Skip to main content

จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์

\\/--break--\>
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ICT ยังทำให้เกิดอีกผลกระทบหนึ่ง ที่เราทุกคนควรให้ความสนใจ นั่นคือ ICT ได้ทำลายข้อจำกัด ด้านเวลาและสถานที่ ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่ข้าพเจ้า อาจไม่ได้พูดถึงอย่างชัดเจนในบทความที่แล้ว หากแต่สามารถรับรู้ได้ ผ่านตัวอย่างที่ได้ยกให้เห็นเกี่ยวกับ เทคโนโลยีกล้องวงจรปิด เทคโนโลยี Google Earth บาง features บน เทคโนโลยี Google Maps และตัวอย่างการใช้ video link ของอดีตนายกฯไทยคนหนึ่ง

ความสามารถในการทำลายข้อจำกัด ด้านเวลาและสถานที่ ของเทคโนโลยี ICT มีผลกระทบสำคัญต่อสังคม เนื่องจากมันได้ทำให้ การเข้าถึงข้อมูลหนึ่งๆ การรับรู้ข้อมูลหนึ่งๆ การมีประสบการณ์หนึ่งๆร่วมกัน ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เฉพาะ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริง หรือในตอนที่ ข้อมูลหรือเหตุการณ์หนึ่งๆนั้น กำลังเกิดขึ้นจริง

เมื่อรวมสองผลลัพธ์ข้างต้น เข้ากับความตระหนักในสิ่งที่เรียกว่า ข้อมูลความเป็นส่วนตัว แล้ว ทำให้เกิดประเด็นสำคัญ ซึ่งบทความในวันนี้ต้องการพูดถึง นั่นคือ ชวนให้ทุกท่าน ลองคิดและไตร่ตรองดูว่า ทุกวันนี้ ท่านรู้ตัวรึเปล่า ว่าท่านกำลังหมดความสามารถในการควบคุม ความเป็นส่วนตัว ของตัวท่านเองลงไป อีกทั้งอีกหลายๆท่าน กำลังขายข้อมูลความเป็นส่วนตัว ของตัวท่านอยู่ และในราคาที่ต่ำจนหน้าตกใจ

ข้อมูลความเป็นส่วนตัว คือ ข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นตัวตน ของแต่ละปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยปกติแล้ว เป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว และเป็นการยากที่จะถูกเข้าใจ รับรู้ และตีแผ่ออกสู่วงกว้าง เพราะเนื่องจาก หากไม่ใช่เจ้าตัว หรือบุคคลที่มีความใกล้ชิดมากๆแล้ว เป็นการยากสำหรับบุคคลอื่นๆ ที่จะรับรู้ถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวนี้ได้

แต่เนื่องด้วยการใช้ชีวิต ของเราๆท่านๆในวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราใช้ชีวิตผ่านทางเทคโนโลยีมากขึ้นๆทุกวัน ทั้งด้วยความตั้งใจของตนเอง และถูกบังคับจากระบบของสังคม ทำให้ยิ่งนับวัน เราๆท่าน จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับระบบข้อมูลต่างๆมากขึ้น และมิหนำซ้ำ ก็ดูเหมือนว่า ทุกระบบต่างก็พร้อมใจกัน ตั้งหน้าตั้งตาเก็บข้อมูลในทุกๆด้านของผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารระบบ เช่นในเรื่องของการพัฒนาให้ระบบของตน สามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าแต่ละราย ในลักษณะเฉพาะตัว ได้เพิ่มขึ้น (Personalisation)

ตัวอย่างต่างๆต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการสูญเสีย ในประเด็นข้างต้น ที่ข้าพเจ้าเชื่อว่า มีความใกล้ตัวกับใครหลายๆคน ในปัจจุบันได้แก่ การเป็นสมาชิกบัตรเครดิต การใช้บริการต่างๆผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ และการใช้ระบบต่างๆบนอินเตอร์เนต

การใช้งานระบบต่างๆ ในตัวอย่างที่ข้าพเจ้าหยิบยกมานี้ ทำให้ข้อมูลการดำรงชีวิต ของคนๆหนึ่ง ถูกจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งหากนำข้อมูลทั้งหมด มาประกอบกัน เราจสามารถสร้างเป็น แผนที่การดำเนินชีวิต หรือสามารถตรวจสอบ การดำเนินของบุคคลนั้น ในแต่ละวันได้เลย

เช่น เราสามารถรู้เวลาและสถานที่ ที่คนๆหนึ่งอยู่ ได้จากการเข้าใช้อินเตอร์เนต หรือจากโทรศัพท์มือถือ ที่พกพาอยู่ เราสามารถรู้ถึง เรื่องต่างๆที่อยู่ในความสนใจ ของคนๆหนึ่ง ได้จากการประวัติและข้อมูล การเข้าใช้งานเว็บไซท์ต่างๆ ของคนๆนั้น

เราสามารถรู้ได้ว่า คนๆหนึ่งทำอะไร ที่ไหน ชอบไปทานข้าวที่ไหน ชอบเสื้อผ้ายี่ห้ออะไร ชอบไปดูหนังวันไหน ชอบทำอะไรหลังเลิกงาน ชอบไปเที่ยวที่ไหนในวันหยุด จากการจับจ่ายใช้สอย ผ่านบัตรเครดิต

นี่ยังไม่รวมถึงระบบอื่นๆ ซึ่งประชาชนในต่างประเทศ ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลวงใหญ่ๆของโลก เช่นลอนดอน สามารถถูกติดตามได้ละเอียด ถึงขั้นที่ว่า สามารถรู้ได้ว่า เดินทางจากไหนไปไหน ตอนเวลากีโมง ด้วยพาหนะอะไร ไปกับใคร ผ่านข้อมูลในระบบบัตรโดยสาร (Oyster card) ของระบบขนส่ง และระบบกล้องวงจรปิด ซึ่งวางไว้ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง

ข้อมูลความเป็นส่วนตัวเหล่านี้ เป็นการยากที่จะจัดเก็บอย่างครบถ้วนในอดีต จึงส่งผลให้ตลอดมา การเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ ทำได้ยาก

แต่ในปัจจุบัน ด้วยปรากฏการณ์ทั้งหมดข้างต้น ทำให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ของแต่ละปัจเจกบุคคล ถูกเปิดเผยได้อย่างง่ายดาย และทำให้เป็นการยากมากขึ้น สำหรับเราทุกคน ที่จะควบคุม การที่ผู้อื่นจะเข้าถึง ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของตัวเอง

เนื่องจาก ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า เราๆท่านๆ จะมีความรู้ความเข้าใจ ในเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ได้อย่างลึกซึ่ง จนถึงขั้นที่รู้แน่นอนว่า ผลดีผลเสีย มีอะไรบ้าง และไตร่ตรองและเปรียบเทียบดู อย่างดีแล้ว จึงใช้งานระบบนั้นๆ

หากแต่โดยปกติแล้ว เราๆท่านๆในทุกวันนี้ ตัดสินใจใช้เทคโนโลยี เพราะไม่ต้องการตกกระแส จึงตัดสินใจกระโจนเข้าใส่ เทคโนโลยีใหม่ๆอย่างไม่ลังเล แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจดี ถึงผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ผนวกเข้ากับความเป็นจริงที่ว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ในระดับที่ยากที่จะตามทัน ยิ่งทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้น ที่จะศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างถี่ถ้วน ก่อนใช้งาน

ข้าพเจ้า อย่างให้ท่าน ลองนึกกันดูคร่าวๆว่า จนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้ให้ข้อมูลส่วนตัวของท่าน ไปกับระบบรอบตัวท่านมากมายขนาดไหน แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่า แต่ละระบบจะดูแลข้อมูลส่วนตัวของท่าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และคุ้มค่ากับความสำคัญของข้อมูลความเป็นส่วนตัวของท่าน อย่างไร

ที่สำคัญ ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ใครบ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของท่าน

อีกทั้ง หลังจากท่านได้ให้ข้อมูลส่วนตัว กับระบบเหล่านี้ไปแล้ว ระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่ ไม่อนุญาตให้ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลดังกล่าว เข้าไปลบข้อมูลออกจากระบบ หากท่านไม่ต้องการให้ระบบ เก็บข้อมูลต่างๆของท่าน อีกต่อไป

ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ในหลายๆครั้ง เรียกได้ว่าเป็นความจำเป็น ที่เราๆท่านๆ ต้องให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเรา กับระบบหนึ่งๆเพื่อแลกมากับประโยชน์ที่ได้จากการใช้งานระบบ เช่น การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล

แต่ในอีกหลายๆครั้ง เราๆท่านๆในปัจจุบันยังขาดความระมัดระวัง ในการเปิดเผยข้อมูลความเป็นส่วนตัว เพื่อแลกมาซึ่งสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือเพื่อแลกกับความสามารถในการใช้งานระบบ ซึ่งไม่มีความคุ้มค่ากับข้อมูลส่วนตัวที่นำไปแลก เช่น การให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัว อย่างเกินความจำเป็น เพื่อแลกมาซึ่งส่วนลดอันน้อยนิด จากการสมัครเป็นสมาชิกระบบต่างๆ

ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็น หรือด้วยการขาดความระมัดระวัง ข้าพเจ้าอยากให้ทุกท่านตระหนัก และรู้จักที่จะปฏิเสธการให้ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของตัวท่านเอง หากไม่จำเป็น หรือให้ตระหนักว่า ท่านกำลังนำข้อมูลส่วนตัวที่มีค่า ไปแลกกับผลประโยชน์อันน้อยนิดและไม่คุ้มค่า หรือให้ข้อมูลส่วนตัวของท่าน กับระบบที่ท่านไม่สามารถไว้วางใจ ในประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในการบริหารจัดการข้อมูลของท่าน อยู่รึเปล่า

นี่คือแนวคิดที่อยากให้ทุกท่านได้ตระหนักถึง เพื่อปกป้องตัวท่านเอง ก่อนที่ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของท่าน จะหาได้ง่ายทั่วไป และจะกลายเป็นอันตรายกับตัวท่านเอง และรวมถึงคนใกล้ตัวที่ท่านรัก และคนรอบข้าง

ไม่เพียงเท่านั้น ข้าพเจ้าอยากให้ภาครัฐและทุกภาคส่วน ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ ของประเด็นในวันนี้ เพื่อปรับปรุงกลไกต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของระบบกฏหมาย แนวนโยบาย และแนวทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการข้อมูล และการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี ICT ของทุกภาคส่วน อย่างสอดคล้อง และเข้าใจ เพื่อมุ่งเอื้อประโยชน์ต่อความปลอดภัย แก่ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ของผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ไปพร้อมกัน

ปัจฉิมลิขิต

ต้องกล่าวคำขออภัย ทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความ บนพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เพิ่มเติมบทความได้สักระยะหนึ่ง เนื่องจากภาระอื่นๆ เข้ามาเบียดเบียนเวลาไป หวังว่าหลังจากบทความนี้ ข้าพเจ้าจะกลับมาผลิตบทความ ให้ทุกท่านได้อ่าน ได้ตามกำหนดเวลาเดิม


(
ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่
www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com)

 

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…