Skip to main content
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน

บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
 
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน องค์กรมากมายมักประสบกับปัญหาความล้มเหลว ในการดำเนินโครงการด้าน ICT ทั้งในแง่ของต้นทุนการดำเนินโครงการที่บานปลาย ในแง่ของการไม่สามารถควบคุมกำหนดเวลาได้ตามแผน และในแง่ของการที่โครงการไม่สามารถให้ผลสัมฤทธิ์ ตามที่ได้กำหนดไว้ตอนเริ่มต้น

ท่ามกลางสภาพปัญหาข้างต้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารองค์กร ผู้บริหารโครงการ รวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆในโครงการ มักยกให้ความซับซ้อนทางเทคโนโลยี เป็นประเด็นสำคัญแห่งความล้มเหลว

ความซับซ้อนทางเทคโนโลยีในที่นี้ หมายถึง สภาพความไม่คุ้นเคย กับเทคโนโลยีที่กำลังนำมาใช้ขององค์กร ซึ่งมีอยู่ทั้งในแง่ของการขาดความรู้ทางเทคโนโลยี และในแง่ของความไม่สามารถบริหารจัดการโครงการทางเทคโนโลยี อย่างเท่าทัน

อย่างไรก็ดี สภาพการขาดความรู้ความสามารถ อันเท่าทันเทคโนโลยี ถือเป็นสาเหตุประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้องค์กรประสบความล้มเหลว ในการดำเนินโครงการด้าน ICT เพียงเท่านั้น

ยังมีสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อความล้มเหลว ในการดำเนินโครงการด้าน ICT นั่นคือ การขาดความตระหนักถึง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่ง ICT นำมาสู่องค์กร ซึ่งโดยปกติมักอยู่นอกเหนือจากความคาดหมายของผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารโครงการ

โดยปกติ เมื่อองค์กรเริ่มต้นดำเนินโครงการด้าน ICT องค์กรส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่ การวางแผนบริหารโครงการ เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังไว้ โดยมุ่งให้ความสนใจกับ ตัวแปรทางเทคนิคและข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร เป็นสำคัญ และหลงลืมการให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร

ตัวอย่างของ ตัวแปรทางเทคนิค ที่องค์กรให้ความสำคัญ เช่น การให้ความสนใจกับอุปกรณ์หรือระบบที่นำมาใช้ ว่าจักต้องมีคุณสมบัติอย่างไร หรือต้องสามารถทำงานร่วมกับระบบเก่าอะไรบ้าง และอย่างไร

ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร ที่ขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่น งบประมาณและทรัพยากรบุคคล ที่องค์กรสามารถอุทิศให้ รวมถึงระยะเวลาดำเนินโครงการ ที่ต้องกำหนดในช่วงเริ่มต้นโครงการ

แน่นอนว่า ในมุมมองของผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารโครงการ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การได้รับผลสัมฤทธิ์ที่วัดผลได้ ทางการบริหาร นั่นคือ โครงการเสร็จทันเวลา ในงบประมาณที่กำหนด และระบบที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีความสามารถทำงานได้ตามที่วางแผนไว้ การให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งสองข้างต้น มีความสำคัญกับการดำเนินโครงการ เนื่องจากผู้บริหารเชื่อว่า หากให้ความสนใจและสามารถควบคุมปัจจัยทั้งสองข้างต้นแล้ว องค์กรสมควรได้รับผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง

แต่กระนั้นก็ดี การให้ความสำคัญแค่เพียงปัจจัยทั้งสองข้างต้น ไม่อาจทำให้องค์กร ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดไว้ เนื่องจากสุดท้ายแล้ว ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินโครงการ ICT จักผลักดันให้องค์กรไม่สามารถดำเนินโครงการ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

โครงการด้าน ICT โดยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะในลักษณะของการนำ ICT เข้ามาเสริมสมรรถนะการทำงาน หรือเข้ามาทดแทนระบบการทำงานเดิม มักส่งผลให้ลักษณะหรือรูปแบบการทำงาน ของระบบเดิมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผลกระทบโดยตรง กับการปรับตัวของพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระบบดังกล่าว ที่จะต้องกลายมาเป็นผู้ใช้งานระบบที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ซึ่ง ICT เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

นี่เองที่ถือได้ว่า เป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในองค์กรรูปแบบหนึ่ง ที่องค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องมีมาตรการรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อทำให้ผู้ใช้งานระบบทุกคน มีความสามารถ และความพร้อมทำงานกับระบบใหม่นี้ พร้อมกับให้การยอมรับและให้การสนับสนุน การดำเนินโครงการด้าน ICT เพื่อลดจำนวนปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนถ่ายระบบ ให้มีน้อยที่สุด และเพื่อทำให้ระบบใหม่นี้ได้รับการยอมรับ และถูกใช้งานในระยะยาว

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงทางสัมคมภายในองค์กร อีกหนึ่งตัวอย่างที่ข้าพเจ้าขอพูดถึงในที่นี้ คือ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอำนาจภายในองค์กร เนื่องจากความสามารถในการทำงานของ ICT สามารถลดบทบาทความสำคัญ หรือสามารถเข้ามาทดแทนการทำงาน ของกลุ่มพนักงานบางกลุ่ม ทำให้กลุ่มดังกล่าว สูญเสียอำนาจต่อรองในการทำงาน และอาจนำมาซึ่งการต่อต้านการดำเนินโครงการได้

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงจากสองแง่มุมข้างต้น สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร อันมีมนุษย์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งยากต่อการคาดเดาและควบคุมความคิดและการตอบสนอง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการด้าน ICT ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ ซึ่งอยู่นอกเหนือจาก ตัวแปรทางเทคนิคและข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจักต้องตระหนักและให้ความสำคัญ

ข้าพเจ้าขอสรุปส่งท้ายว่า
ไม่ว่าโครงการด้าน ICT ที่ซึ่งองค์กรต่างๆคิดและวางแผนนำมาใช้งาน จะสมบูรณ์แบบหรือทรงพลังเพียงใด และไม่ว่าโครงการด้าน ICT ดังกล่าวจะถูกตั้งเป้าประสิทธิภาพการทำงานหรือถูกคาดหวังผลสัมฤทธิ์ที่สูงเพียงใด สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับมนุษย์ ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำงานกับระบบ ผู้ได้ประโยชน์จากระบบ ผู้สูญเสียประโยชน์จากระบบ ผู้บริหารโครงการ และผู้บริหารองค์กร ที่เล่นเป็นตัวเอก ที่จะนำพาโครงการด้าน ICT ต่างๆ ให้สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการได้

ดังนั้นการให้ความสำคัญหรือการตระหนักถึง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในองค์กร อันเป็นผลจากการดำเนินโครงการด้าน ICT ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับ ตัวแปรทางเทคนิคและข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรขององค์กร ตั้งแต่เริ่มต้นและตลอดการดำเนินโครงการ ย่อมทำให้ผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารโครงการ มองเห็นปัญหาและอุปสรรคอย่างรอบด้าน ซึ่งจักส่งผลให้การดำเนินโครงการด้าน ICT มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเพิ่มความเป็นไปได้ที่องค์กรจักได้รับผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังไว้ ในท้ายที่สุด

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์