Skip to main content

แพรจารุ


 

          อยู่ที่ไหนก็กินอาหารที่นั่นแล้วชีวิตจะง่ายขึ้น อย่าพยายามหาของกินต่างถิ่น หรือของกินที่เราคุ้นเคย เพราะมันจะแพง พูดง่าย ๆ คือ มีอะไรก็กินอย่างนั้น และกินตามฤดูกาลเพราะของนอกฤดูกาลจะเกิดขึ้นมาเองไม่ได้ มันต้องใช้ความพยายามโดยคนและสารเคมีสารเร่งผลผลิต

           ช่วงหนึ่งฉันจำได้ว่า รู้สึกตัวเองเท่ที่ได้ซื้อผลไม้นอกฤดูกาลกิน คุยโวโอ้อวดดูเหนือกว่าผู้อื่น  แต่มาภายหลังรู้สึกตลกกับความคิดแบบนี้ ยิ่งมารู้ว่า ผลไม้พืชผักนอกฤดูกาล  ต้องใช้เคมีต้องใช้สารเร่ง คล้าย ๆ กับต้นไม้โดนขืนใจให้ออกลูกผล ต้นไม้ผลไม้จะไม่มีความสุขเพราะไม่ได้อยู่กันตามธรรมชาติ ก็รู้สึกเศร้าใจที่มีส่วนในการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำนั้น

             เดือนที่ผ่านมา หลานสาวมาเที่ยวเชียงใหม่ ที่บ้านทุ่งเสี้ยว  ฉันบอกเธอว่ามีร้านอาหารใต้ที่นี่ เธอบอกว่าสนใจของกินเมือง ๆ มากกว่า(ของกินเหนือ ๆนั่นแหละ) โดยเฉพาะอาหารที่ไม่เคยได้กินมาก่อน  เช้านี้จึงนำเสนอน้ำผักให้เธอได้ลองกิน  

             น้ำผักมื้อนี้ไมได้ทำเองนะคะ เพราะการทำน้ำผักนั้นต้องใช้เวลาหลายวัน ไม่ใช่ทำเดี๋ยวนี้แล้วกินได้เลย ดังนั้นจึงไปที่ตลาดทุ่งเสี้ยวเป็นตลาดเช้าที่เช้ามากที่สุดเลยจริง ๆ  เพราะเขาจ่ายกันตั้งแต่เที่ยงคืนตีหนึ่งเป็นต้นไป เพราะเป็นตลาดขายส่ง

              บางครั้งมีเพื่อน ๆ อยู่ปาร์ตี้กันถึงเที่ยงคืนตีหนึ่งก็จะชวนกันไปเดินตลาดเล่นเพลิน ๆ ไม่ต้องคิดถึงสุขภาพบ้างในบางช่วง เพราะมีขนมจีนน้ำเงี้ยวยามดึกที่ควันฉุยหอมกรุ่น ก๊วยจั๊บ ข้าวหลาม  ขนมทอด ข้าวเหนียวปิ้งให้เลือกกินแบบบันเทิง ๆ แม่ค้าจะมาทำขายแบบขายส่งมีแม่ค้ารายย่อยมารับไปขายอีกทีหนึ่ง อาหารปรุงใหม่ ๆ ของสดใหม่และถูกจะมีตอนนี้

          แต่ถ้ามา เจ็ดโมงเช้าถือว่าสายแล้วสำหรับตลาดนี้ ต้องซื้อมือสองแล้ว มือสองคือแม่ค้าที่รับมาอีกทีหนึ่ง  มาตลาดสายก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสียทีเดียวเพราะยังมีแม่ค้าที่มาสาย ๆ อยู่บ้าง ด้านข้างตลาดที่วางกับพื้นจะมีแม่ค้าแบบ”อุ๊ย”ที่เก็บของจากบ้านจากสวนมาขาย  อันนี้ไม่ผ่านคนกลางแน่นอน พวกผักแกงแค บะลิดไม้ หัวปลี หน่อส้ม แหนมเห็ด ผักกาดเมือง ผักบุ้งบ้าน ผักกินกับลาบ น้ำพริกน้ำแดง น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกน้ำผักก็อยู่ในส่วนนี้

            น้ำผักของอุ๊ย (คุณยาย) อาหารพวกนี้ส่วนใหญ่มีแต่คนระดับยายเท่านั้นที่ทำมาขาย ฉันเข้าใจว่า เด็กรุ่นใหม่ทำไม่เป็นแล้ว

            หลานสาวถามอย่างสนใจว่า ทำอย่างไร

              ยายใจดีรีบบอกว่าไปหาผักกาดมาก่อน ดีที่ยายไม่บอกให้ไปปลูกผักกาดเขียวหรือผักกวางตุ้งก่อน

               วิธีทำเมื่อได้ผักกาดมาแล้วล้างให้สะอาดแล้วเอามาต่ำจนแตกแหลกบีบน้ำออกแล้วแล้วเอาไปดองเกลือไว้สามวันจากนั้นยกขึ้นมาแล้วสับให้ละเอียดแล้วเอาไปต้มให้สุก แล้วก็ปรุงรส  ด้วย พริกแห้ง ข่า ย่างไฟให้หอมก่อน เพิ่มกระเทียมลงไปเล็กน้อย ต่ำให้ละเอียด เอาไปคลุกกับน้ำผัก หรือจะเอาน้ำผักมาใส่ครกตำเบา ๆ ในครกก็ได้แล้ว เหยาะผงชูรสลงไปนิดเหนึ่ง ใครไม่กินผงชูรสก็ไม่ต้องใส่แต่ของยายใส่นิดหนึ่งเพิ่มรสชาติ

              น้ำผักจะมรสเปรียวเค็มและเผ็ดรสชาติแบบนี้ทำให้เจริญอาหารดีนักแล

 

 

ปล.สูตรของอุ้ยเอามาดองก่อนสับแต่บางคนสับก่อนดองก็ได้เหมือนกันค่ะ

             

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย