Skip to main content

1

ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ

“ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด”

หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้น

4
ธนภูมิ อโศกตระกูล

เขาเล่าว่า

“ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว หลังจากนั้นผมก็ได้ไปเที่ยวที่นั่นบ่อย ๆ และได้รู้จักกับปวีณา พรหมเมตจิต และได้ทำกับข้าวกินกัน มีความประทับใจในบรรยากาศของสถานที่และชีวิตผู้คน ผมเข้าไปบ่อยมาก ๆ

โดยส่วนตัวผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องอาหารอยู่แล้ว และรู้ว่าปวีณา เรียนคหกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ แล้วน้องเขาเป็นคนที่ชอบทำอาหารก็เลยชวนให้น้องรวบรวมสูตรอาหารของหมู่บ้านที่เกิดที่กินมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยและเขียนขึ้นมา

เราทดลองทำอาหารที่รวบรวมรายชื่อขึ้นมาได้ที่ละอย่างสองอย่าง แม่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนในหมู่บ้านพวกป้า ๆ น้า ๆ มาชวนทำช่วยชิมและเล่าเรื่องอาหารต่าง ๆ เช่น กินไปคุยไป ป้าดวนบอกว่า ตำน้ำพริกแล้วไม่ละเอียดก็จะหาผัวไม่ได้ และยังมีเรื่องเล่าในอาหารอีกมากมาย  ดังนั้น นอกจากมีสูตรอาหารแล้วเราพบว่าในอาหารมีเรื่องราวมากมาย ผมได้ช่วยดูแลต้นฉบับน้อง และได้ติดต่อสำนักพิมพ์ แรกคิดว่าจะพิมพ์เป็นหนังสือตำราอาหารธรรมดา แต่เมื่อมาดูต้นฉบับแล้วพบว่า มันออกมาเป็นเชิงสารคดีมากกว่าตำราอาหารธรรมดา


อีกคนหนึ่งที่ชวนน้องทำงานคือ คำ ผกา นักเขียนหญิงคนเชียงใหม่คนหนึ่งที่อยู่ในวัฒนธรรมอาหารเดียวกับเธอ ได้ช่วยเขียนคำนิยมให้น้อง
เธอเขียนถึงวัฒนธรรมการกินอาหาร ตั้งแต่ปู่ย่าตายายที่กินอยู่ตามธรรมชาติ ทำอาหารจากมือแม่บ้าน จนถึงยุคที่ปัจจุบันที่ผู้คนต้องรู้จักอาหารเสริมกับวิตามิน กระเทียมอักเม็ด สารสกัดจากพืชผักต่าง ๆ รวมทั้งซุปสำเร็จรูป หรือน้ำมันปลาโอเมก้า 3 เป็นต้น และเธอยังเขียนถึงเพื่อนร่วมวัฒนธรรมของเธอที่ทำเป็นไม่รู้จักรังเกียจอาหารบ้าน ๆ เช่น ถั่วเน่า น้ำปู๋ และนำไปสู่ขบวนการที่ทำให้คนท้องถิ่นอ่อนแอ


ปวีณา ไม่เพียงแต่ยืนยันในศักดิ์ศรีและปัญญา เธอยังพยายามจะบอกว่าอาหารไม่ได้มาจากตลาดหรือซุปมาร์เกตและไม่ได้มาจากการเพาะปลูกเท่านั้นแต่เป็นของขวัญของธรรมชาติ
และบอกว่าแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์นี้อาจจะถูกทำลาย เพราะจะถูกแปรเป็นแหล่งท่องเที่ยว  การสูญเสียผืนดิน สูญเสียน้ำ เป็นเสียงเล็ก ๆ ของเด็กที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่

**************

3
คำ ผกา

สำหรับฉัน เคยเข้าหมู่บ้านแม่เหียะสองสามครั้ง ครั้งแรกถูกชวนไปปลูกป่ากับชาวบ้านแม่เหียะใน เป็นการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในปี 2549 ช่วงนั้นดูเหมือนจะมีปัญหาเรื่องเมกะโปรเจ็กที่พ่วงมากับไนท์ซาฟารีคือมีการจะสร้างอุทยานช้างในพื้นที่

บ้านแม่เหียะในเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เคยซุกตัวอยู่อย่างสงบและเดียวดาย แต่มีผืนป่าที่ดี  เป็นผืนป่าใกล้เมืองจริง ๆ นี่แหละหัวใจของเมืองเชียงใหม่

นั่นคือวันแรกที่ฉันรู้จักบ้านแม่เหียะใน และบ้านหลังหนึ่งที่กำลังปรุงอาหารเพื่อเลี้ยงคนในหมู่บ้านและแขกที่มาช่วยกันปลูกป่า

ฉันได้พบปวีณา พรหมเมตจิต ผู้นำเสนอสูตรอาหารพื้นบ้าน ของกินจากป่าหลังบ้าน  เธอเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ๆ นิ่ง ๆ และพูดน้อย ยิ้มแทนคำพูด

2
ปวีณา  พรหมเมตจิต

ปวีณาอยู่ที่บ้านแม่เหียะในมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด  บ้านเธออุดมสมบูรณ์ เธอเดินขึ้นเขาลงห้วยเก็บเห็ด เก็บหน่อไม้มาตั้งแต่เล็ก  การเขียนหนังสือเล่มนี้นอกจากเป็นคำบอกเล่าเรื่องอาหารของบ้านเธอแล้ว เธอยังร้องขออยู่กลาย ๆ ว่า ขอแหล่งอาหารไว้ให้บ้านฉันเถอะ

เพราะเมื่อสองปีที่ผ่านมา โครงการต่าง ๆ เข้ามาในหมู่บ้านแม่เหียะในซึ่งกระทบต่อแหล่งอาหารของหมู่บ้าน

เรื่องราวในสูตรอาหารของเธอ ควบคู่ไปกับเรื่องเล่าในสังคมหมู่บ้านที่เธออยู่ได้อย่างกลมกลืน  เช่น ชีวิตผู้คนผูกพันอยู่กับป่าหลังบ้าน การทำมาหากินของคนในชุมชน ความรักในท้องถิ่นของตัวเอง ความสุข ความทุกข์และความหวัง

ท้ายที่สุด เธอชวนเชิญไปกินข้าวที่บ้านและบอกว่า บ้านเธอนั้นกินอยู่อย่างไรก็ไม่หมด

มาเถอะมากินอาหารที่อร่อยไปถึงหัวใจ และช่วยฉันด้วยว่า ทำอย่างไรดีถ้าแหล่งอาหารบ้านฉันถูกทำลายไป

ปล. มาเที่ยวบ้านฉัน "งานเปิดตัวหนังสือ อาหารบ้านฉัน และคุยกันเรื่อง "กินอยู่อย่างไรไม่ให้หมด" โดย เทพศิริ สุข โสภา คำผกา และปวีณา พรหมเมตจิต ที่ศาลารวมใจ บ้านแม่เหียะใน อ.เมือง เชียงใหม่ สี่โมงเย็น

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“จึงขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริงด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน และความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ” ฉันชอบถ้อยคำนี้มาก เป็นถ้อยคำ ที่เพื่อนนำมาฝากหลังจากที่เธอกลับมาจากภาวนา เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... เพื่อนของฉันกลับมาจาก “ภาวนา” แบบหมู่บ้านพลัม เธอว่าดีงามมาก ใช้กับชีวิตได้ เธอพูดถึง ข้ออบรมสติ 5 ประการ แต่เธอเน้นข้อฝึกอบรม ข้อที่ 4 เธอเขียนส่งมาให้ฉันอ่าน ฉันคิดว่าเธอคงอยากให้ฉันตระหนักรู้ หรือไม่เธอก็บอกอ้อม ๆ ว่า ฉันเป็นคนที่ควรจะปฏิบัติเพราะฉันมีปัญหาในข้อนี้…
แพร จารุ
ระหว่างการพูดคุยกับเพื่อน เพื่อนนักเขียนของฉัน ไปอยู่ไกลถึงลอนดอน ช่วงที่ผ่านมาเธอกลับบ้านเพื่อมาส่งแม่เดินทางไกล เพราะครั้งนี้แม่ไปแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย และไม่รู้ว่าเส้นทางสายยาวไกลของแม่อยู่ที่ไหน แต่สำหรับเธอ เชื่อว่า จะไปพบกันที่พระเจ้า เราไม่ได้พบหน้ากันมานาน ได้แต่คุยโทรศัพท์กัน ช่วงแรกเพื่อนนักเขียนของฉันนั่งทำงานเขียน นั่งวาดภาพ และปลูกต้นไม้อยู่ในเรือนกระจกอยู่ที่บ้าน ต่อมาเธอไม่เลือกที่จะนั่งเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านแล้ว เธอไปทำงานที่พักคนชรา ทำงานอยู่กับคนแก่ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริงของชีวิต เธอมีการงานที่มีความเศร้า ความตายของคนแก่ที่นั่นอยู่เสมอ
แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“…
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน
แพร จารุ
 “ไม่นานคนก็ตายกันหมดโลกแน่ ๆ”หญิงสาววัยเพิ่งผ่านเลขสามพูดขึ้นก่อนล้มตัวลงนอน “พี่เชื่อไหม ไม่นานผู้คนจะตายหมดโลก” เธอพูดอีกครั้ง “อะไรทำให้เธอคิดเช่นนั้น” ฉันถามออกไปด้วยความขลาดกลัว มานอนกลางป่ากลางเขาแล้วพูดถึง เรื่องความตาย  ไม่อยากจะฟังคำตอบจากเธอ รีบเตรียมถุงนอน พร้อมที่จะล้มตัวลงนอนใกล้ ๆ เธอ คืนนี้เราเลือกที่จะไม่นอนในบ้านสบาย ๆ แต่เลือกที่จะมานอนกันในป่าเปลี่ยนบรรยากาศ   เธออธิบายต่อว่า เมื่อกลางวันได้ยินข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงราย 3.5 ริกเตอร์  เมื่อแผ่นดินไหวที่เชียงรายได้ ก็ไหวที่เชียงใหม่ได้ หรือที่อื่น ๆ ได้ และมันคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “อือ...ก็น่าจะจริง…
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
แพร จารุ
ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ  เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก
แพร จารุ
“พี่มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม้พี่ไม้ ไม้เป็นหมื่น ๆ” เธอส่งเสียงมาเหมือนถูกผีหลอกกลางวัน“อยู่แดนสนธยาที่ไหน” ฉันถามกลับไปเพื่อให้ตัวเองตั้งสติหากมีเรื่องร้าย “ไม่ใช่ต้นไม้แต่เป็นไม้เป็นหมื่น ๆ ท่อนพี่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันเยอะจริง เดี๋ยวจะถ่ายรูปส่งไปให้ดู บางต้นมีผ้าเหลืองผ้าแดงผูกโคนต้นด้วย” “ที่ไหน” “กิ่วคอหมาพี่ เขากำลังสร้างเขื่อนกิ่วคอหมา พี่รู้เรื่องนี้ไหม พูดแล้วขนลุกพี่ รอเดี๋ยว ๆ นะพี่นะจะส่งรูปไปให้ดู”“จ๊ะ แล้วเธอไปทำไม”“ขับรถผ่านมานะพี่  กลับมาจากลำปาง”เธอพูดหลายครั้งว่าเธอไม่เคยเห็นไม้เยอะขนาดนี้มาก่อนจริง ๆ และสงสัยว่าทำไมเขายังตัดไม้กันขนาดนี้…
แพร จารุ
เขาว่ากันว่า  เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งธรรมชาติงดงาม เมืองวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จอดดูสักหน่อยซิเขาเล่ากันต่อว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เชียงใหม่เติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงสุด ปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวเชียงใหม่มากมาย เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ต้องรับภาระหาเงินทอง เมกกะโปรเจคขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ว้าว! แล้วคนเชียงใหม่ คิดอย่างไรกับเมืองเชียงใหม่ หากไปถามคำถามนี้ ร้อยทั้งร้อยคนเชียงใหม่ต่างวิตกกังวล คนเชียงใหม่บอกว่า เมืองน่าอยู่นั้นคือเมื่อก่อน เมื่อก่อนซึ่งไม่นานเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ คนเชียงใหม่ลำบากกับรถติดในเมือง คนเชียงใหม่กลัวน้ำท่วมเหมือนปี 2548 ฤดูร้อน…
แพร จารุ
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน “ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก“…
แพร จารุ
ป้าของฉันเป็นผู้หญิงธรรมดามาก ไม่เป็นที่รู้จักของใคร  ฉันคิดว่าคนที่ป้ารู้จักมีแต่หลาน ๆ กับคนข้างบ้านเท่านั้น และคนที่รู้จักป้าก็เช่นกัน ป้าเป็นผู้หญิงธรรมดาจริง ๆ แต่ฉันอยากเขียนถึงป้า เพราะน่าจะมีแต่ฉันที่จะเขียนถึงป้า และฉันก็น่าจะเป็นหลานคนเดียวที่ไม่เคยได้ทำอะไรให้ป้าเลยนอกจากเขียนถึงป้า ใจหายเหมือนกันเมื่อคิดว่า นี่คือสิ่งแรกที่ฉันจะทำให้ป้า ป้าฉันไม่มีอะไรพิเศษเลยนอกจากเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ฉันรู้จักเป็นป้าหลานมา ฉันไม่เคยเห็นป้าทำอะไรไม่ดีเลย ไม่ใช่แกเป็นป้าที่ดีของพวกหลาน ๆ แกเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเพื่อนบ้าน ชีวิตป้ามีความสุขมาก ฉันคิดว่าป้ามีความสุขทุกวัน…