Skip to main content

1

ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ

“ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด”

หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้น

4
ธนภูมิ อโศกตระกูล

เขาเล่าว่า

“ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว หลังจากนั้นผมก็ได้ไปเที่ยวที่นั่นบ่อย ๆ และได้รู้จักกับปวีณา พรหมเมตจิต และได้ทำกับข้าวกินกัน มีความประทับใจในบรรยากาศของสถานที่และชีวิตผู้คน ผมเข้าไปบ่อยมาก ๆ

โดยส่วนตัวผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องอาหารอยู่แล้ว และรู้ว่าปวีณา เรียนคหกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ แล้วน้องเขาเป็นคนที่ชอบทำอาหารก็เลยชวนให้น้องรวบรวมสูตรอาหารของหมู่บ้านที่เกิดที่กินมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยและเขียนขึ้นมา

เราทดลองทำอาหารที่รวบรวมรายชื่อขึ้นมาได้ที่ละอย่างสองอย่าง แม่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนในหมู่บ้านพวกป้า ๆ น้า ๆ มาชวนทำช่วยชิมและเล่าเรื่องอาหารต่าง ๆ เช่น กินไปคุยไป ป้าดวนบอกว่า ตำน้ำพริกแล้วไม่ละเอียดก็จะหาผัวไม่ได้ และยังมีเรื่องเล่าในอาหารอีกมากมาย  ดังนั้น นอกจากมีสูตรอาหารแล้วเราพบว่าในอาหารมีเรื่องราวมากมาย ผมได้ช่วยดูแลต้นฉบับน้อง และได้ติดต่อสำนักพิมพ์ แรกคิดว่าจะพิมพ์เป็นหนังสือตำราอาหารธรรมดา แต่เมื่อมาดูต้นฉบับแล้วพบว่า มันออกมาเป็นเชิงสารคดีมากกว่าตำราอาหารธรรมดา


อีกคนหนึ่งที่ชวนน้องทำงานคือ คำ ผกา นักเขียนหญิงคนเชียงใหม่คนหนึ่งที่อยู่ในวัฒนธรรมอาหารเดียวกับเธอ ได้ช่วยเขียนคำนิยมให้น้อง
เธอเขียนถึงวัฒนธรรมการกินอาหาร ตั้งแต่ปู่ย่าตายายที่กินอยู่ตามธรรมชาติ ทำอาหารจากมือแม่บ้าน จนถึงยุคที่ปัจจุบันที่ผู้คนต้องรู้จักอาหารเสริมกับวิตามิน กระเทียมอักเม็ด สารสกัดจากพืชผักต่าง ๆ รวมทั้งซุปสำเร็จรูป หรือน้ำมันปลาโอเมก้า 3 เป็นต้น และเธอยังเขียนถึงเพื่อนร่วมวัฒนธรรมของเธอที่ทำเป็นไม่รู้จักรังเกียจอาหารบ้าน ๆ เช่น ถั่วเน่า น้ำปู๋ และนำไปสู่ขบวนการที่ทำให้คนท้องถิ่นอ่อนแอ


ปวีณา ไม่เพียงแต่ยืนยันในศักดิ์ศรีและปัญญา เธอยังพยายามจะบอกว่าอาหารไม่ได้มาจากตลาดหรือซุปมาร์เกตและไม่ได้มาจากการเพาะปลูกเท่านั้นแต่เป็นของขวัญของธรรมชาติ
และบอกว่าแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์นี้อาจจะถูกทำลาย เพราะจะถูกแปรเป็นแหล่งท่องเที่ยว  การสูญเสียผืนดิน สูญเสียน้ำ เป็นเสียงเล็ก ๆ ของเด็กที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่

**************

3
คำ ผกา

สำหรับฉัน เคยเข้าหมู่บ้านแม่เหียะสองสามครั้ง ครั้งแรกถูกชวนไปปลูกป่ากับชาวบ้านแม่เหียะใน เป็นการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในปี 2549 ช่วงนั้นดูเหมือนจะมีปัญหาเรื่องเมกะโปรเจ็กที่พ่วงมากับไนท์ซาฟารีคือมีการจะสร้างอุทยานช้างในพื้นที่

บ้านแม่เหียะในเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เคยซุกตัวอยู่อย่างสงบและเดียวดาย แต่มีผืนป่าที่ดี  เป็นผืนป่าใกล้เมืองจริง ๆ นี่แหละหัวใจของเมืองเชียงใหม่

นั่นคือวันแรกที่ฉันรู้จักบ้านแม่เหียะใน และบ้านหลังหนึ่งที่กำลังปรุงอาหารเพื่อเลี้ยงคนในหมู่บ้านและแขกที่มาช่วยกันปลูกป่า

ฉันได้พบปวีณา พรหมเมตจิต ผู้นำเสนอสูตรอาหารพื้นบ้าน ของกินจากป่าหลังบ้าน  เธอเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ๆ นิ่ง ๆ และพูดน้อย ยิ้มแทนคำพูด

2
ปวีณา  พรหมเมตจิต

ปวีณาอยู่ที่บ้านแม่เหียะในมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด  บ้านเธออุดมสมบูรณ์ เธอเดินขึ้นเขาลงห้วยเก็บเห็ด เก็บหน่อไม้มาตั้งแต่เล็ก  การเขียนหนังสือเล่มนี้นอกจากเป็นคำบอกเล่าเรื่องอาหารของบ้านเธอแล้ว เธอยังร้องขออยู่กลาย ๆ ว่า ขอแหล่งอาหารไว้ให้บ้านฉันเถอะ

เพราะเมื่อสองปีที่ผ่านมา โครงการต่าง ๆ เข้ามาในหมู่บ้านแม่เหียะในซึ่งกระทบต่อแหล่งอาหารของหมู่บ้าน

เรื่องราวในสูตรอาหารของเธอ ควบคู่ไปกับเรื่องเล่าในสังคมหมู่บ้านที่เธออยู่ได้อย่างกลมกลืน  เช่น ชีวิตผู้คนผูกพันอยู่กับป่าหลังบ้าน การทำมาหากินของคนในชุมชน ความรักในท้องถิ่นของตัวเอง ความสุข ความทุกข์และความหวัง

ท้ายที่สุด เธอชวนเชิญไปกินข้าวที่บ้านและบอกว่า บ้านเธอนั้นกินอยู่อย่างไรก็ไม่หมด

มาเถอะมากินอาหารที่อร่อยไปถึงหัวใจ และช่วยฉันด้วยว่า ทำอย่างไรดีถ้าแหล่งอาหารบ้านฉันถูกทำลายไป

ปล. มาเที่ยวบ้านฉัน "งานเปิดตัวหนังสือ อาหารบ้านฉัน และคุยกันเรื่อง "กินอยู่อย่างไรไม่ให้หมด" โดย เทพศิริ สุข โสภา คำผกา และปวีณา พรหมเมตจิต ที่ศาลารวมใจ บ้านแม่เหียะใน อ.เมือง เชียงใหม่ สี่โมงเย็น

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย