี้มาพูดในที่ประชุมให้ผู้ปกครองฟังว่า ให้ผู้ปกครองดูแลเรื่องการดูโทรทัศน์ของลูกด้วย เพราะพวกเด็ก ๆ พูดจากันเหมือนในละครโทรทัศน์ นับว่าเป็นโรงเรียนที่น่าชื่นชมมากโดยเฉพาะครูประจำชั้นของเด็กชั้น ป.1


วันต่อมาลองถามหลานสาวดูว่า มีเด็กที่โรงเรียนพูดจาแบบนางเอกนางร้ายกันไหม เธอบอกว่ามี

บอกหลานว่า พูดให้ป้าฟังหน่อยซิ แบบไหน

หลานสาวว่าอย่างนี้ป้า

ไม่ ไม่น่ะ...ม่าย...” “ว้าย สลิด”

บอกหลานสาวว่า พอแล้ว (นี่ขนาดไม่ค่อยได้ดู เพราะหลังข่าวพ่อเธอไม่ให้ดู ถ้าได้ดูก็เป็นละครก่อนข่าว ซึ่งก็ไม่ต่างกัน)

 


ส่วนเด็กผู้ชายนั้นออกไปทางบู๊ เช่นว่า คนหนึ่งโดนเพื่อนเตะผ่าหมากจนเดินแทบไม่ได้

ดูเป็นเรื่องเล่น ๆ ของเด็ก ๆ แต่ไม่ใช่เรื่องเล็ก บางคนอาจะเถียงว่า ถ้าดูให้จบก็จะรู้ว่า คนที่พูดจาไม่ดีพวกนั้นก็ได้รับผลไม่ดี ส่วนคนที่พูดจาดี เป็นคนดีก็ได้รับสิ่งดี ๆ นั้นก็จริง แต่กว่าจะถึงตอนจบนั้นเล่า

 

ถ้าแก้ปัญหาแบบครูประจำชั้น ป.1 ก็คือ ดูแลลูกกันเอง อย่าให้ลูกดูแต่การไม่ให้ลูกดูพ่อแม่ก็ต้องเสียสละไม่ดู

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย