Skip to main content

...

คนในภาพ คีอ วาสนา มาบุตร แม่ของปัทมา เธอแนะนำให้ลูกเข้ามอบตัวหลังจากเห็นหมายจับของตำรวจ

ปัทมาถูกจับที่สถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกดตัวเธอลงกับพื้นถนนและเอาปืนจ่อและนำตัวเธอมาแถลงข่าวการจับกุม โดยปัทมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและไม่ได้กล่าวอะไรในการแถลงข่าว.

 

 

1

 

เห็นหน้าผู้หญิงคนนี้ - วาสนา มาบุตร ทำให้คิดถึงผู้หญิงอีกคน คือ ปัทมา มูลมิล ลูกสาวของเธอซึ่งเป็นนักโทษคดีการเมืองข้อหาเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ปัทมา ถูกศาลตัดสินจำคุก 33 ปี 12 เดือน (หลังจากลดหย่อนโทษจากจำคุกตลอดชีวิตให้เหลือ 1 ใน 3 แล้ว) คิดถึงเมื่อครั้งปัทมาขึ้นให้การในชั้นศาลเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2011 มันได้นั่งฟังและบันทึกลงสมุดด้วยปากกาสีแดง

ปัทมา มูลมิลให้การต่อศาลว่า วันที่ 19 พฤษภาคม 2010 เธอตื่นนอนตอนแปดโมงเช้าและจะไปช่วยแม่ขายของ แต่มีเพื่อนโทรมาชวนให้ไปชุมนุมประท้วงเพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับการสั่งให้ทหารออกมาปราบปรามประชาชนที่สี่แยกราชประสงค์ และได้ไปรวมตัวกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่หน้าบ้าน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาลขณะนั้น    ปัทมาเพียงต้องการไปเผายางประท้วงเชิงสัญลักษณ์ที่หน้าบ้านของ ส.ส. และตำรวจก็บอกให้ระวังอย่าให้ลุกลามไปไหม้บ้าน จึงย้ายมาจุดกลางถนนแทน และจากนั้นก็ย้ายไปที่หน้าบ้านของส.ส.ประชาธิปัตย์อีกคนและตำรวจก็ได้แต่ปรามว่าระวังอย่าให้ไหม้บ้านหรือไหม้สายไฟ

หลังจากนั้นก็จะกลับบ้าน มีรถคันหนึ่งบอกจะกลับบ้านทางตระการพืชผลก็ขออาศัยไปด้วย เพื่อจะลงแถวชุมชนมุสลิม แต่พอถึงกองบินที่ 21 ก็มีรถกระบะของคนเสื้อแดงผ่านมา 2 คันวิ่งสวนมา จึงตะโกนถามว่า จะไปไหน คนในรถตอบมาว่า จะไปศาลากลางจังหวัด คนขับรถที่เธออาศัยมาด้วยก็เลี้ยวกลับวิ่งตามรถที่ไปศาลากลางจังหวัด

ประมาณเกือบบ่ายโมง เมื่อไปถึงศาลากลางจังหวัดเห็นคนกำลังเผายางอยู่รอบนอกของรั้วศาลากลางจังหวัดฝั่งวัดชัยมงคล เห็นคนเขากำลังขนยางก็เลยลงไปช่วย เธอให้การว่า ตรงหน้าทุ่งศรีเมืองมีผู้ชุมนุมขนยางรถยนต์ลงจากรถ จากนั้นก็ไปฝั่งวัดศรีอุบลรัตนาราม ยังไม่ทันได้เผายาง คณะของผู้ว่าราชการจังหวัด (นายชวน ศิรินันท์พร) ก็เดินมา มีชายคนหนึ่งตะโกนบอกกับผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ไม่ได้เข้าไปในศาลากลางจังหวัด มาเผายางเฉย ๆ เผายางเสร็จก็จะกลับ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็สั่งว่า “ให้เขาทำงานของเขาไป เขาทำงานเสร็จก็กลับ” และผู้ว่าฯก็ยืนดูการเผายางจากในรั้วศาลากลางจังหวัด ส่วนเธอเดินไปเดินมาระหว่างรอบรั้วศาลากลางจังหวัดและเห็นทหารยืนตลอดแนวรั้วศาลากลางจังหวัด เห็นอป.พร.ประมาณ 300 – 400 คนถือกระบองอยู่ตรงหน้าศาลากลางจังหวัด ชั้นในสุดเป็นทหารถือโล่

สักพักทหารราว 20 นาย ก็เดินมาที่รั้วศาลากลางด้านหน้า ปัทมายืนดูอยู่ที่ด้านนอกรั้วฝั่งวัดศรีอุบลรัตนาราม ก็ไม่รู้ว่ามีการพูดคุยอะไรกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร แต่ได้ยินกลุ่มคนเสื้อแดงตะโกนว่าให้เอาทหารออกไปและก็เห็นการขว้างขวดน้ำและกระบองใส่กัน สักพักรั้วศาลากลางจังหวัดก็พังลง ผู้ชุมนุมกรูกันไปที่กลางสนามหญ้าหน้าศาลากลางจังหวัด จากนั้นก็ได้ยินเสียงปืน เห็นคนล้มลงกลางสนาม 2 – 3 คน จากนั้นก็เห็นคนนำผู้หญิงที่ล้มลงออกไปทางรั้วที่พังลงมานั้น

ปัทมาให้การว่า ตอนนั้นเธอยืนอยู่นอกรั้วศาลางกลางจังหวัดก็ได้ตะโกนถามตำรวจด้วยความโมโหว่า ยิงทำไม ยิงทำไม ตำรวจบอกว่า “ไม่ได้ยิง สงสัยจุดประทัด สงสัยวิ่งชนกันเองแล้วล้มเอง พวกพี่ไม่มีอาวุธปืนมีแต่กระบองกับโล่” ก็เลยถามว่าแล้วใครยิง ตำรวจบอกว่า ไม่รู้ล่ะ คิดเอาเอง ตอนนั้นได้ยินเสียงประกาศจากรถสิบล้อว่า มีคนถูกยิงตายแล้ว ชายสองหญิงหนึ่ง เด็กหนึ่ง อายุ 16 ปี ก็เลยโมโห เพราะเขาสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯเราจึงออกมาชุมนุมวันนี้ ก็เลยเขย่ารั้วด้วยความโกรธ เขย่าไม่นานรั้วศาลากลางก็พังลง...

 

2

 

รั้วศาลากลางจังหวัดฝั่งที่ยืนอยู่พังลง

ปัทมา มูลมิล ให้การต่อศาลว่า เธอพยายามมองหาคนที่รู้จัก แต่ก็ไม่เห็นใครเลย มีคน 2 – 3 คนวิ่งมาพังรั้ว ประมาณ 10 นาทีจากนั้นก็มีคนเดินมาจากด้านหน้าศาลากลางจังหวัดบอกว่า ทหารที่ยิงคนอยู่ในศาลากลางจังหวัด ก็จึงวิ่งเข้าไปกับพวกเขา และมีคนตะโกนบอกว่า “เข้ามา เข้ามาช่วยกันไล่ทหาร” จึงหยิบไม้ยาวจากบริเวณก่อสร้างแล้ววิ่งเข้าไปจากทางฝั่งธนารักษ์

พอไปถึง มีคนยืนอยู่ก่อนแล้ว 5 – 6 คน ไม่รู้จักว่าเป็นใคร มีผู้ชายคนหนึ่งชี้ว่า ทหารอยู่ในนี้แหละ แล้วผู้ชายคนนั้นก็ถือเหล็กไปทุบที่หน้าต่างชั้นล่างของศาลากลางจังหวัด ก็เลยหยิบก้อนหินมาขว้างแล้วก็ถอยออกมาสักพักก็ไม่เห็นมีอะไร ผู้ชายคนนั้นก็ปีนเข้าทางหน้าต่าง ระหว่างยืนงงๆอยู่ก็มีผู้ชายใส่เสื้อแขนยาวสีดำเดินมาจากข้างหลังแล้วเอาขวดโซดาสิงห์มายัดใส่มือ มีน้ำอยู่ข้างในผูกผ้าสีเหลือง จึงถามเขาว่าอะไร ? เขาบอกว่า น้ำมัน จุดไฟแล้วโยนเลย

“บ้าเหรอ!?”

ปัทมายอมรับว่า ตอนนั้นโมโห แต่ไม่คิดว่าจะต้องถึงขั้นเผาศาลากลางจังหวัด ก็เลยคืนขวดนั้นให้ผู้ชายคนนั้น ตอนนั้นก็ได้ยินเสียงฟิ้วข้ามหัวเข้าไปในห้องแล้วก็มีไฟลุก จึงถอยออกมาข้างหลังแล้วนอนหมอบกับพื้นสนามหญ้าห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 30 เมตร ตอนนั้นก็คิดในใจว่า “เผากันจริงๆเลยเหรอ?”

ประมาณ 1 นาที มีคนบอกว่า มีทหารอยู่ชั้น 2 ก็เลยวิ่งเข้าไปเพื่อจะไปดูและให้คนพวกนั้นรู้ว่าเราเห็นเขานะ ก็เห็นชายชุดดำ ประมาณ 5 – 6 คนมีข้อความว่า POLICE อยู่ด้านหลังเสื้อ สะพายปืนและวิ่งออกไปด้านมุขกลางไปทางด้านหลังศาลากลางจังหวัด ปัทมาบอกว่า ตอนนั้น เห็นเหล็กท่อนหนึ่งวางอยู่ตรงเสา จึงถือติดตัวไปด้วยเพื่อป้องกันตัว

ปัทมาให้การว่า เมื่อยืนอยู่ตรงนั้น มีชายคนหนึ่งมาจากทางขวามือ ถือขวดเหล้า จุดไฟแล้วขว้างลงพื้น จากนั้นไฟก็ลุกพรึบจากนั้นเขาก็จุดอีกขวดแล้วขว้างไปอีกที่ตรงห้องโถงห้องเดิม ขณะนั้นด้านหลังศาลากลางก็มีเสียงปืนดังขึ้นเป็นชุด   จากนั้นปัทมาก็ออกวิ่งไปด้านหน้าศาลากลางจังหวัดและหมอบลงตรงลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เพราะคิดว่าตนเองเป็นเป้าใหญ่ กลัว เพราะเป็นคนตัวใหญ่

รอจนเสียงปืนสงบลงสักพักจึงคลานออกมาตามต้นไม้ออกไปทางวัดศรีอุบลรัตนาราม ยืนตรงป้ายรถเมล์ประมาณ 10 นาที จึงเดินไปที่ร้านรวมสินไทยแล้วขึ้นรถเมล์กลับบ้าน

ปัทมาให้การว่า ตอนเธอออกมานั้นมีคนอยู่ด้านหน้าศาลากลางเป็นกลุ่ม ๆ และด้านหลังศาลากลางซึ่งไฟกำลังลุกไหม้นั้นมีตำรวจและอป.พร.

กลับถึงบ้านก็อาบน้ำนอนดูข่าวโทรทัศน์ ตอน 6 โมงเย็นมีข่าวศาลากลางจังหวัดถูกเผา
...


นี่คือบันทึกหน้าบัลลังก์หลังจากการนั่งฟังคำให้การของปัทมา มูลมิล เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2011 และวันที่ 24 สิงหาคม 2011 ศาลตัดสินจำคุกเธอตลอดชีวิต ลดเหลือ หนึ่งในสาม เป็น 33 ปี 12 เดือน


...

 


คนในภาพ คีอ วาสนา มาบุตร แม่ของปัทมา เธอแนะนำให้ลูกเข้ามอบตัวหลังจากเห็นหมายจับของตำรวจ

ปัทมาถูกจับที่สถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกดตัวเธอลงกับพื้นถนนและเอาปืนจ่อและนำตัวเธอมาแถลงข่าวการจับกุม โดยปัทมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและไม่ได้กล่าวอะไรในการแถลงข่าว.

 

 

 

 

- See more at: http://blogazine.in.th/blogs/redfam-fund/post/4143#sthash.Lf0xyDAM.dpuf

 

บล็อกของ Redfam Fund

Redfam Fund
10 เมษา สามปีต่อมา กับความพยายามฟื้นตัวของครอบครัวอดีตผู้ต้องขังดคีเผาศาลากลาง ท่ามกลางสภาพปัญหาและการช่วยเหลือของเพื่อนเสื้อแดง   และรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือนักโทษการเมืองอุบลราชธานี ครั้งล่าสุด
Redfam Fund
จดหมาย ของ ต้า ธีรวัฒน์  จากเรือนจำพิเศษหลักสี่ ถึงเพื่อนหนึ่ง หนึ่งในกลุ่มนักศึกษาที่เป็นเพื่อนกันแล้วกับเขาหลังจากการไปเยี่ยมเยือนกัน  และรายงานยอดจำหน่ายเสื้อยืดระดมทุนและเงินบริจากให้กับกลุ่มช่วยเหลือญาติผู้ต้องขังคดีนักโทษการเมือง จ.อุบลราชธานี (Fund for Red family) ในงานอภิปราย
Redfam Fund
รายงานความเคลื่อนไหวการช่วยเหลือญาติผู้ต้องขังคดีการเมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา 
Redfam Fund
จดหมายเฮฮาอารมณ์ดีจาก "ต้า - ธีรวัฒน์  สัจสุวรรณ" ถึง "เพื่อน  - หนึ่งและเพื่อนๆ"   กลุ่มนักศึกษาที่เคยไปเยี่ยมพวกเขาที่คุกเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา  
Redfam Fund
  จดหมายฉบับที่ 8 ของสมศักดิ์ ประสานทรัพย์  จากเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ กรุงเทพฯ   และ  รายงานความคืบหน้าการติดตามช่วยเหลือกลุ่มญาติผู้ต้องขังคดีการเมือง จ.อุบลราชธานี     
Redfam Fund
อ.หวาน กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล และแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง นัดเพื่อนๆ ไปให้กำลังใจเพื่อนผู้ต้องขังคดีการเมือง 3 เรือนจำ (ทัณฑสถานหญิง เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพ) เช้านี้