Skip to main content

 

จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

\\/--break--\>

ข้าพเจ้าต้องขอขั้นด้วยบทความซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ค่อนข้างมาแรงในช่วงหนึ่งเดือนหลังมานี้ นั่นก็คือประเด็นการเปิดประมูลใบอนุญาติผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในย่านความถี่ซึ่งรองรับเทคโนโลยียุค 3G

โดยในช่วงที่ผ่านมาประเด็นดังกล่าวถูกวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวางและจากหลายฝ่าย โดยเท่าที่ข้าพเจ้าติดตามนั้น 3 ประเด็นเกี่ยวเนื่องที่ถูกวิพากษ์อย่างมาก คือ

  1. การเปิดบริการ 3G ของเมืองไทยของเราล่าช้าและล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ ควรจะมีการเร่งให้เกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด

  2. กทช. ซึ่งกำลังทำหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้ควบคุมการเปิดประมูลใบอนุญาติผู้ให้บริการ 3G มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร

  3. การรประมูลดังกล่าวควรเปิดอย่างเสรีและอย่างเร็วที่สุด หรือ ควรตระหนักถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานทางด้านโทรคมนาคมของรัฐเช่น ทีโอที และ ซีเอที และวิเคราะห์อย่างรอบคอบที่สุดก่อนการเปิดประมูล

อย่างไรก็ดีประเด็นที่ข้าพเจ้าขอพูดถึงในวันนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องซึ่งแตกต่างออกไปจากประเด็นต่างๆข้างต้น และข้าพเจ้าคิดว่ามีประโยชน์หากถูกนำมาวิพากษ์ นั่นคือ คนไทยจำนวนมากมีความต้องการใช้บริการต่างๆบนเครือข่าย 3G แล้วจริงหรือ และ ประโยชน์ของการเปิดเครือข่าย 3G ในขณะนี้ตกอยู่กับใคร

โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามีความเห็นว่าก่อนตอบคำถามอื่นๆข้างต้น  ข้าพเจ้าเห็นว่าควรมีการศึกษาและตอบคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งขึ้นมาในวันนี้เสียก่อน

เพื่อตอบคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งในวันนี้ ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่าย 3G มีต่อเราๆท่านๆโดยทั่วไป นั่นคือเทคโนโลยี 3G อนุญาตให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เนตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นและด้วยอัตราการเชื่อมต่อที่สูงขึ้นหรือรวดเร็วขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราๆท่านๆสามารถบริโภคข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้มากขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอและภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มากกว่าจะเป็นเพียงแค่ข้อความหรือภาพนิ่ง

นั่นหมายความว่าประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G ที่เป็นหัวใจสำคัญคือ การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งสามารถถูกส่งผ่านทางอินเตอร์เนตได้จากทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบข้อมูล หากบริเวณที่ผู้ใช้งานอยู่ภายในพื้นที่ซึ่งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G เข้าถึง

จากประโยชน์ที่มีข้างต้นหากอ่านดูแบบผิวเผินแล้ว  ทำให้เราๆท่านๆเชื่อได้อย่างง่ายดายว่าผู้ใช้เทคโนโลยี 3G จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการเข้าถึงข้อมูลที่ตนต้องการได้ในทุกครั้งที่ต้องการ

ซ้ำความเชื่อดังกล่าวยังได้รับแรงสนับสนุนจากผลการสำรวจในหลายๆประเทศที่บ่งชี้ว่า  การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยี  3G เป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมหาศาล

ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เชื่อในประโยชน์ที่การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมมีต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ หากแต่ข้าพเจ้าเลือกที่จะไม่เชื่อในแนวคิดดัวกล่าวอย่างผิวเผิน โดยพยายามคิดต่อว่าผลลัพธ์แห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการลงทุนในเทคโนโลยี 3G นั้น สุดท้ายผลประโยชน์ไปตกอยู่กับใคร

ในการนำเทคโนโลยี 3G มาใช้ ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใดจะประมูลได้ แน่นอนว่าต้องใช้งบลงทุนมหาศาล และเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนการลงทุนอย่างรวดเร็วที่สุด ผู้ประกอบการทุกรายจะมุ่งเน้นไปที่การทุ่มทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสความต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G ให้เกิดขึ้น ซึ่งจักทำให้ video streaming กลายเป็นบริการหลักของโครงข่ายเทคโนโลยี 3G หากไม่นับบริการการโทรศัพท์ โดยผู้ที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G จักต้องมีเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ทำงานในช่วงความถี่ซึ่งรองรับเทคโนโลยี 3G

จากสถานการณ์ทั้งหมดที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นข้างต้น ไม่ต้องสงสัยว่าเศรษฐกิจต้องมีการเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากการลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยี 3G การทำการตลาดและโฆษณา การผลิตเนื้อหาเพื่อธุรกิจ video streaming และการผลิตและการบริโภคอุปกรณ์โทรศัพท์อันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 3G

แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็น คือการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่ยั่งยืน เนื่องจากข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนจะใช้จ่ายเงินเพื่อแลกกับการใช้งานเทคโนโลยี 3G เพื่อประโยชน์ทางด้านความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น และความต้องการใช้งานนี้ส่วนใหญ่เกิดจากผลของการทุ่มทำการตลาดและโฆษณาของผู้ให้บริการโทรศัพท์และผู้ประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่สุดเม็ดเงินที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจข้างต้น จักตกไปสู่นักลงทุนเพียงไม่กี่กลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจโฆษณา และกลุ่มธุรกิจด้านความบันเทิงซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อหา video streaming

ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับเพิ่มจากเทคโนโลยี 3G เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 2.5 G ที่เรามีใช้กันในปัจจุบัน หากไม่นับรวมด้านความบันเทิงแล้ว มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น แต่เทคโนโลยี 3G น่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมากกว่า ในวันที่กำไรจากบริการเดิมๆบนเทคโนโลยี 2.5 G เริ่มน้อยลงทุกทีๆ

สาเหตุที่ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น เนื่องจากธรรมชาติการใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบข้อมูลนั้น จักถูกจำกัดด้วยสภาวะในการใช้งานของผู้ใช้ที่กำลังเคลื่อนที่ และด้วยลักษณะของอุปกรณ์มือถือที่มีขนาดเล็ก ซึ่งด้วยเงื่อนไขข้างต้นทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูล โดยปกติมีระยะเวลาไม่นาน และมักใช้กับกิจกรรมที่ไม่ต้องการการจัดการกับข้อมูลมากนัก

ซึ่งตรงนี้เองทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลทุกค่อนข้างเหมาะกับการอ่านข่าวและเอกสารสั้นๆ การอ่านและตอบอีเมล์ การโต้ตอบทางข้อความ การดูวีดิโอและทีวี โดยเมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่าเทคโนโลยี 2.5 G ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ให้การตอบสนองกับกิจกรรมข้างต้นได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ยกเว้นการดูวีดิโอและทีวี ที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 3G

กระนั้นก็ดี หลายคนอาจอ้างถึงประโยชน์จากการลงทุนในเทคโนโลยี 3G ในแง่ที่ว่าจักทำให้การขยายตัวของอินเตอร์เนตความเร็วสูงเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสามารถนำไปใช้ทดแทนการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงในบริเวณที่การเชื่อมต่อทางสายไม่สามารถขยายได้ทันตามความต้องการ ซึ่งตรงจุดนี้ข้าพเจ้ามีทัศนะว่าในเบื้องต้นเทคโนโลยี 3G อาจเข้ามาช่วยหรือทดแทนการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงทางสายได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าระดับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 3G ไม่อาจรรองรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆซึ่งต้องการการเชื่อมต่อทางสายมากกว่า และต้องไม่ลืมว่าในพื้นที่ห่างไกลซึ่งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงทางสายขยายไปไม่ถึง ผู้ให้บริการโทรศัพท์ด้วยเทคโนโลยี 3G จะมีแรงจูงใจเพียงพอให้ไปลงทุนในพื้นที่เช่นนั้นหรือ

นอกจากนี้จากประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดให้มีการลงทุนในเทคโนโลยี  3G มาระยะหนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G ที่มีกับประชาชน และไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ภายหลังจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี 3G

ดังนั้นเมื่อลองพิจารณาถึงเหตุผลต่างๆอย่างรอบด้านแล้ว  ข้าพเจ้ามีความเห็นส่วนตัวว่าเทคโนโลยี  3G อาจจะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆได้จริง แต่ไม่ใช่ในระยะเวลาอันใกล้ อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเดินหน้าลงทุนทางด้านเทคโนโลยี 3G คงต้องคิดอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่งว่า ในที่สุดแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในครั้งนี้ คือประชาชนและประเทศชาติจริงหรือ และจะทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 3G ได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ได้อย่างไร

 

ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com


 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์