Skip to main content

 

 

"...เงินช่วยเหลือครอบครัวยังพอมีอีก 12 เดือน แต่อิสรภาพของพวกเขาต่างหากที่เป็นเป้าหมายสูงสุด อาจจะต้องรอกฎหมายนิรโทษกรรมผ่านสภา แต่ทว่า สิทธิการประกันตัวของพวกเขาต่างหากที่กระบวนยุติธรรมของประเทศนี้ไม่เคยคืนให้พวกเขา แม้รัฐธรรมนูญฉบับอุ้งตีนทหารจะระบุไว้ก็ตามที"

 

ธีร์ อันมัย  รายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงอุบลราชธานีประจำเดือนตุลาคม 56  ในขณะที่เพื่อนเราทั้ง 4 ยังคงเฝ้ารอวันแห่งอิสรภาพในห้องขังพิเศษหลักสี่ อย่างที่ยังไม่มีวันได้รู้ว่าวันใดจะได้รับสิทธิแห่งความยุติธรรมในประเทศทวยแห่งนี้ 

 

......................

 

10 ตุลาคม 2556

 

พวกเขามีเหตุจูงใจทางการเมือง
พวกเขาเป็นคนเสื้อแดง
บางส่วนเป็นเสื้อเหลืองมาก่อน

การใช้กองกำลังทหารพร้อมอาวุธราวสงครามแย่งชิงเขตแดนปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงจนมีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเมื่อวันที่ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม 2011 นั่นล่ะ ที่เป็นเหตุจูงใจให้พวกเขาต้องออกมาชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี

จากนั้น สถานการณ์ก็นำพาคนที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองไปปรากฏตัวในภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่ทางการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่เหมือนทุกอย่างเปิดทางให้มีการเผาศาลากลางจังหวัดอย่างง่ายดายไว้ล่วงหน้า (โดยไม่มีรถดับเพลิง ไม่มีการป้องกัน) ทั้งที่เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ และ อป.พร.จำนวนมากประจำการและร่นถอยไปก่อนที่สถานการณ์จะบานปลาย ทั้งที่สถานีดับเพลิงอยู่ห่างเพียงมองเห็นด้วยตาเปล่า ไม่มีการจับกุมผู้ก่อเหตุในที่เกิดเหตุในขณะนั้น

ปัจจุบัน ผู้ต้องขังคดีการเมืองเสื้อแดง 4 คนจากอุบลราชธานียังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่ ในนั้นมี ปัทมา มูลมิล เป็นผู้ต้องขังหญิงเพียงคนเดียว พวกเขาเจอข้อหาร้ายแรงและศาลอุทธรณ์ยืนตามคำตัดสินศาลชั้นต้นให้พวกเขาจำคุกตลอดชีวิตและลดโทษเหลือหนึ่งในสามเป็น 33 ปี 12 เดือน

ในวันที่ซากเดนสมุนลูกไล่ของคณะมนตรีในนามของ สว.ลากตั้งจำนวนหนึ่ง กับ อดีตแกนนำพรรครัฐบาลมือเปื้อนเลือดกำลังขัดแข้งขัดขากระบวนการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น มีชะตากรรมของนักโทษคดีการเมืองแขวนลอยไร้จุดหมายมานานกว่า 3 ปีแล้ว สะท้อนความเลือดเย็นของพวกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบเสรีประชาธิปไตย

4 ตุลาคม 2013 กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น และเสนาะ เจริญพร ทำหน้าที่เบิกเงินจากกองทุนช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังไปมอบให้ครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมืองเสื้อแดงอุบลราชธานีและแกนนำชาวบ้านที่สกลนครที่ยังหลบหนีการจับกุม ครอบครัวละ 2,000 บาท รวมเป็น 10,000 บาท และมีเงินเหลือในบัญชีกองทุน 129,734.87 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสามสิบสี่บาทแปดสิบเจ็ดสตางค์) และไม่มีเงินเข้าบัญชีในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา

เงินช่วยเหลือครอบครัวยังพอมีอีก 12 เดือน แต่อิสรภาพของพวกเขาต่างหากที่เป็นเป้าหมายสูงสุด อาจจะต้องรอกฎหมายนิรโทษกรรมผ่านสภา แต่ทว่า สิทธิการประกันตัวของพวกเขาต่างหากที่กระบวนยุติธรรมของประเทศนี้ไม่เคยคืนให้พวกเขา แม้รัฐธรรมนูญฉบับอุ้งตีนทหารจะระบุไว้ก็ตามที

ปล่อยนักโทษทางความคิด
ปล่อยนักโทษทางการเมือง
ประชาชนจงเจริญ

ธีร์ อันมัย

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ Redfam Fund

Redfam Fund
10 เมษา สามปีต่อมา กับความพยายามฟื้นตัวของครอบครัวอดีตผู้ต้องขังดคีเผาศาลากลาง ท่ามกลางสภาพปัญหาและการช่วยเหลือของเพื่อนเสื้อแดง   และรายงานความคืบหน้าการช่วยเหลือนักโทษการเมืองอุบลราชธานี ครั้งล่าสุด
Redfam Fund
จดหมาย ของ ต้า ธีรวัฒน์  จากเรือนจำพิเศษหลักสี่ ถึงเพื่อนหนึ่ง หนึ่งในกลุ่มนักศึกษาที่เป็นเพื่อนกันแล้วกับเขาหลังจากการไปเยี่ยมเยือนกัน  และรายงานยอดจำหน่ายเสื้อยืดระดมทุนและเงินบริจากให้กับกลุ่มช่วยเหลือญาติผู้ต้องขังคดีนักโทษการเมือง จ.อุบลราชธานี (Fund for Red family) ในงานอภิปราย
Redfam Fund
รายงานความเคลื่อนไหวการช่วยเหลือญาติผู้ต้องขังคดีการเมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา 
Redfam Fund
จดหมายเฮฮาอารมณ์ดีจาก "ต้า - ธีรวัฒน์  สัจสุวรรณ" ถึง "เพื่อน  - หนึ่งและเพื่อนๆ"   กลุ่มนักศึกษาที่เคยไปเยี่ยมพวกเขาที่คุกเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา  
Redfam Fund
  จดหมายฉบับที่ 8 ของสมศักดิ์ ประสานทรัพย์  จากเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ กรุงเทพฯ   และ  รายงานความคืบหน้าการติดตามช่วยเหลือกลุ่มญาติผู้ต้องขังคดีการเมือง จ.อุบลราชธานี     
Redfam Fund
อ.หวาน กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล และแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง นัดเพื่อนๆ ไปให้กำลังใจเพื่อนผู้ต้องขังคดีการเมือง 3 เรือนจำ (ทัณฑสถานหญิง เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพ) เช้านี้