Skip to main content

 

จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

\\/--break--\>

ข้าพเจ้าต้องขอขั้นด้วยบทความซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ค่อนข้างมาแรงในช่วงหนึ่งเดือนหลังมานี้ นั่นก็คือประเด็นการเปิดประมูลใบอนุญาติผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในย่านความถี่ซึ่งรองรับเทคโนโลยียุค 3G

โดยในช่วงที่ผ่านมาประเด็นดังกล่าวถูกวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวางและจากหลายฝ่าย โดยเท่าที่ข้าพเจ้าติดตามนั้น 3 ประเด็นเกี่ยวเนื่องที่ถูกวิพากษ์อย่างมาก คือ

  1. การเปิดบริการ 3G ของเมืองไทยของเราล่าช้าและล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ ควรจะมีการเร่งให้เกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด

  2. กทช. ซึ่งกำลังทำหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้ควบคุมการเปิดประมูลใบอนุญาติผู้ให้บริการ 3G มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร

  3. การรประมูลดังกล่าวควรเปิดอย่างเสรีและอย่างเร็วที่สุด หรือ ควรตระหนักถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานทางด้านโทรคมนาคมของรัฐเช่น ทีโอที และ ซีเอที และวิเคราะห์อย่างรอบคอบที่สุดก่อนการเปิดประมูล

อย่างไรก็ดีประเด็นที่ข้าพเจ้าขอพูดถึงในวันนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องซึ่งแตกต่างออกไปจากประเด็นต่างๆข้างต้น และข้าพเจ้าคิดว่ามีประโยชน์หากถูกนำมาวิพากษ์ นั่นคือ คนไทยจำนวนมากมีความต้องการใช้บริการต่างๆบนเครือข่าย 3G แล้วจริงหรือ และ ประโยชน์ของการเปิดเครือข่าย 3G ในขณะนี้ตกอยู่กับใคร

โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามีความเห็นว่าก่อนตอบคำถามอื่นๆข้างต้น  ข้าพเจ้าเห็นว่าควรมีการศึกษาและตอบคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งขึ้นมาในวันนี้เสียก่อน

เพื่อตอบคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งในวันนี้ ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่าย 3G มีต่อเราๆท่านๆโดยทั่วไป นั่นคือเทคโนโลยี 3G อนุญาตให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เนตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นและด้วยอัตราการเชื่อมต่อที่สูงขึ้นหรือรวดเร็วขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราๆท่านๆสามารถบริโภคข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้มากขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอและภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มากกว่าจะเป็นเพียงแค่ข้อความหรือภาพนิ่ง

นั่นหมายความว่าประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G ที่เป็นหัวใจสำคัญคือ การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งสามารถถูกส่งผ่านทางอินเตอร์เนตได้จากทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบข้อมูล หากบริเวณที่ผู้ใช้งานอยู่ภายในพื้นที่ซึ่งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G เข้าถึง

จากประโยชน์ที่มีข้างต้นหากอ่านดูแบบผิวเผินแล้ว  ทำให้เราๆท่านๆเชื่อได้อย่างง่ายดายว่าผู้ใช้เทคโนโลยี 3G จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการเข้าถึงข้อมูลที่ตนต้องการได้ในทุกครั้งที่ต้องการ

ซ้ำความเชื่อดังกล่าวยังได้รับแรงสนับสนุนจากผลการสำรวจในหลายๆประเทศที่บ่งชี้ว่า  การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยี  3G เป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมหาศาล

ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เชื่อในประโยชน์ที่การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมมีต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ หากแต่ข้าพเจ้าเลือกที่จะไม่เชื่อในแนวคิดดัวกล่าวอย่างผิวเผิน โดยพยายามคิดต่อว่าผลลัพธ์แห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการลงทุนในเทคโนโลยี 3G นั้น สุดท้ายผลประโยชน์ไปตกอยู่กับใคร

ในการนำเทคโนโลยี 3G มาใช้ ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใดจะประมูลได้ แน่นอนว่าต้องใช้งบลงทุนมหาศาล และเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนการลงทุนอย่างรวดเร็วที่สุด ผู้ประกอบการทุกรายจะมุ่งเน้นไปที่การทุ่มทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสความต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G ให้เกิดขึ้น ซึ่งจักทำให้ video streaming กลายเป็นบริการหลักของโครงข่ายเทคโนโลยี 3G หากไม่นับบริการการโทรศัพท์ โดยผู้ที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G จักต้องมีเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ทำงานในช่วงความถี่ซึ่งรองรับเทคโนโลยี 3G

จากสถานการณ์ทั้งหมดที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นข้างต้น ไม่ต้องสงสัยว่าเศรษฐกิจต้องมีการเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากการลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยี 3G การทำการตลาดและโฆษณา การผลิตเนื้อหาเพื่อธุรกิจ video streaming และการผลิตและการบริโภคอุปกรณ์โทรศัพท์อันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 3G

แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็น คือการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่ยั่งยืน เนื่องจากข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนจะใช้จ่ายเงินเพื่อแลกกับการใช้งานเทคโนโลยี 3G เพื่อประโยชน์ทางด้านความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น และความต้องการใช้งานนี้ส่วนใหญ่เกิดจากผลของการทุ่มทำการตลาดและโฆษณาของผู้ให้บริการโทรศัพท์และผู้ประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่สุดเม็ดเงินที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจข้างต้น จักตกไปสู่นักลงทุนเพียงไม่กี่กลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจโฆษณา และกลุ่มธุรกิจด้านความบันเทิงซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อหา video streaming

ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับเพิ่มจากเทคโนโลยี 3G เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 2.5 G ที่เรามีใช้กันในปัจจุบัน หากไม่นับรวมด้านความบันเทิงแล้ว มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น แต่เทคโนโลยี 3G น่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมากกว่า ในวันที่กำไรจากบริการเดิมๆบนเทคโนโลยี 2.5 G เริ่มน้อยลงทุกทีๆ

สาเหตุที่ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น เนื่องจากธรรมชาติการใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบข้อมูลนั้น จักถูกจำกัดด้วยสภาวะในการใช้งานของผู้ใช้ที่กำลังเคลื่อนที่ และด้วยลักษณะของอุปกรณ์มือถือที่มีขนาดเล็ก ซึ่งด้วยเงื่อนไขข้างต้นทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูล โดยปกติมีระยะเวลาไม่นาน และมักใช้กับกิจกรรมที่ไม่ต้องการการจัดการกับข้อมูลมากนัก

ซึ่งตรงนี้เองทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลทุกค่อนข้างเหมาะกับการอ่านข่าวและเอกสารสั้นๆ การอ่านและตอบอีเมล์ การโต้ตอบทางข้อความ การดูวีดิโอและทีวี โดยเมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่าเทคโนโลยี 2.5 G ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ให้การตอบสนองกับกิจกรรมข้างต้นได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ยกเว้นการดูวีดิโอและทีวี ที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 3G

กระนั้นก็ดี หลายคนอาจอ้างถึงประโยชน์จากการลงทุนในเทคโนโลยี 3G ในแง่ที่ว่าจักทำให้การขยายตัวของอินเตอร์เนตความเร็วสูงเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสามารถนำไปใช้ทดแทนการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงในบริเวณที่การเชื่อมต่อทางสายไม่สามารถขยายได้ทันตามความต้องการ ซึ่งตรงจุดนี้ข้าพเจ้ามีทัศนะว่าในเบื้องต้นเทคโนโลยี 3G อาจเข้ามาช่วยหรือทดแทนการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงทางสายได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าระดับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 3G ไม่อาจรรองรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆซึ่งต้องการการเชื่อมต่อทางสายมากกว่า และต้องไม่ลืมว่าในพื้นที่ห่างไกลซึ่งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงทางสายขยายไปไม่ถึง ผู้ให้บริการโทรศัพท์ด้วยเทคโนโลยี 3G จะมีแรงจูงใจเพียงพอให้ไปลงทุนในพื้นที่เช่นนั้นหรือ

นอกจากนี้จากประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดให้มีการลงทุนในเทคโนโลยี  3G มาระยะหนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G ที่มีกับประชาชน และไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ภายหลังจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี 3G

ดังนั้นเมื่อลองพิจารณาถึงเหตุผลต่างๆอย่างรอบด้านแล้ว  ข้าพเจ้ามีความเห็นส่วนตัวว่าเทคโนโลยี  3G อาจจะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆได้จริง แต่ไม่ใช่ในระยะเวลาอันใกล้ อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเดินหน้าลงทุนทางด้านเทคโนโลยี 3G คงต้องคิดอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่งว่า ในที่สุดแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในครั้งนี้ คือประชาชนและประเทศชาติจริงหรือ และจะทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 3G ได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ได้อย่างไร

 

ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com


 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…