Skip to main content

picture1

“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา 

เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ

แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย

หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ 

เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี ถือเป็นความผูกพันหนึ่งหรือเป็นความสัมพันธ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน  เพราะชีวิตการเดินทางเริ่มต้นจากรถไฟ ส่วนงานเขียนหนังสือผู้ชายที่ยืนริมทางรถไฟ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นคนเขียนหนังสือ

picture2

นอกจากได้อ่านบทสัมภาษณ์เรื่องราวของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ให้หายคิดถึง ตามประสาคนในแวดวงวรรณกรรม เพราะรู้จักรู้เรื่องกันอยู่แล้ว แต่คนอยู่ร่วมบ้านเดียวกันและเป็นคนเขียนหนังสือเหมือนกัน บอกฉันว่า หลังจากอ่านเรื่องของคุณสุชาติแล้ว พบว่าตัวเองเหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ถือว่าเป็นการค้นพบที่คุ้มค่ามาก

ความไม่พร้อมไม่ใช่เหตุผลที่เราจะไม่ทำ เป็นคำตอบหนึ่ง

ดูเหมือนคุณสุชาติจะมีความพยายามและตั้งใจสูงมากที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเขียน งานบรรณาธิการ โดยเฉพาะงานศิลปะภาพวาดที่ต้องลงทุนสูง เรียกว่าไม่ได้พร้อมด้านทุนแต่พร้อมด้านจิตใจ

ครั้งหนึ่งฉันมีโอกาสเดินทางไปบ้านเขา ในช่วงปลายปี 2540 

เป็นช่วงปีแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงค่าเงินบาทลด และช่วงตกงานอย่างจริงจัง เพราะหนังสือที่ทำอยู่ปิดตัวลงทีละเล่ม ๆ ช่วงนั้นได้เดินทางไปบ้านคุณสุชาติ เป็นการไปครั้งแรก กับเพื่อน ๆ นักเขียน มีสุจินดา กับชามาไปด้วย  
สุจินดากับชามาอยากดูรูปเขียนมากๆ  ตอนนั้นรูปยังไม่มาก เพราะเป็นการเริ่มต้น แต่สองนางที่หลงใหลงานศิลปะต่างชื่นชอบชื่นชมกันมาก ๆ   
พวกเขาคุยกันไม่รู้จบและฉันก็ง่วงมากจึงตัดสินใจนอนที่นั้น  ตื่นขึ้นมายามเช้า ศิลปินใหญ่หายไปจากบ้านแล้ว แต่ไม่นานก็เดินกลับมาพร้อมด้วยแปรงสีฟันสำหรับพวกเรา

นักเขียนอีกคน “ศรีดาวเรือง” ทำอาหารง่าย ๆ แบบประหยัด ๆ คือพวกผักต่าง ๆ และไข่ ส่วนนักเขียนที่เริ่มเป็นหนุ่ม เขามีคอลัมน์ในหนังสือ ไรท์เตอร์ มาคุยด้วย

ในช่วงนั้นฉันยังเป็นคนเขียนหนังสือที่รับจ้างทำหนังสือ รับจ้างเป็นรีไรท์เตอร์  เรียกว่ามีเงินพอที่จะอยู่สบาย แต่เหนื่อยและมีชีวิตอยู่กับการง่วงนอนเมื่อหนังสือพิมพ์ที่รับจ้างเป็นรีไรเตอร์ปิดลง  หนังสือที่เขียนบทความอยู่ก็ปิดลงทีละเล่ม จนหมด และตกงานอย่างจริงจัง ฉันไม่ได้บอกใครว่าฉันรู้สึกดีใจอยู่ลึก โล่งโปร่งสบายใจ

ได้เดินทางไปไหนต่อไหนรวมทั้งบ้านคุณสุชาติด้วย ฉันก็รู้สึกสบายที่ได้ล้มตัวลงนอนที่บ้านหลังนั้น ได้เห็นว่าการใช้ชีวิตไม่ต้องใช้เงินมากก็ได้ ไม่ต้องมีรถยนต์  ใช้รถไฟ และเดินตัดผ่านทุ่งก็ไม่ได้ลำบากอะไร ไม่ต้องมีเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้านมากมาย ไม่ต้องมีโทรศัพท์มือถือก็ได้ ชีวิตไม่ต้องแพงมากก็ได้

นี่เป็นจุดเปลี่ยนหนึ่ง ฉันจึงเป็นคนตกงานอย่างถาวร และไม่ได้ทำงานเพื่อหาเงินมาใช้ แต่หาเงินเพื่อทำงาน แค่มีกินและกินตามสมควร

แน่นอนล่ะ เหนื่อยยาก ลำบากอยู่บ้าง แต่ดีกว่ามีชีวิตที่ไม่สดชื่นเลยทั้งปีและอาจจะทั้งชาติ

แปดสิบบาทสำหรับ ฅ คน ถือว่า คุ้มค่าอยู่ เพราะนอกจากเรื่องราวของ “สุชาติ สวัสดิศรี” และการกลับมาของนิตยสาร ช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นไทย ที่เปิดรับเรื่องสั้นทั่วทิศ ไม่ใช่แค่นักเขียนเก่า แต่เป็นที่นักเขียนใหม่แจ้งเกิดด้วย ใครที่อยากเขียนเรื่องสั้นและกลัวว่าไม่มีใครอ่านหรือส่งไปแล้วบรรณาธิการไม่คุ้นชื่อไม่อ่าน ส่งมาที่ช่อการะเกด ไม่ผิดหวัง บรรณาธิการอ่านแน่ และที่สำคัญ โดยส่วนตัวแล้วพบว่า บรรณาธิการช่อการะเกด เขาอ่านงานนักเขียนด้วยเมตตา ด้วยมิตรที่อบอุ่น และให้เกียรติผู้เขียน สำหรับฉันเห็นว่า นี่เป็นเรื่องสำคัญมากที่หาได้ยากในบรรณาธิการรุ่นใหม่ ๆ

picture3 

เอาล่ะที่บอกว่า คุ้มค่าคือได้อ่านคอลัมน์ สโมสรจุดเปลี่ยน เพราะไม่ค่อยได้ดูโทรทัศน์ จึงไม่ได้ดูรายการนี้ เหตุที่ไม่ได้ดูเพราะว่า สัญญาณรับโทรทัศน์ไม่ค่อยจะดี ต้องลงทุนซื้อเสาอากาศ  พิจารณาดูแล้วไม่คุ้มทุนเท่าไหร่ มีรายการที่น่าสนใจน้อย จึงใช้วิธีดูบ้านเพื่อนถ้ามีรายการดี ๆ เพราะคนข้างบ้านเขาเอื้อเฟื้อ โทรทัศน์อยู่ใต้ถุนบ้านจอใหญ่ด้วย

ขอนำ สโมสรจุดเปลี่ยนมาเขียนถึงสักเล็กน้อย  เขาเสนอเรื่อง การใช้ปิ่นโตแทนถุงพลาสติก  ถุงพลาสติก เป็นภัยร้ายทำลายสภาพแวดล้อมของโลกในอนาคต และมีภาพของศิลปินคนหนึ่ง หิ้วปิ่นโตมาซื้อกับข้าวและมีตัวอักษรพาดผ่านภาพว่า ใช้มาสิบปีแล้ว

ใกล้บ้านฉันก็มีเด็กชายใช้ปิ่นโตมานับสิบปีแล้วเหมือนกัน ฉันเห็นเขาเอาปิ่นโตห้อยมากับหน้ารถจักรยาน กลับบ้านทุกเย็น เขาเอาข้าวไปกินโรงเรียน ตั้งแต่เริ่มเรียนอนุบาล จนถึงวันนี้เขาเรียน ป.6 แล้ว ปีหน้าเขาจะย้ายไปเรียนโรงเรียนในเมือง ฉันไม่รู้ว่าเขาจะเริ่มใช้กล่องโฟมหรือเปล่า

เอาล่ะ เพื่อสนับสนุนจุดเปลี่ยน เขาว่าต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน วันต่อมาฉันใช้ถุงผ้าไปซื้อของกับน้องสาวข้างบ้าน ไปซื้อซีอิ๊วขาว น้ำมันพืช กระเทียม หอม  ของสำหรับครัว ที่ร้านของชำเจ้าประจำในตลาด  ของพวกนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ถุงพลาสติก ใส่ถุงผ้าได้เลย แต่เมื่อบอกว่า ใส่ถุงผ้าไปเลย เขาบอกไม่เป็นไร ใส่ไปเถอะ 

ฉันเกือบจะยอมแพ้รับของมาแล้ว แต่ไม่ยอม ฉันยืนยันว่า ไม่เอา เก็บถุงพลาสติกไว้เถอะ เขาทำหน้าแปลก ๆ และรำคาญที่ต้องเอาของออกจากถุงพลาสติกใส่ถุงผ้า น้องที่ไปด้วยกันก็พูดเขิน ๆ ว่า พี่เขาอนุรักษ์ ฉันบอกว่า ไม่ให้มีขยะมาก จะได้ไม่ต้องเผามากนัก ฤดูร้อนจะได้ไม่มีหมอกควัน ลดภาวะโลกร้อนด้วย คนขายยิ้ม แต่คนที่ยืนรอซื้อของอยู่ใกล้ ๆ พูดขึ้นมา ว่าไม่เป็นไรหรอก ร้อนได้ก็เย็นได้  มีหมอกควัน พอฝนลงก็หายหมดแหละ ฝนตกหายหมดไม่ต้องกลัว

อือ...ฉันพยักหน้า แบบผู้แพ้ คร้านจะพูดต่อ แต่ไม่ได้เอาถุงพลาสติกกลับบ้านสักใบเดียว เรียกว่า ชนะตัวเอง

แค่นี้ก็สบายใจแล้ววันนี้ เรียกว่าสบายใจแบบพอเพียง ไม่หวังความสบายใจมาก แปดสิบบาทกับเรื่องผู้ชายริมทางรถไฟและจุดเปลี่ยนชีวิต

** ภาพประกอบจาก onopen.com

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น…
แพร จารุ
  ฉันรู้สึกว่ามันเป็นช่วงปีใหม่ที่ไม่รู้สึกสดชื่นนัก ดูเหงา ๆ วังเวง ในท่ามกลางงานเลี้ยงรื่นเริงที่มีอยู่และเป็นไปตามวาระของมัน ความรู้สึกอย่างนี้มันอยู่ลึกลงไปแต่ฉันสัมผัสได้อย่างเย็นเยียบจริง ๆ ฉันไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือไม่ หรือว่าฉันรู้สึกอยู่คนเดียว ว่าเป็นปีใหม่ที่ไม่มีความรื่นเริงอยู่จริง มันหดหู่อยู่ภายในหัวใจอย่างไรไม่รู้ คล้ายรู้สึกว่า ความเศร้ามารอคอยเคาะประตูอยู่หลังบ้าน... หลังจากงานรื่นเริงจบลงฉันถามตัวเองหลายครั้งว่าความรู้สึกนี้เป็นจริง หรือว่าฉันกำลังจะป่วยด้วยอาการกลัวหรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า อะไรทำให้ฉันคิดอย่างนั้น หรือเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของตัวเอง…
แพร จารุ
ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ “ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด” หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้นธนภูมิ อโศกตระกูลเขาเล่าว่า “ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว…
แพร จารุ
“หนาวไหม หนาวหรือยัง”“หนาวแล้ว เชียงไหมหนาวแล้ว”“ฉันจะไปเชียงใหม่”บทสนทนาหนึ่ง ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ รายงานข่าว ขณะนี้ยอดดอยอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะดอยสูงอุณหภูมิติดลบแล้ว เกิดน้ำค้างแข็ง มีคำถามว่า นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะมาเชียงใหม่ควรได้รับรู้ข่าวคราวอะไรบ้างนอกจากว่า หนาวแล้วหรือหนาวกี่องศา ชายคนหนึ่งพูดขึ้นในยามบ่าย เขาพูดต่อว่า ถ้าอยากให้คนอื่นที่มาเที่ยวเชียงใหม่ รู้ว่าเขาควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมืองและรักเมืองนี้ เราต้องให้ข่าวสารเขามากกว่านี้  เราควรต้องทำงานกับสื่อให้มากว่านี้  เขาเป็นหนึ่งในคนทำงานภาคีฯการมุ่งเน้นให้คนเชียงใหม่ดูแลเมืองเชียงใหม่…
แพร จารุ
มีเพื่อนผู้หวังดีส่งเมลมาว่า ให้เขียนเรื่องดี ๆ เพื่อเมืองเชียงใหม่บ้าง ทำไมถึงมองไม่เห็นความงามของเมืองบ้าง  ฉันจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา               1ถ้ามองลงมาจากฟ้า เราจะเห็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงกลาง มีป่าดอยสุเทพอยู่ทางตะวันตก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางตะวันออก  ช่างเป็นเมืองงดงามที่สมบูรณ์ เล่ากันว่า เดิมทีผู้คนในเมืองนี้อยู่กันอย่างสงบสันติ แต่แน่นอนเมืองที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมมีผู้คนต้องการ เข้ามาอยู่มาครอบครอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติบนดอยสูง หลายร้อยปีต่อมา เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว…
แพร จารุ
ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีสาระอะไรเลย เล่าเรื่องนี้ เพราะวันพิเศษเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถือว่า เป็นการผจญภัยในดินแดนที่รื่นรมย์เลยทีเดียวฉันจะเรียกเขาว่า แขกพิเศษ เพราะเป็นการมาเยือนแบบไม่คาดคิดมาก่อน และต่างมาในวันเดียวกันด้วย อีกทั้งไม่ได้นัดหมายมาล่วงหน้า ต่างมาแบบตั้งตัวไม่ติดทั้งนั้น แขกคนที่หนึ่ง เขาเดินทางมาด้วยรถมอเตอร์ไชค์ มาถึงก่อนที่เจ้าของบ้านจะทันตื่น ได้ยินเขาส่งเสียงตะคอก เจ้าสองตัวแม่ลูก ที่ทำหน้าที่เฝ้าบ้าน มันเห่าเสียงแหลมเล็กตามแบบของหมาเล็ก และยังเยาว์ ฉันว่าคนเลี้ยงหมาทุกคนไม่ชอบให้ใครตะคอกหมา และยินดีที่มีคนรักหมาของตัวเอง…
แพร จารุ
ไม่รักไม่บอก  เออ...เหมือนมีใครมาพูดอยู่ข้างหู บอกว่า ฉันรักเธอนะจึงบอก แต่ว่าเรื่องที่ฉันจะบอกนั้น เธออาจไม่ชอบ เธออาจจะโกรธฉัน  แต่ที่ฉันต้องบอกเพราะว่า ฉันรักเธอและปรารถนาดีต่อเธอจริง ๆ “ฉันไม่บอกไม่ได้แล้ว”ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกรำคาญใจ พูดพร่ำอยู่ทำไม อยากบอกอะไรก็บอกมาเถอะ ใช่...ไม่รักไม่บอกค่ะ เป็นชื่อหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ มีการ์ตูนน่ารักๆ เปิดไปหน้าแรก ผู้เขียนบอกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเรื่องน่ารัก มีเรื่องดีงามที่เขาค้นพบอยู่มากมาย เขาเล่าถึงเรื่อง เด็กชายคนหนึ่ง ตามแม่ไปซื้อของที่ร้านเกษมสโตร์ เขากินไอศกรีมรอแม่…
แพร จารุ
เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพร จารุ
“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา  เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ  เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี…