Skip to main content


ป่าสนวัดจันทร์

 

หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ


ได้รับจดหมายจาก ชุดขาว ชาวเหนือ ว่า ที่นั่นทั้งอำเภอเป็นผืนดินที่ชนเผ่าปกาเกอญอ ลีซู และม้ง อยู่อาศัย นเรื่องป่าสนวัดจันทร์ ันทร์ เป็นพื้นที่ป่าสงวนทั้งหมด ซึ่งชาวบ้านไม่มีโฉนดที่ดิน ชาวปกาเกอญอกลุ่มหนึ่ง ในนามของสมาคมปกาเกอญอก็เตรียมวัดเขตที่ดินที่ทำกินของพวกเขา และพยายามทำโฉนดชุมชนไว้เพื่อไม่ให้ที่ดินถูกเปลี่ยนมือ

เพราะเมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือโดยกลุ่มทุน พวกเขาอาจจะไม่มีที่ทำกิน บางคนกลายมาเป็นคนขายแรงงานให้กับรีสอร์ท สถานบันเทิง รวมทั้งย้ายลงมาจากดอยเข้ามาอยู่ในชุมชนแออัดตามเมืองใหญ่

และบางส่วนอาจจะบุกรุกที่แห่งใหม่ และผืนป่าก็ถูกทำลาย เจ้าหน้าที่ก็จับกุมกันไป 


ดังนั้นสมาคมปกาเกอญอ โดยคนปกาเกอญอนั่นแหละ ทำเรื่องการทำโฉนดชุมชน เพื่อพวกเขาจะได้อยู่อาศัยไปจนชั่วลูกหลาน และหากมีการท่องเที่ยวหรือมีนักท่องเที่ยวเข้ามาก็ยังสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ เพราะที่ดินจะไม่ถูกซื้อขายเปลี่ยนมือไปจากคนต่างถิ่น อย่างนี้เป็นต้น


 

เมื่อวานนี้ ฉันได้รับจดหมายอีกฉบับหนึ่งที่น่าสนใจ อันสืบเนื่องมาจากป่าสนวัดจันทร์ก็คือ จดหมายที่เขียนว่า จากเชียงคานสู่ป่าสนวัดจันทร์

ในจดหมายนั้นเขาบอกว่า ไม่นานป่าสนวัดจันทร์ก็จะเป็นเช่นเชียงคานที่มีกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนมากมายจนทำให้เจ้าของบ้านแทบไม่มีที่อยู่ในบ้านตัวเอง และบอกว่าที่น่าห่วงใบที่สุดก็คือ การมาเปิดเซเว่นที่เชียงคานและพวกเขากำลังต่อต้านกันอยู่ แรกดิฉันก็มาองผ่าน ๆ ว่า แต่เมื่ออ่านโดยละเอียดก็เห็นว่าน่าสนใจจึงเอามาลงให้อ่านกันค่ะ ว่าการมีเซเว่นมันเป็นอย่างไร


ฉันคิดว่าเซเว่นเข้ามาในชีวิตผู้คนจนกลายเป็นความเคยชินหนึ่ง เพราะครั้งหนึ่ง ไปเชียงคาน มีน้องคนหนึ่งซึ่งพักที่เดียวกัน เราคุยกันถูกคอ สักประมาณสองทุ่ม เธอพูดขึ้นว่า
ยังไม่ได้จ่ายค่าน้ำค่าไฟเลย ... เซเว่นไม่มี เออ เมืองนี้ไม่มีเซเว่น

ฉันถามเธอว่า ไม่จ่ายตอนนี้จะมีปัญหาไหม เธอบอกไม่มีหรอก แต่คิดขึ้นได้ก็อยากทำเลย ฉันบอกเธอว่า ถ้ารอได้ก็ไม่มีปัญหาอะไรไปจ่ายที่กรุงเทพฯก็ได้

เอาละ ลองมาอ่านจดหมายฉบับนี้ดูนะคะว่า ทำไมเขาถึงไม่อยากมีเซเว่นและมันส่งผลอะไรกับบ้านเมืองเขา  (จดหมายยาวจึงตัดตอนมาบางส่วน)
 


ริมฝั่งโขงเชียงคาน

 
ร้านค้าสะดวกซื้อนามเซเว่น-อีเลเว่น กำลังจะมาเปิดสาขาที่เชียงคาน


พวกเราต้องร่วมมือร่วมใจกันทำทุกวิถีทาง เพื่อต่อต้าน ขับไล่ไม่ให้นายทุนใหญ่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ฉกชิงเงินทองที่ควรจะหมุนเวียนสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ภายใต้แนวทางในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเรา


ทำไม  พวกเราไม่ต้องการเซเว่นอีเลเว่น...?  เพราะเชียงคาน  มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน ที่สงบและอบอุ่น ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกันมาเป็นเวลานาน เป็นเมืองเชียงคานที่น่ารัก มีเสน่ห์ ในแบบของเชียงคานเอง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ใครๆ ก็อยากมาเชียงคาน มาสัมผัสชีวิตไทเชียงคานที่เปี่ยมล้นไปด้วยความงดงาม..  ในวิถีแบบชาวบ้านๆ อันหาได้ยากยิ่งแล้วในเมืองไทยในยุคนี้

แต่..  ร้านสะดวกซื้อแบบเซเว่นอีเลเว่น คือสัญลักษณ์แห่งความเป็นเมืองใหญ่ สนองตอบความต้องการของชีวิตคนเมือง ที่รีบเร่งร้อนรน ต้องการความสะดวกสบาย ใช้ชีวิตแบบกินอยู่หลับนอนไม่เป็นเวล่ำเวลา หิวเมื่อไหร่ ต้องการอะไร ก็ต้องได้ในทันที
!

เซเว่นเกิดขึ้นมา..  เสน่ห์เชียงคาน  วัฒนธรรมอันดีงาม  ก็จะถูกกัดเซาะ ทำลายความงามไปทีละนิดๆ   เด็กๆ บ้านเราก็จะฟุ้งเฟ้อ อยากได้อะไรนิด อยากซื้ออะไรหน่อย ก็จะคอยไปแต่ เซเว่นอยากได้เครื่องเขียน อยากได้ยาสีฟัน ทิชชู่ มาม่า ปลากระป๋อง ฯลฯ หิวขึ้นมาคราใด ก็จะวิ่งเข้าเซเว่น  ที่เต็มไปด้วยอาหารขยะที่ไม่จำเป็นกับชีวิต


ซาลาเปาโกฮ่วน ซาลาเปาปุยฝ้ายโกตี๋ ก็จะถูกแทนที่ด้วย ซาลาเปาเซเว่น ไอติมน้าเติบ ก็จะถูกเบียดตกถนนด้วยสเลอปี้  ผัดกะเพราน้านี ก็จะถูกเมิน คนหันไปกินอาหารกล่อง


ถ้าเรายอมให้พวกมันเข้ามากอบโกยจากบ้านเรา  มีหนึ่งก็ต้องมีสอง และ สามสี่ห้าจะตามมาอย่างรวดเร็ว...


แล้วทีนี้...  ร้านค้าชุมชนของไทบ้านเรา จะอยู่กันอย่างไร ? วิถีชีวิตที่เรียบง่ายงดงามจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?  ใครบ้างจะตอบได้


ด้วยจิตคารวะ
ไทเชียงคาน

 


เรือนไม้เชียงคาน

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย