Skip to main content

Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัว

ในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ
ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน

นั่นหมายถึง ในขณะที่รัฐบาลต่างๆทั่วโลกกระโจนเข้าสู่กระแส
e-government ด้วยการเร่งลงทุนและเร่งผลักดัน ให้หน่วยงานต่างๆของภาครัฐ สร้างระบบบริการ ทั้งที่มีต่อภาคประชาชน ภาคเอกชน หรือต่อหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน บนโครงข่ายอินเตอร์เนต หมายความว่า ภาคประชาชนมีความจำเป็น ที่จักต้องรับบริการผ่านโครงข่ายอินเตอร์เนตมากขึ้นและมากขึ้นโดยปริยาย หากภาคประชาชนต้องการรับบริการจากภาครัฐ

ปัญหาช่องว่างและความแตกต่างในสังคม อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ICT หรือ digital divide เกิดขึ้นเนื่องจากความจริงที่ว่า ประชาชนทุกคนไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ICT หรือ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อรับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐในครั้งนี้

ภาพที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มประชาชนผู้ไม่มีความรู้ความสามารถ หรือไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ได้อย่างเท่าเทียม มีแนวโน้มที่จะถูกละเลย และไม่ได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมหรืออย่างที่ควร

ลักษณะและความรุนแรง ของปัญหานี้ในแต่ละประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสะท้อนความวิสัยทัศน์และความตั้งใจจริงของภาคภาครัฐบาล รวมถึงเหตุผลเบื้องหลัง การลงทุนในโครงการทางเทคโนโลยี ที่มีมูลค่ามหาศาลในครั้งนี้ ของประเทศนั้น ว่ามีการวางเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่สิ่งใด ซึ่งโดยทั่วไปอาจถูกแบ่งออกได้เป็นสองประเภท

ประเภทแรก เมื่อเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนในครั้งนี้คือ เพื่อยกระดับการทำงานของระบบงานภาครัฐทั้งระบบ โดยการปรับให้มีระบบการทำงานพื้นฐานอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์
(computer-based system) และเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานผ่านระบบอินเตอร์เนต ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐ มีการพัฒนาขึ้น แต่ปัญหา digital divide ไม่ได้รับการใส่ใจจากโครงการ e-government เนื่องจาก ไม่ได้ถูกตีความรวมอยู่ในเป้าหมายสูงสุด

ประเภทที่สอง เมื่อเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ การทำให้ทั้งประเทศได้รับประโยชน์ จากการลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในตัวแปรชี้วัดความสำร็จของโครงการนี้ จักต้องรวม การวัดความสำเร็จของการทำให้ภาคประชาชน สามารถเข้าถึงหรือเข้ารับบริการภาครัฐบนเครือข่ายอินเตอร์เนต รวมทั้งการให้ความรู้และสร้างความสามารถ ให้กับภาคประชาชนในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างทั่วถึงและอย่างเท่าเทียม และนั่นหมายความว่า โครงการ
e-government ในหลายๆประเทศ กำลังประสบความล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองเป้าหมายสูงสุดของโครงการได้

หากรัฐบาลประเทศใด สามารถจัดเป้าหมายการลงทุนในโครงการ
e-government ของตน อยู่ในประเภทแรก ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า รัฐบาลนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องพิจารณาว่า อะไรคือเป้าหมายอันแท้จริงของการดำรงอยู่ของหน่วยงานรัฐ หากเปรียบหน่วยงานรัฐเหมือนหน่วยงานภาคเอกชน ในขณะที่การให้บริการและการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ เป็นภาระกิจหลักที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของหน่วยงานภาคเอกชน การให้บริหารและทำให้ประชาชนทุกคน พึงพอใจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ย่อมเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของหน่วยงานภาครัฐเช่นกัน

อีกทั้งการลงทุนครั้งนี้ย่อมไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด หากรัฐบาลจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอันเลิศล้ำทันสมัย แต่ประชาชนกลับไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยในทัศนะของข้าพเจ้านั้น รัฐบาลในประเภทที่หนึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จักต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายโครงการ ให้เป็นโครงการในประเภทที่สอง

หากรัฐบาลประเทศใด สามารถจัดตนเองอยู่ในประเภทที่สอง แต่ไม่ตระหนักถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอันเกิดจาก
digital divide หรือ ในปัจจุบันให้ความตระหนักอยู่แล้ว แต่ปัญหายังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า รัฐบาลนั้นมีความจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับปัญหา digital divide ควบคู่ไปกับความใส่ใจในความก้าวหน้าของโครงการ e-government ไม่เช่นนั้นปัญหาความเหลื่มล้ำทางสังคม อันเนื่องมาจากความได้เปรียบเสียเปรียบของการเข้าถึงบริการภาครัฐ ก็จะกลายเป็นปัญหาใหม่ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่สามารถช่วยเหลือได้แต่อย่างใด

ในทัศนะของข้าพเจ้า ปัญหา
digital divide เป็นปัญหาที่ทุกประเทศ ต้องให้ความใส่ใจและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเท่าทัน เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีต้องพิจารณาแก้ไขจากด้านอื่นๆ นอกเหนือจากเทคโนโลยี และต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินแก้ไข

ความจริงที่ว่าปัญหา
digital divide เป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาแก้ไขจากหลายๆด้าน สามารถรับรู้ได้เมื่อคำนึงถึงคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนโดยทั่วไป มีความรู้และความสามารถ อย่างเพียงพอและเท่าเทียม ในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการ e-government กับคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเข้าใช้งานบริการต่างๆ ในระบบ e-government จากภาครัฐ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งการตอบสองคำถามใหญ่ข้างต้นนี้ ต้องการการวางแผนและการทำงานร่วมกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของ ภาคการศึกษา และ ภาคการเงิน เพื่อสร้างระบบซึ่งสามารถทำให้ประเทศหนึ่งๆ มั่นใจได้ว่าปัญหา digital divide ถูกแก้ไขและดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

และแน่นอนว่าการดำเนินการข้างต้น ต้องใช้ระยะเวลานาน ในการดำเนินการให้สำเร็จ สืบเนื่องจากในสังคมปัจจุบัน ความแตกต่างในเรื่องของความรู้และความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยี มีอยู่สูง อีกทั้งความสามารถในการเรียน รู้หรือความสามารถในการรับการพัฒนา ของประชาชนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับ ความสามารถทางการเงิน ที่แต่ละบุคลจะสามารถใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่จำเป็นอีกด้วย

นี่เป็นอีกครั้งนึงที่ชี้ให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้มนุษย์สร้างความเปลี่ยนแปลง อย่างที่ตนต้องการได้ หากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งหรือไม่ว่า สิ่งที่กำลังทำหรือกำลังลงทุนไปนั้น ทำเพื่อประโยชน์สูงสุดอะไร และอะไรคือส่วนผสมอื่นๆอันนอกเหนือจากเทคโนโลยี ซึ่งขาดไม่ได้

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์