Skip to main content
20_05_01

ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ

 

เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก

เหตุร้ายหนัก ๆ สองแห่ง แผ่นดินไหวที่เมืองจีน และเกิดไซโคลนนาร์กีสที่พม่า

 

คนตายเป็นคนหายเป็นแสน ฉันนึกภาพไม่ออกเลย แค่เราเห็นคนตายเพียงคนหรือสองคนก็รู้สึกเศร้าเหลือเกิน

 

เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นคนนะ ไม่ใช่ผักไม่ใช่ปลากะตักตัวเล็ก ๆ นะคะ โดยเฉพาะในพม่านั้นตัวเลขการเสียชีวิตยังไม่หยุด เพราะมีผู้เจ็บป่วยอยู่อีกจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่ไร้ทีอยู่อาศัย และคนอดอยากที่ไม่มีอะไรกิน อีกทั้งรัฐบาลของเขาก็อยากช่วยเหลือตัวเองอยากจัดการกับปัญหาด้วยตัวเองไม่ค่อยจะยอมรับการช่วยเหลือ ยังคงอยากปิดประเทศ เพื่อความมั่นคง

 

เอ้อ...อะไรมันจะสำคัญเท่าชีวิตของเพื่อนมนุษย์

 

ฉันรู้จักน้อง ๆ ชาวพม่าสี่ห้าคน ที่เคยเช่าบ้านอยู่ใกล้ ๆ กันแถวแม่ริม จึงโทร.ไปถามว่า ญาติพี่น้องเป็นอย่างไร พวกเขาขอบอกขอบใจที่พี่ยังไม่ลืม

ฉันบอกพวกเขาว่า พี่ก็ทำได้แค่นี้แหละน้อง เธอว่า แค่นี้ก็ขอบคุณมากแล้วพี่

ฉันบอกเธอว่า แล้วเราจะพบกันเพราะ มีการจัดงานที่เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 15.00 - 22.00 . เธอคงไปที่นั่น เธอตอบว่าไปแน่นอนและหวังว่าจะได้พบกัน

ในโอกาสนี้ ฉันจึงเขียนมาเพื่อบอกกล่าวท่านผู้อ่าน ว่า "ไปพบกัน" งานนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อหาทุนทรัพย์เพื่อการส่งไปช่วยเหลือเท่านั้น แต่เป็นงานเรียกขวัญและกำลังใจ เป็นงานบอกกล่าวของหัวใจที่มองผ่านการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

 

ไปพบกันนะคะ ในวันที่ 20 งานดนตรีและเวทีสาธารณะเพื่อความช่วยเหลือพื่อนผู้ประสบภัยในพม่า วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 15.00 - 22.00 . หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์

งานนี้จัดขึ้นเพื่อ ระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กิสในพม่าให้กับองค์ท้องถิ่นที่ทำงานในพื้นที่ประสบภัยประเทศพม่า สร้างความเข้าใจและตระหนักร่วมกันถึงสถานการณ์ทางการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ในพื้นที่ผลกระทบจากพายุไซโคลนนาร์กิ

ให้กำลังใจให้กับพี่น้องจากประเทศพม่าที่อยู่ในประเทศไทย ตลอดจนพี่น้ององค์กรที่ทำงานในประเด็นประเทศพม่า

เริ่ม 15.30 - 17.30 เวทีสาธารณะ "การละเมิดสิทธิมนุษยชนถึงไซโคลนนากิสในพม่า"
ผู้เข้าร่วมเสวนา : วิน มิน นักวิชาการชาวพม่า พลากร วงศ์กองแก้ว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) พูดถึงทิศทางความช่วยเหลือระยะสั้นระยะยาว : บทเรียนจากสึนามิ) บทเรียนคนทำงานเครือข่ายอาสาสมัครไทย และ อ.ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์สถานการณ์
18.00 - 22.00 น. มีการประมูลภาพวาดของ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา และ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี Miss and Mr. Questions ให้ข้อมูลสถานการณ์โดยน้องๆ เยาวชน จากพม่า ตามด้วย บทเพลงเพื่อเพื่อนพม่า จากพี่น้องพม่าและไทย ได้แก่ สุนทรีย์ เวชานนท์, บุ๊ค คีตวัฒนะ, สุวิชานนท์, สุดสะแนน, Yenni และ ตุ๊ก Brasserie, ดนตรีจากเยาวชนจากพม่า

แสงดาว ศรัทธามั่น ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร อ่านบทกวี นอกจากนี้ยังมี ซุ้มระดมทุนและของที่ระลึก ได้แก่ ภาพถ่ายจาก ศรันย์ บุญประเสริฐ, ธีรภาพ โลหิตกุล, จีรนันท์ พิตรปรีชา, ตุ๊กตาหมี จากโน้ส อุดม แต้พานิช และอื่นๆ อีกมากมาย ชิมอาหารพม่า และกาแฟสดจากร้านหลวงพระบาง

  • เพื่อนร่วมจัดมีมากมาย เช่น กลุ่มภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่

  • Regional Center for Sustainable Development (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • เพื่อนพี่น้ององค์กรที่ทำงานประเด็นประเทศพม่าในจังหวัดเชียงใหม่

  • เพื่อนพี่น้องศิลปินชาวไทยและพม่าในจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

ถ้าถามว่า เราจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้ ช่วยได้ดังนี้ค่ะ

1.ไปร่วมงานที่งานมีกล่องบริจาค

2.ซื่อของที่นำมาขายในงาน

3.หากท่านมาไม่ได้ สามารถบริจาคเงินโดยผ่านองค์กรร่วมจัด หรือโทร.สอบถามได้ที่

4 ไปให้กำลังใจและส่งความปรารถนาดีสวดมนต์ให้กับทุกชีวิตที่ประสบภัย

คุณเอ๋ 086-9091238 apassorns@hotmail.com

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย