Skip to main content

Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัว

ในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ
ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน

นั่นหมายถึง ในขณะที่รัฐบาลต่างๆทั่วโลกกระโจนเข้าสู่กระแส
e-government ด้วยการเร่งลงทุนและเร่งผลักดัน ให้หน่วยงานต่างๆของภาครัฐ สร้างระบบบริการ ทั้งที่มีต่อภาคประชาชน ภาคเอกชน หรือต่อหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน บนโครงข่ายอินเตอร์เนต หมายความว่า ภาคประชาชนมีความจำเป็น ที่จักต้องรับบริการผ่านโครงข่ายอินเตอร์เนตมากขึ้นและมากขึ้นโดยปริยาย หากภาคประชาชนต้องการรับบริการจากภาครัฐ

ปัญหาช่องว่างและความแตกต่างในสังคม อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ICT หรือ digital divide เกิดขึ้นเนื่องจากความจริงที่ว่า ประชาชนทุกคนไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ICT หรือ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อรับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐในครั้งนี้

ภาพที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มประชาชนผู้ไม่มีความรู้ความสามารถ หรือไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ได้อย่างเท่าเทียม มีแนวโน้มที่จะถูกละเลย และไม่ได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมหรืออย่างที่ควร

ลักษณะและความรุนแรง ของปัญหานี้ในแต่ละประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสะท้อนความวิสัยทัศน์และความตั้งใจจริงของภาคภาครัฐบาล รวมถึงเหตุผลเบื้องหลัง การลงทุนในโครงการทางเทคโนโลยี ที่มีมูลค่ามหาศาลในครั้งนี้ ของประเทศนั้น ว่ามีการวางเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่สิ่งใด ซึ่งโดยทั่วไปอาจถูกแบ่งออกได้เป็นสองประเภท

ประเภทแรก เมื่อเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนในครั้งนี้คือ เพื่อยกระดับการทำงานของระบบงานภาครัฐทั้งระบบ โดยการปรับให้มีระบบการทำงานพื้นฐานอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์
(computer-based system) และเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานผ่านระบบอินเตอร์เนต ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐ มีการพัฒนาขึ้น แต่ปัญหา digital divide ไม่ได้รับการใส่ใจจากโครงการ e-government เนื่องจาก ไม่ได้ถูกตีความรวมอยู่ในเป้าหมายสูงสุด

ประเภทที่สอง เมื่อเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ การทำให้ทั้งประเทศได้รับประโยชน์ จากการลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในตัวแปรชี้วัดความสำร็จของโครงการนี้ จักต้องรวม การวัดความสำเร็จของการทำให้ภาคประชาชน สามารถเข้าถึงหรือเข้ารับบริการภาครัฐบนเครือข่ายอินเตอร์เนต รวมทั้งการให้ความรู้และสร้างความสามารถ ให้กับภาคประชาชนในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างทั่วถึงและอย่างเท่าเทียม และนั่นหมายความว่า โครงการ
e-government ในหลายๆประเทศ กำลังประสบความล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองเป้าหมายสูงสุดของโครงการได้

หากรัฐบาลประเทศใด สามารถจัดเป้าหมายการลงทุนในโครงการ
e-government ของตน อยู่ในประเภทแรก ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า รัฐบาลนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องพิจารณาว่า อะไรคือเป้าหมายอันแท้จริงของการดำรงอยู่ของหน่วยงานรัฐ หากเปรียบหน่วยงานรัฐเหมือนหน่วยงานภาคเอกชน ในขณะที่การให้บริการและการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ เป็นภาระกิจหลักที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของหน่วยงานภาคเอกชน การให้บริหารและทำให้ประชาชนทุกคน พึงพอใจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ย่อมเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของหน่วยงานภาครัฐเช่นกัน

อีกทั้งการลงทุนครั้งนี้ย่อมไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด หากรัฐบาลจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอันเลิศล้ำทันสมัย แต่ประชาชนกลับไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยในทัศนะของข้าพเจ้านั้น รัฐบาลในประเภทที่หนึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จักต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายโครงการ ให้เป็นโครงการในประเภทที่สอง

หากรัฐบาลประเทศใด สามารถจัดตนเองอยู่ในประเภทที่สอง แต่ไม่ตระหนักถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอันเกิดจาก
digital divide หรือ ในปัจจุบันให้ความตระหนักอยู่แล้ว แต่ปัญหายังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า รัฐบาลนั้นมีความจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับปัญหา digital divide ควบคู่ไปกับความใส่ใจในความก้าวหน้าของโครงการ e-government ไม่เช่นนั้นปัญหาความเหลื่มล้ำทางสังคม อันเนื่องมาจากความได้เปรียบเสียเปรียบของการเข้าถึงบริการภาครัฐ ก็จะกลายเป็นปัญหาใหม่ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่สามารถช่วยเหลือได้แต่อย่างใด

ในทัศนะของข้าพเจ้า ปัญหา
digital divide เป็นปัญหาที่ทุกประเทศ ต้องให้ความใส่ใจและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเท่าทัน เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีต้องพิจารณาแก้ไขจากด้านอื่นๆ นอกเหนือจากเทคโนโลยี และต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินแก้ไข

ความจริงที่ว่าปัญหา
digital divide เป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาแก้ไขจากหลายๆด้าน สามารถรับรู้ได้เมื่อคำนึงถึงคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนโดยทั่วไป มีความรู้และความสามารถ อย่างเพียงพอและเท่าเทียม ในการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการ e-government กับคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเข้าใช้งานบริการต่างๆ ในระบบ e-government จากภาครัฐ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งการตอบสองคำถามใหญ่ข้างต้นนี้ ต้องการการวางแผนและการทำงานร่วมกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของ ภาคการศึกษา และ ภาคการเงิน เพื่อสร้างระบบซึ่งสามารถทำให้ประเทศหนึ่งๆ มั่นใจได้ว่าปัญหา digital divide ถูกแก้ไขและดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

และแน่นอนว่าการดำเนินการข้างต้น ต้องใช้ระยะเวลานาน ในการดำเนินการให้สำเร็จ สืบเนื่องจากในสังคมปัจจุบัน ความแตกต่างในเรื่องของความรู้และความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยี มีอยู่สูง อีกทั้งความสามารถในการเรียน รู้หรือความสามารถในการรับการพัฒนา ของประชาชนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับ ความสามารถทางการเงิน ที่แต่ละบุคลจะสามารถใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่จำเป็นอีกด้วย

นี่เป็นอีกครั้งนึงที่ชี้ให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้มนุษย์สร้างความเปลี่ยนแปลง อย่างที่ตนต้องการได้ หากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ่งหรือไม่ว่า สิ่งที่กำลังทำหรือกำลังลงทุนไปนั้น ทำเพื่อประโยชน์สูงสุดอะไร และอะไรคือส่วนผสมอื่นๆอันนอกเหนือจากเทคโนโลยี ซึ่งขาดไม่ได้

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…