Skip to main content

 

งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย

***************
อา ออ ออ ออ หอ ออ อ้า
พอฤกษ์งามยามดี ป่านนี้ชอบยามพระเวลา
ออว่าจำเพาะ เจาะจงเรียกหาหลวงรองคนกล้า ถ้าว่าหลวงรองไม่มา ลูกยาจะเห็นหน้าใคร
ออว่ามาทางสายด้าย หรือไล่มาทางสายไหม
หรือว่าคนทรงไม่ชอบเนื้อหรือว่าคนเชื้อไม่ชอบใจ
ว่าจับให้แข็งๆ ขาดเรี่ยวขาดเรี่ยวสักเท่าไร
มาตะ มาตะ ขอให้พ่อมาสักเดียวใจ
ว่างานนี้มันกวดขันไม่ใช่ผลัดวันประกันพรุ่ง
อย่าให้ผีขี้ร้ายมันดูถูก เราลูกผู้ชายเดียวกัน
หรือว่าหลวงรองพ่อหนา มันตายโหง ไม่สู้เข้าโรงมโนราห์..........
ฯลฯ
 
ด้วยถ้อยคำขับขานอันสอดคล้องกังวานกับเสียงปี่มโนราห์ที่รัวถี่และเล็กแหลม อาจเป็นแรงขับส่งให้สถานที่ซึ่งยกเป็นปะรำพิธีชั่วคราวนี้ศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังยิ่งขึ้น  งานเชื้อท่านกลายปีนี้ จึงเนืองแน่นไปด้วยลูกหลานบ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตลอดจนศรัทธาในพื้นที่ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลที่ทราบข่าว จนทำให้บริเวณสถานที่ตั้งศาลท่านกลาย ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ศาลาล่าง” ดูคับแคบไปถนัดตา

 
โรงมโนราห์โรงครู เป็นอาคารชั่วคราวติดพื้นดิน หลังคามุงจาก ด้านหนึ่งยกแท่นสูงขึ้นสำหรับตั้งของเซ่นไหว้ และแทนที่นั่งสำหรับคนทรง พื้นที่ส่วนอื่นปูเสื่อกับพื้นดินสำหรับเครื่องดนตรีและมโนราห์ ที่เหลือพอให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้อาศัยนั่งร่วมในพิธี

เสียงปี่ถี่กระชั้น สำทับด้วยเสียงทับกับตะโพนที่หนักแน่นทรงพลัง มีเสียงโหม่งและฉิ่งคอยขับขานเพิ่มความหวานอย่างมีมนต์เสน่ห์
   เมื่อบรรเลงเป็นจังหวะจะโคนลงตัว มโนราห์สูงวัยที่ดูท่าทางไร้เรี่ยวแรงเมื่อตอนกลางวัน บัดนี้น้ำเสียงดุดันทรงพลังเริ่มขับบทไหว้ครู ลูกคู่รับเป็นจังหวะ พาให้หัวใจคนชมฮึกเหิมระคนประหวั่นพรั่นพรึงในที  ผู้คนรอบข้างเริ่มเบียดชิดเข้ามาติดโรงจนแน่นขนัดแบบไม่เสียชื่อเวทีบ้านๆ

งานเชื้อท่านกลายเปรียบได้ดังพิธีบวงสรวง ที่เชิญท่านกลายมาเข้าทรงคนทรงซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่ศาลซึ่งมีอยู่ตลอดลำน้ำ โดยมีศาลที่ปากคลองกลายจะทำพิธีเป็นจุดสุดท้าย
 

ท่านกลาย หรือ ทวดกลาย หรือ พ่อท่านกลาย ที่ชาวบ้านเรียกขานกัน เปรียบเสมือนเทพผู้ปกปักรักษาลำน้ำคลองกลายมายาวนาน ตามประวัติซึ่งเล่าสืบทอดกันมา ท่านกลาย คือบุตรชายคนสุดท้องของพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
  ในยุคที่เป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา คราวหนึ่งเมื่อมีศึกสงครามมาประชิดเมือง ท่านได้ออกรบและเสียชีวิตลงแต่ไม่มีผู้ใดพบศพ จนผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ศพได้ลอยทวนน้ำขึ้นมาจากปากน้ำคลองกลายโดยไม่เน่าเปื่อย ผู้คนจึงพากันฝังศพท่านไว้ทางทิศเหนือของคลองกลายใกล้ๆ ปากแม่น้ำ น่าเสียดายที่กว่า 50 ปีที่ผ่านมา บริเวณนั้นได้ถูกน้ำกัดเซาะพังทลายไปเสียแล้ว 

ข้อห้ามหลักๆ ของการใช้ลำน้ำคลองกลายที่ชาวบ้านต่างทราบกันคือ ห้ามซักมุ้ง ห้ามล้างเนื้อหมู และทำความสกปรกลงคลองกลายโดยเด็ดขาด ใครไม่ทำตามหรือลบหลู่ดูหมิ่นจะได้รับโทษต่างๆ นานา
   แต่ไม่ว่าแท้จริงแล้วสิ่งใดจะดลบันดาลให้เกิดความวิบัติต่อผู้ไม่เคารพ ความเชื่อนี้คือกุศโลบายที่ช่วยรักษาลำน้ำคลองกลายให้ยังเป็นคลองกลายจนกระทั่งปัจจุบัน

การบวงสรวงในปีนี้ก็เป็นเช่นทุกปี ที่มีการเชิญครูหมอมโนราห์ เรียกว่า
  “มโนราห์เชื้อ”  มาเป็นประธานในการพิธี เป็นผู้ส่งสารเชื้อเชิญ เริ่มต้นด้วยร้องเรียก “หลวงรอง” อดีตคือผู้รับใช้ของท่าน เป็นที่ทราบกันว่าหากหลวงรองไม่ลงทรงแล้ว เจ้าองค์อื่นๆ ก็จะไม่มาลงทรงเช่นกัน เนื่องจากไม่มีคนคอยรับใช้ ที่จะถ่ายทอดความต้องการต่างๆ

บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องท่านกลายนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่หลอมรวมชุมชนพุทธและมุสลิมไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งต่างให้เกียรติในศาสนาและความเชื่อซึ่งกันและกัน ชาวมุสลิมไม่ได้ถือท่านกลายเป็นเทพเช่นชาวพุทธเพราะผิดหลักศาสนา แต่ก็มิได้ลบหลู่
  กลับให้ความนับถือเป็นหนึ่งบรรพชนที่คนรุ่นต่อมาควรค่าเคารพ ชาวพุทธเองก็ยึดมั่นหนักแน่นว่าในงานท่านกลาย อาหารคาวหวานจะต้องทำให้เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ให้ทุกคนได้แบ่งปันกันกินเช่นพี่น้องร่วมหมู่บ้าน

พิธีภาคค่ำจบสิ้นไป จนรุ่งสางของอีกวันมีการเลี้ยงพระและการเข้าทรงอีกครั้งด้วยขั้นตอนเดียวกับช่วงค่ำ หากแต่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สอบถามข้อข้องใจ ทั้งความเป็นไปของบ้านเมืองและเรื่องส่วนตัว
 

ทะเลกลายที่หากินหาอยู่ของผู้คน
ในโมงยามที่ทั้งหมู่บ้านกำลังพบกับระลอกคลื่นของความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นเกลียวคลื่นในนามของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการมาของท่าเรือบริษัทขุดเจาะน้ำมัน (เป็นสร้างฐานปฏิบัติการเพื่อการขุดเจาะน้ำมัน) และตามมาด้วยนิคมอุตสาหกรรม อันดับแรก โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หลายคนรู้สึกหวั่นกลัวยิ่งกว่าคลื่นมรสุมกลางทะเล   จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่มีลูกหลานจำนวนมากเฝ้ารอเพื่อสอบถามความเป็นไป ในอนาคตของหมู่บ้านต่อผู้ซึ่งเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยดูแลลูกหลานมา อย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือบูชาย่อมฟังเสียงร้องของลูกหลาน ทุกอย่างจึงต้องขึ้นอยู่กับคนกลาย รวมถึงคนเมืองคอน และคนไทยทั้งหมด ว่าเราจะร่วมกันกำหนดอนาคตของบ้านเมือง และลูกหลานเราไว้เช่นไร ก็คงย่อมเป็นไปเช่นนั้น
 

นี่คือสิ่งแปลกปลอมกลางทะเลที่จะมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและความล่มสลายของชุมชน

ประวัติศาสตร์ยาวนานของบ้านกลาย อยู่คู่กับการ
เปลี่ยนแปลงเหมือนคำว่า “กลาย” หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งก็ภาวนาให้มันเป็นไปในทางที่ดีที่งาม และชาวบ้านกลายทุกคนได้มีส่วนรับรู้และเห็นพ้องตรงกัน เชื่อว่าเมื่อนั้นจะไม่มีพายุหรือคลื่นลมระลอกใดให้เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับลูกหลานชาวเลอย่างคนกลายแน่นอน

การเชื้อท่านกลายที่มีทุกปีถือเป็นหลักยึดที่น่ายินดีที่ชาวบ้านมาร่วมกันเนืองแน่น และหากทุกผู้คนแข็งขันแบบนี้ในการต่อต้านการรังแกของกลุ่มทุนที่จะมาใช้ทะเล เพื่อสิ่งอื่นที่มิใช่เพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งคนและสัตว์ เชื่อว่าประชาชนจะมีชัยแน่นอน

และเมื่อนั้น คำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรม คืออีกเกราะป้องปกชุมชน จะเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจักษ์ที่บ้านกลาย

**พิมพ์ครั้งแรก คมชัดลึก
 
 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย