Skip to main content
20_05_01

ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ

 

เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก

เหตุร้ายหนัก ๆ สองแห่ง แผ่นดินไหวที่เมืองจีน และเกิดไซโคลนนาร์กีสที่พม่า

 

คนตายเป็นคนหายเป็นแสน ฉันนึกภาพไม่ออกเลย แค่เราเห็นคนตายเพียงคนหรือสองคนก็รู้สึกเศร้าเหลือเกิน

 

เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นคนนะ ไม่ใช่ผักไม่ใช่ปลากะตักตัวเล็ก ๆ นะคะ โดยเฉพาะในพม่านั้นตัวเลขการเสียชีวิตยังไม่หยุด เพราะมีผู้เจ็บป่วยอยู่อีกจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่ไร้ทีอยู่อาศัย และคนอดอยากที่ไม่มีอะไรกิน อีกทั้งรัฐบาลของเขาก็อยากช่วยเหลือตัวเองอยากจัดการกับปัญหาด้วยตัวเองไม่ค่อยจะยอมรับการช่วยเหลือ ยังคงอยากปิดประเทศ เพื่อความมั่นคง

 

เอ้อ...อะไรมันจะสำคัญเท่าชีวิตของเพื่อนมนุษย์

 

ฉันรู้จักน้อง ๆ ชาวพม่าสี่ห้าคน ที่เคยเช่าบ้านอยู่ใกล้ ๆ กันแถวแม่ริม จึงโทร.ไปถามว่า ญาติพี่น้องเป็นอย่างไร พวกเขาขอบอกขอบใจที่พี่ยังไม่ลืม

ฉันบอกพวกเขาว่า พี่ก็ทำได้แค่นี้แหละน้อง เธอว่า แค่นี้ก็ขอบคุณมากแล้วพี่

ฉันบอกเธอว่า แล้วเราจะพบกันเพราะ มีการจัดงานที่เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 15.00 - 22.00 . เธอคงไปที่นั่น เธอตอบว่าไปแน่นอนและหวังว่าจะได้พบกัน

ในโอกาสนี้ ฉันจึงเขียนมาเพื่อบอกกล่าวท่านผู้อ่าน ว่า "ไปพบกัน" งานนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อหาทุนทรัพย์เพื่อการส่งไปช่วยเหลือเท่านั้น แต่เป็นงานเรียกขวัญและกำลังใจ เป็นงานบอกกล่าวของหัวใจที่มองผ่านการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

 

ไปพบกันนะคะ ในวันที่ 20 งานดนตรีและเวทีสาธารณะเพื่อความช่วยเหลือพื่อนผู้ประสบภัยในพม่า วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 15.00 - 22.00 . หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์

งานนี้จัดขึ้นเพื่อ ระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กิสในพม่าให้กับองค์ท้องถิ่นที่ทำงานในพื้นที่ประสบภัยประเทศพม่า สร้างความเข้าใจและตระหนักร่วมกันถึงสถานการณ์ทางการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ในพื้นที่ผลกระทบจากพายุไซโคลนนาร์กิ

ให้กำลังใจให้กับพี่น้องจากประเทศพม่าที่อยู่ในประเทศไทย ตลอดจนพี่น้ององค์กรที่ทำงานในประเด็นประเทศพม่า

เริ่ม 15.30 - 17.30 เวทีสาธารณะ "การละเมิดสิทธิมนุษยชนถึงไซโคลนนากิสในพม่า"
ผู้เข้าร่วมเสวนา : วิน มิน นักวิชาการชาวพม่า พลากร วงศ์กองแก้ว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) พูดถึงทิศทางความช่วยเหลือระยะสั้นระยะยาว : บทเรียนจากสึนามิ) บทเรียนคนทำงานเครือข่ายอาสาสมัครไทย และ อ.ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์สถานการณ์
18.00 - 22.00 น. มีการประมูลภาพวาดของ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา และ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี Miss and Mr. Questions ให้ข้อมูลสถานการณ์โดยน้องๆ เยาวชน จากพม่า ตามด้วย บทเพลงเพื่อเพื่อนพม่า จากพี่น้องพม่าและไทย ได้แก่ สุนทรีย์ เวชานนท์, บุ๊ค คีตวัฒนะ, สุวิชานนท์, สุดสะแนน, Yenni และ ตุ๊ก Brasserie, ดนตรีจากเยาวชนจากพม่า

แสงดาว ศรัทธามั่น ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร อ่านบทกวี นอกจากนี้ยังมี ซุ้มระดมทุนและของที่ระลึก ได้แก่ ภาพถ่ายจาก ศรันย์ บุญประเสริฐ, ธีรภาพ โลหิตกุล, จีรนันท์ พิตรปรีชา, ตุ๊กตาหมี จากโน้ส อุดม แต้พานิช และอื่นๆ อีกมากมาย ชิมอาหารพม่า และกาแฟสดจากร้านหลวงพระบาง

  • เพื่อนร่วมจัดมีมากมาย เช่น กลุ่มภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่

  • Regional Center for Sustainable Development (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • เพื่อนพี่น้ององค์กรที่ทำงานประเด็นประเทศพม่าในจังหวัดเชียงใหม่

  • เพื่อนพี่น้องศิลปินชาวไทยและพม่าในจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

ถ้าถามว่า เราจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้ ช่วยได้ดังนี้ค่ะ

1.ไปร่วมงานที่งานมีกล่องบริจาค

2.ซื่อของที่นำมาขายในงาน

3.หากท่านมาไม่ได้ สามารถบริจาคเงินโดยผ่านองค์กรร่วมจัด หรือโทร.สอบถามได้ที่

4 ไปให้กำลังใจและส่งความปรารถนาดีสวดมนต์ให้กับทุกชีวิตที่ประสบภัย

คุณเอ๋ 086-9091238 apassorns@hotmail.com

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“จึงขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริงด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน และความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ” ฉันชอบถ้อยคำนี้มาก เป็นถ้อยคำ ที่เพื่อนนำมาฝากหลังจากที่เธอกลับมาจากภาวนา เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... เพื่อนของฉันกลับมาจาก “ภาวนา” แบบหมู่บ้านพลัม เธอว่าดีงามมาก ใช้กับชีวิตได้ เธอพูดถึง ข้ออบรมสติ 5 ประการ แต่เธอเน้นข้อฝึกอบรม ข้อที่ 4 เธอเขียนส่งมาให้ฉันอ่าน ฉันคิดว่าเธอคงอยากให้ฉันตระหนักรู้ หรือไม่เธอก็บอกอ้อม ๆ ว่า ฉันเป็นคนที่ควรจะปฏิบัติเพราะฉันมีปัญหาในข้อนี้…
แพร จารุ
ระหว่างการพูดคุยกับเพื่อน เพื่อนนักเขียนของฉัน ไปอยู่ไกลถึงลอนดอน ช่วงที่ผ่านมาเธอกลับบ้านเพื่อมาส่งแม่เดินทางไกล เพราะครั้งนี้แม่ไปแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย และไม่รู้ว่าเส้นทางสายยาวไกลของแม่อยู่ที่ไหน แต่สำหรับเธอ เชื่อว่า จะไปพบกันที่พระเจ้า เราไม่ได้พบหน้ากันมานาน ได้แต่คุยโทรศัพท์กัน ช่วงแรกเพื่อนนักเขียนของฉันนั่งทำงานเขียน นั่งวาดภาพ และปลูกต้นไม้อยู่ในเรือนกระจกอยู่ที่บ้าน ต่อมาเธอไม่เลือกที่จะนั่งเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านแล้ว เธอไปทำงานที่พักคนชรา ทำงานอยู่กับคนแก่ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริงของชีวิต เธอมีการงานที่มีความเศร้า ความตายของคนแก่ที่นั่นอยู่เสมอ
แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“…
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน
แพร จารุ
 “ไม่นานคนก็ตายกันหมดโลกแน่ ๆ”หญิงสาววัยเพิ่งผ่านเลขสามพูดขึ้นก่อนล้มตัวลงนอน “พี่เชื่อไหม ไม่นานผู้คนจะตายหมดโลก” เธอพูดอีกครั้ง “อะไรทำให้เธอคิดเช่นนั้น” ฉันถามออกไปด้วยความขลาดกลัว มานอนกลางป่ากลางเขาแล้วพูดถึง เรื่องความตาย  ไม่อยากจะฟังคำตอบจากเธอ รีบเตรียมถุงนอน พร้อมที่จะล้มตัวลงนอนใกล้ ๆ เธอ คืนนี้เราเลือกที่จะไม่นอนในบ้านสบาย ๆ แต่เลือกที่จะมานอนกันในป่าเปลี่ยนบรรยากาศ   เธออธิบายต่อว่า เมื่อกลางวันได้ยินข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงราย 3.5 ริกเตอร์  เมื่อแผ่นดินไหวที่เชียงรายได้ ก็ไหวที่เชียงใหม่ได้ หรือที่อื่น ๆ ได้ และมันคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “อือ...ก็น่าจะจริง…
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
แพร จารุ
ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ  เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก
แพร จารุ
“พี่มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม้พี่ไม้ ไม้เป็นหมื่น ๆ” เธอส่งเสียงมาเหมือนถูกผีหลอกกลางวัน“อยู่แดนสนธยาที่ไหน” ฉันถามกลับไปเพื่อให้ตัวเองตั้งสติหากมีเรื่องร้าย “ไม่ใช่ต้นไม้แต่เป็นไม้เป็นหมื่น ๆ ท่อนพี่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันเยอะจริง เดี๋ยวจะถ่ายรูปส่งไปให้ดู บางต้นมีผ้าเหลืองผ้าแดงผูกโคนต้นด้วย” “ที่ไหน” “กิ่วคอหมาพี่ เขากำลังสร้างเขื่อนกิ่วคอหมา พี่รู้เรื่องนี้ไหม พูดแล้วขนลุกพี่ รอเดี๋ยว ๆ นะพี่นะจะส่งรูปไปให้ดู”“จ๊ะ แล้วเธอไปทำไม”“ขับรถผ่านมานะพี่  กลับมาจากลำปาง”เธอพูดหลายครั้งว่าเธอไม่เคยเห็นไม้เยอะขนาดนี้มาก่อนจริง ๆ และสงสัยว่าทำไมเขายังตัดไม้กันขนาดนี้…
แพร จารุ
เขาว่ากันว่า  เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งธรรมชาติงดงาม เมืองวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จอดดูสักหน่อยซิเขาเล่ากันต่อว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เชียงใหม่เติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงสุด ปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวเชียงใหม่มากมาย เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ต้องรับภาระหาเงินทอง เมกกะโปรเจคขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ว้าว! แล้วคนเชียงใหม่ คิดอย่างไรกับเมืองเชียงใหม่ หากไปถามคำถามนี้ ร้อยทั้งร้อยคนเชียงใหม่ต่างวิตกกังวล คนเชียงใหม่บอกว่า เมืองน่าอยู่นั้นคือเมื่อก่อน เมื่อก่อนซึ่งไม่นานเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ คนเชียงใหม่ลำบากกับรถติดในเมือง คนเชียงใหม่กลัวน้ำท่วมเหมือนปี 2548 ฤดูร้อน…
แพร จารุ
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน “ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก“…
แพร จารุ
ป้าของฉันเป็นผู้หญิงธรรมดามาก ไม่เป็นที่รู้จักของใคร  ฉันคิดว่าคนที่ป้ารู้จักมีแต่หลาน ๆ กับคนข้างบ้านเท่านั้น และคนที่รู้จักป้าก็เช่นกัน ป้าเป็นผู้หญิงธรรมดาจริง ๆ แต่ฉันอยากเขียนถึงป้า เพราะน่าจะมีแต่ฉันที่จะเขียนถึงป้า และฉันก็น่าจะเป็นหลานคนเดียวที่ไม่เคยได้ทำอะไรให้ป้าเลยนอกจากเขียนถึงป้า ใจหายเหมือนกันเมื่อคิดว่า นี่คือสิ่งแรกที่ฉันจะทำให้ป้า ป้าฉันไม่มีอะไรพิเศษเลยนอกจากเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ฉันรู้จักเป็นป้าหลานมา ฉันไม่เคยเห็นป้าทำอะไรไม่ดีเลย ไม่ใช่แกเป็นป้าที่ดีของพวกหลาน ๆ แกเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเพื่อนบ้าน ชีวิตป้ามีความสุขมาก ฉันคิดว่าป้ามีความสุขทุกวัน…